Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19337
Title: บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ : กรณีศึกษาโรคไข้เลือดออก อำเภอละงู จังหวัดสตูล
Other Titles: The Role of District Health Board: Case Study of Dengue Hemorrhagic Fever in Langu District, Satun Province
Authors: วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
อารอฟ๊ะห์ ชาญน้ำ
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
Keywords: คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purposes of this descriptive research were to study the roles of the District Health Board: a case study of dengue hemorrhagic fever in Langu District, Satun Province. Four groups of informants were selected by a purposive sampling method, consisting of 21 committees of the Langu District Health Board, 17 subcommittees of the Langu District Health Board (dengue hemorrhagic fever prevention), 12 patients with dengue hemorrhagic fever, and 12 Langu’s population, a total of 62 people. Data were collected using document review, questionnaires, interviews, and focus group discussions and then they were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The findings revealed that the roles that Langu District Health Board performed well in the prevention and control of dengue hemorrhagic fever including setting goals and operational guidelines, driving the integration, supporting the participation of all sectors, and other operations as assigned by the Board or the provincial governor (100%), followed by coordinating with government agencies, the private sector and the public sector and sending information to the affecting area (90.5%). The roles that were less performed were monitoring and evaluating (85.7%) and giving suggestions and consultation (81.0%). The roles that should be improved are 1) giving suggestions and consultation: the capacity of the District Health Board must be continuously enhanced. 2) monitoring and evaluating the operations: the field visits at the village level must be set, and the follow-up frequency must be clear and 3) coordinating with government agencies, the private sector and the public sector, and sending information to the area: should build a public relation network in the community. The results obtained from this research can be used to develop the roles of the District Health Board. In terms of the policy recommendations, the Office of the Prime Minister should require the newly appointed District Health Board to pass the competency development of District Health Management Learning (DHML).
Abstract(Thai): การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ กรณีศึกษาโรคไข้เลือดออก อำเภอละงู จังหวัดสตูล เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ. ละงู) จำนวน 21 คน กลุ่มคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ด้านการป้องกันโรค ไข้เลือดออก จำนวน 17 คน กลุ่มผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 คน และกลุ่มประชาชน จำนวน 12 คน รวม 62 คน การเก็บข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนา กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานตามบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ. ละงู) จังหวัดสตูลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีบทบาทที่ดำเนินการ ได้ดีได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินงาน การขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการ การสนับสนุน การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการจังหวัด มอบหมาย ร้อยละ 100 รองลงมา คือ การประสานหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงการส่งข้อมูลให้พื้นที่ ร้อยละ 90.5 ส่วนบทบาทที่ดำเนินการได้ไม่ดีมากนัก คือ การติดตามและ ประเมินผล ร้อยละ 85.7 และการเสนอแนะและให้คำปรึกษา ร้อยละ 81.0 ซึ่งบทบาทที่ควรพัฒนา ได้แก่ 1) บทบาทการเสนอแนะและการให้คำปรึกษา ควรเสริมสร้างศักยภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภออย่างต่อเนื่อง 2) บทบาทการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ควรกำหนดเป้าหมายการ ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเสริมพลังในระดับหมู่บ้านและกำหนดความถี่ในการติดตามให้ชัดเจน และ 3) บทบาท การประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงการส่งข้อมูลให้พื้นที่ ควรผลักดันให้ มีเครือข่ายประชาสัมพันธ์ในชุมชนจากภาคเอกชนหรือภาคประชาชน ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตระดับอำเภอได้ โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ สำนักนายกรัฐมนตรีควรกำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ต้องผ่านการพัฒนาเสริมสมรรถนะการบริหาร จัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System Management Learning: DHML)
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19337
Appears in Collections:148 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6010024014.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons