กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19345
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีย์พร กฤษเจริญ-
dc.contributor.authorณัฐพร รักณรงค์-
dc.date.accessioned2024-01-25T08:25:29Z-
dc.date.available2024-01-25T08:25:29Z-
dc.date.issued2023-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19345-
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์), 2566en_US
dc.description.abstractThis predictive research aimed to examine: 1 the duration of breastfeeding, and 2 the factors influencing duration of exclusive breastfeeding of adolescent mothers in lower southern region. The sample consisted of 100 adolescent mothers who gave normal birth and their children aged from 2 years to 2 years 6 months and visited well baby clinics at Songkhla Hospital and Pattani Hospital during April and June 2021. The instruments for data collection consisted of 7 parts: (1) the demographic data, (2) the duration of exclusive breastfeeding, (3) the Knowledge Related to Benefits and Techniques of Breastfeeding Questionnaire, (4) the Breastfeeding Attitudes Questionnaire, (5) the Questionnaire of Successful Breastfeeding in Hospital, (6) The Questionnaire of Breastfeeding Support from Family, and (7) The Breastfeeding Support from Health Personnel. Instruments parts 3-7 were content validated by 3 experts, yielding content validity indices of .87, .85, .88, .90, and .90, respectively. The reliability of the Knowledge Related to Benefits and Techniques of Breastfeeding Questionnaire was tested using Kuder-Richardson 20 (KR-20), yielding a value of .90. The reliability of parts 4-7 questionnaires yielded Cronbach’s Alpha Coefficients of .85, .80, .90, and .93, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, and standard deviation. The predictive ability of the selected factors was analyzed using standard multiple regression analysis. The results showed that: 1. The longest duration of exclusive breastfeeding among the adolescent mothers was only 3 months (39%) and the shortest duration of exclusive breastfeeding was 2 months (5%). The mean duration of exclusive was 3.89 months (SD = 0.98). The finding indicates that the 6th month exclusive breastfeeding goal in postpartum adolescents was not achieved. 2. The standard multiple regression analysis indicated that breastfeeding attitudes, successful breastfeeding in hospital, and breastfeeding support from family could explain 51% of the variance of duration of exclusive breastfeeding among adolescent mothers (R2 = .511) with statistical significance (F (5, 94) = 19.64, p < 0.01). The predictive variables were breastfeeding attitudes (ß = .46, t = 5.96, p < 0.01), successful breastfeeding in hospital (ß = .34, t = 3.48, p < 0.01), and breastfeeding support from family (ß = .20, t = 2.12, p < 0.01), respectively. However, the two variables, knowledge related to benefits and techniques of breastfeeding and breastfeeding support from health personnel, could not predict duration of exclusive breastfeeding among adolescent mothers in the Lower Southern Region of Thailand. The results of this study can be used as basic information to develop nursing models or programs to promote longer duration of exclusive breastfeeding, especially in adolescent mothers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectExclusive Breastfeedingen_US
dc.subjectAdolescent Mothersen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาวัยรุ่น ในภาคใต้ตอนล่างen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing the Duration of Exclusive Breastfeeding Among Adolescent Mothers in Lower Southern Regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)-
dc.contributor.departmentคณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์-
dc.description.abstract-thการวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีลูกอายุระหว่าง 2 ปี – 2 ปี 6 เดือน ที่มารับบริการ ณ แผนกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลสงขลา และโรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 100 ราย ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ชุด ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาวัยรุ่น (3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (4) แบบสอบถามเจตคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (5) แบบสอบถามความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะอยู่โรงพยาบาล (6) แบบสอบถามการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว และ(7) แบบสอบถามการสนับสนุนจากบุคลากรทางสุขภาพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .87, .85, .88, .90, และ .90 ตามลำดับ ทดสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้เท่ากับ .90 และทดสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ 4-7 โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .85, .80, .90, และ.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์อำนาจการทำนายของปัจจัยเลือกสรรโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1. มารดาวัยรุ่นมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวมากที่สุด 3 เดือน (39%) และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อยที่สุด 2 เดือน (5%) โดยมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเฉลี่ย 3.89 เดือน (SD = 0.98) แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดยังไม่บรรลุตามเกณฑ์เป้าหมาย 2. เจตคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะอยู่โรงพยาบาล และการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นได้ร้อยละ 51 (R2 = .511) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (5,94) = 19.64, p <0.01) ตัวแปรที่มีอำนาจทำนาย คือ เจตคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ß =.46, t = 5.96, p < 0.01) ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะอยู่โรงพยาบาล (ß =.34, t = 3.48, p < 0.01) และการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว (ß =.20, t = 2.12, p < 0.01) ตามลำดับ และพบว่ามีปัจจัย 2 ตัวที่ไม่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาวัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่างของไทย คือ ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการสนับสนุนจากบุคลากรสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการพยาบาลหรือโปรแกรมส่งเสริมระยะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวให้ยาวนานขึ้นโดยเฉพาะในมารดาวัยรุ่นen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:648 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6110420011.pdf2.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons