Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19343
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ระพีพร เรืองช่วย | - |
dc.contributor.author | วรรณิษา แสงแก้ว | - |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T07:48:10Z | - |
dc.date.available | 2024-01-25T07:48:10Z | - |
dc.date.issued | 2023 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19343 | - |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง), 2566 | en_US |
dc.description.abstract | Application of microalgae, Tetraselmis sp., in green water system cooperating with utilization of probiotics mixed feed in shrimp culture was performed for the purpose that this may be resistance to Vibrio parahaemolyticus, causing the shrimp disease. It may be one of the ways to protect the shrimp production lost from this pathogen in the shrimp culture industry. The experiments were divided into 3 parts, which the first was to study the growth of Tetraselmis sp. and photosynthesis bacteria (PSB) at the different concentration levels of organic milk. The second was to study the effect of yogurt and PSB mixed feed for the shrimp culture to grow and survival rate of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) in the culture system with and without Tetraselmis sp. in the system. The last experiment was to study efficacy of yogurt และ PSB utilization by mixing in the shrimp feed for testing the resistance to V. parahaemolyticus in the shrimp culture in the system with and without Tetraselmis sp. The first study on the growth of Tetraselmis sp. and PSB by culturing in the outdoor in a 10-liter jar for 1 week using organic waste milk from a dairy factory (Dairy Home Co., Ltd.). In Tetraselmis sp. culture, 4 different concentrations of the organic waste milk were set as 0.25, 0.50, 1.00 and 2.00 percent. While in PSB culture, 4 different concentrations of the organic waste milk were set as 10, 20, 30 and 40 percent. The growth was studied by measurement of absorbance (optical density, OD) with Spectrophotometer at 680 nm wavelength (OD680) for Tetraselmis sp. and 970 nm wavelength (OD970) for PSB. The result on Tetraselmis sp. growth was that on the 3rd day, Tetraselmis sp. cultured in 2% organic milk showed the highest optical density (OD680) at 0.094 nm. The second highest ones were cultured in 1.00, 0.50 and 0.25 % organic milk, which the values at OD680 were 0.092, 0.078 และ 0.046 nm, respectively. Moreover, there was no statistically difference on the ones which were cultured in 1 and 2 % organic milk (p>0.05). In PSB culture, the result was that PSB cultured with 40% organic milk showed the highest OD (OD970), which was 0.328 nm following with PSB cultures with 30, 20 and 10% (0.315, 0.268 and 0.265 nm), respectively. When the result was statistically analyzed at 95% confidence, the growth of PSB cultured with 40% organic milk showed the statistically significant difference with those cultured with 10, 20 and 30% organic milk (p<0.05). However, there is no statistically significant difference with those cultured with 10 and 20% organic milk. The second experiment on introduction of Tetraselmis sp. for applying in the Pacific white shrimp culture system cooperating with conducting of probiotics, yogurt and PSB, mixed in feed for the shrimp culture for 5 weeks. The result was that no statistically significant difference in the weight gain, specific growth rate, growth rate per day and feed conversion ratio (FCR) was found in all treatments and the control (p>0.05). However, the survival rates of the shrimp cultured with probiotics mixed feed was higher than those in the control. The treatment cultured with PSB mixed feed showed the highest survival rate at 95.00 % which was statistically significant difference compared with the control (p<0.05). In the shrimp culture treatments without Tetraselmis sp. in the system for 5 weeks, no statistically significant difference in the weight gain, specific growth rate, growth rate per day, FCR and survival rate of the shrimp (p>0.05). The third part of the research was to study the efficacy of the probiotics, yogurt and PSB against V. parahaemolyticus. In the shrimp cultured in a system with Tetraselmis sp. and those without Tetraselmis sp., the resistance against V. parahaemolyticus was tested by immersing the shrimp in V. parahaemolyticus at a concentration of 1×107 CFU/ml for 2 hours and then were cultured for 1 week. The result was that the shrimp cultured in a system with Tetraselmis sp. in the set fed with probiotics showed the significantly difference in the highest survival rates (p<0.05) compared with the control. In the shrimp cultured in the system without Tetraselmis sp., the lowest survival rate at 36 hours was only 13 %, which was a statistically significant difference (p<0.05) compared to those fed with the probiotic supplemented feed. At the end of the experiment, the color of shrimp after boiling was measured using a CIE L* a* b* colorimeter (L* brightness value, a* red value and b* yellow value). The result was that the shrimp raised in the systems containing Tetraselmis sp. with probiotic supplemented feed showed significantly different a* and b* values compared to the control (p<0.05). In the shrimp cultured in the system without Tetraselmis sp., there was not significant difference in the a* values of the shrimp fed both types of probiotics (p>0.05). However, there was a statistically significant difference (p<0.05) in the shrimp fed with yogurt and PSB supplemented feed compared to the control. From the results, it can be concluded that Tetraselmis sp. is effective against V. parahaemolyticus when the white leg shrimp were cultured in the system containing this algae. In addition, the probiotics, both yogurt and photosynthetic bacteria, were effective against V. parahaemolyticus when the shrimp were fed with the probiotic supplemented feed. Therefore, both Tetraselmis sp.and the probiotics, yogurt and photosynthetic bacteria, were applied together in the white leg shrimp culture can enhance shrimp immunity to V. parahaemolyticus, add the survival chance, increase the shrimp productivity and improve the color of the shrimp. | en_US |
dc.description.sponsorship | ทุนการศึกษาสาขาความเป็นเลิศการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน (Discipline of Excellence in Sustainable Aquaculture, DOE) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทุนอุดหนุนวิจัยวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | Green Water | en_US |
dc.subject | Probiotics | en_US |
dc.subject | Vibrio parahaemolyticus | en_US |
dc.subject | Litopenaeus vannamei | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้ Tetraselmis sp. เพื่อการเลี้ยงกุ้งในระบบน้ำเขียว และการใช้โปรไบโอติกในอาหารกุ้งสำหรับต่อต้านเชื้อ Vibrio parahaemolyticus | en_US |
dc.title.alternative | Application of Tetraselmis sp. to Green Water Technique for Shrimp Cultivation and Utilization of Probiotics in Feed on Resistance to Vibrio parahaemolyticus | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Sciecnce and Technology (Technology and Industries) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม | - |
dc.description.abstract-th | การประยุกต์ใช้สาหร่ายขนาดเล็ก Tetraselmis sp. ในระบบน้ำเขียว และการใช้ โปรไบโอติกผสมอาหารกุ้งในการเพาะเลี้ยงกุ้งได้ดำเนินการโดยคาดหวังว่าจะสามารถต่อต้านเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ที่ก่อโรคกุ้งได้ ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการสูญเสียผลผลิตกุ้งจากเชื้อดังกล่าวในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยการทดลองแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนแรกเป็นศึกษาการเจริญเติบโตของ Tetraselmis sp. และ แบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Photosynthesis Bacteria, PSB) ที่ระดับความเข้มข้นของนมอินทรีย์แตกต่างกัน ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาผลของการให้อาหารผสม โยเกิร์ต และแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (PSB) ต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ในระบบที่มี Tetraselmis sp. และในระบบที่ไม่มี Tetraselmis sp. และส่วนสุดท้ายเป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ โยเกิร์ต และ PSB ผสมในอาหารกุ้งให้กุ้งกินเพื่อทดสอบการต้านทานเชื้อ V. parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไมที่เลี้ยงในระบบที่มี Tetraselmis sp. และกุ้งขาวแวนนาไมที่เลี้ยงในระบบที่ไม่มี Tetraselmis sp. ผลส่วนแรกในการศึกษาการเจริญเติบโตของ Tetraselmis sp. และ PSB โดยการ เพาะเลี้ยง Tetraselmis sp. และ PSB ในขวดโหลขนาด 10 ลิตร บริเวณกลางแจ้งเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยใช้นมอินทรีย์ที่เป็นเศษเหลือจากโรงงานผลิตนม บริษัทแดรี่โฮม จำกัด เป็นอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 0.25, 0.50, 1.00 และ 2.00 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการทดลองเลี้ยง Tetraselmis sp. ส่วนการทดลองเลี้ยง PSB มี 4 ระดับ คือ 10, 20, 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์ ศึกษาการเจริญเติบโต โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสง (optical density, OD) ด้วยเครื่อง Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 680 นาโนเมตร (OD680) สำหรับ Tetraselmis sp. และความยาวคลื่น 970 นาโนเมตร (OD970) สำหรับ PSB ผลการศึกษาพบว่า ในการทดลองเลี้ยง Tetraselmis sp. ในวันที่ 3 ของการทดลองที่ระดับอาหาร 2 เปอร์เซ็นต์ มีค่า OD680 สูงสุด คือ 0.094 นาโนเมตร รองลงมาคือที่ระดับอาหาร 1.00, 0.50 และ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คือมีค่า OD680 เป็น 0.092, 0.078 และ 0.046 นาโนเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในค่า OD ของสาหร่ายชนิดนี้ที่เลี้ยงในนมอินทรีย์ที่ระดับ 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของการเลี้ยง PSB พบว่าในวันที่ 3 ของการทดลอง ที่ระดับอาหาร 40 เปอร์เซ็นต์ PSB มีค่า OD970 สูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.328 นาโนเมตร รองลงมา คือ 30, 20 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.315, 0.268 และ 0.265 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ การเจริญเติบโตของ PSB ที่เลี้ยงในอาหารระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ ที่วัดจากค่า OD970 มีความแตกต่างกับ PSB ที่อาหารระดับ 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การเจริญเติบโตของ PSB ที่ระดับอาหาร 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาผลของการให้อาหารกุ้งผสมโปรไบโอติกคือ โยเกิร์ต (yogurt) และ PSB ต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของกุ้งขาวที่เลี้ยงในระบบที่มี Tetraselmis sp. เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า กุ้งที่มีการนำ Tetraselmis sp. มาประยุกต์ใช้ในระบบร่วมกับการใช้โปรไบโอติก 2 ชนิดที่แตกต่างกันคือ โยเกิร์ต และ PSB ผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงกุ้งมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และพบว่าการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของกุ้งในทุกชุดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่อัตราการรอดตายของกุ้งที่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติกทั้งโยเกิร์ตและ PSB มีค่าสูงกว่าชุดควบคุม โดยชุดที่ได้รับอาหารที่ผสม PSB มีค่าสูงสุด คือ ร้อยละ 95.00 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับชุดควบคุม และได้ทดลองเลี้ยงกุ้งในระบบที่ไม่มี Tetraselmis sp. อีกหนึ่งชุดการทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน การเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตราการรอดตายของกุ้งในทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การวิจัยส่วนที่ 3 เป็นการทดลองเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในระบบที่มี Tetraselmis sp. และกุ้งขาวที่เลี้ยงในระบบที่ไม่มี Tetraselmis sp. เพื่อเป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้โปรไบโอติกโยเกิร์ต และ PSB ในการต้านทานเชื้อ V. parahaemolyticus โดยการทดสอบการต้านเชื้อ V. parahaemolyticus ของกุ้งที่เลี้ยงโดยแช่กุ้งในเชื้อ V. parahaemolyticus ที่ระดับความเข้มข้น 1×107 CFU ต่อมิลลิลิตร นาน 2 ชั่วโมง ทดลองเลี้ยงเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่ากุ้งที่เลี้ยงในระบบที่มี Tetraselmis sp. ในชุดที่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติกทั้งสองชนิดมีอัตราการรอดตายสูงสุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับชุดที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว (ควบคุม) ส่วนกุ้งที่เลี้ยงในระบบที่ไม่มี Tetraselmis sp. ในชุดควบคุมปรากฏว่าเมื่อครบ 36 ชั่วโมงพบอัตราการรอดตายต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 13 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติก และได้แบ่งกุ้งส่วนหนึ่งจาการเลี้ยงมาวัดค่าสีของกุ้งหลังจากผ่านการต้ม โดยใช้เครื่องวัดสีระบบ CIE L* a* b* (L* ค่าความสว่าง, a* ค่าสีแดง และ b* ค่าสีเหลือง) พบว่ากุ้งที่เลี้ยงในระบบที่มี Tetraselmis sp. ด้วยอาหารผสมโปรไบโอติกมีค่า a* และ b* แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม (p<0.05) ในส่วนของกุ้งที่เลี้ยงในระบบที่ไม่มี Tetraselmis sp. พบว่า ค่า a* ของกุ้งขาวที่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติกทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในกุ้งที่ได้รับอาหารผสมโยเกิร์ต และ PSB เมื่อเทียบกับชุดควบคุม จากผลการศึกษาในครั้งนี้ สรุปได้ว่า Tetraselmis sp. มีผลในการต่อต้านเชื้อ V. parahaemolyticus ของกุ้งขาวเมื่อเลี้ยงกุ้งขาวในระบบที่มีสาหร่ายชนิดนี้ นอกจากนี้โปรไบโอติกทั้งโยเกิร์ต และแบคทีเรียสังเคราะห์แสง ยังให้ผลในการต่อต้านเชื้อ V. parahaemolyticus ของกุ้งขาวเมื่อผสมในอาหารกุ้ง ดังนั้นสรุปได้ว่า ทั้งสาหร่ายขนาดเล็ก Tetraselmis sp. และ โปรไบโอติกทั้ง yogurt และแบคทีเรียสังเคราะห์แสง เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันในการเลี้ยงกุ้งขาวสามารถส่งเสริมให้กุ้งมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ Vibrio parahaemolyticus เพิ่มโอกาสในการรอดตาย เพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง และเพิ่มสีกุ้งให้เข้มขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | 732 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6120320609.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License