Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19329
Title: | การศึกษาศักยภาพการใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเผาไหม้โดยตรง |
Other Titles: | A Potential Study of Crude Palm Oil as Fuel for Direct Combustion |
Authors: | มักตาร์ แวหะยี นิลเนตร จันทร์แก้ว Faculty of Engineering Mechanical Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
Keywords: | น้ำมันปาล์มดิบ;การเผาไหม้โดยตรง;ลักษณะเปลวไฟ;ก๊าซไอเสีย |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Currently, Thailand supports more alternative energy use especially, biomass energy. The advantages of using biomass energy besides being a renewable energy that releases less emissions to the environment. It is also another way to help farmers when there is an oversupply situation. For example, southern Thailand, where most of the palm plantations in the country, were experiencing oversupply during year 2018-2019. Normally, most palm oil will be purified or added with other substances before being processed into other products such as biodiesel, palm oil for consumption, cosmetics, etc., but when there is an oversupply situation, demand does not match supply. This causes palm growers to face the problem of low product prices. So, accelerating the release of palm oil productions by using it as a fuel for direct combustion, such as boilers, fuel in power plants is a method that can help solve oversupply situation faster compared to other methods. This research aims to study the potential of using crude palm oil as an alternative liquid fuel to replace diesel or fuel oil in industries. Starting with the case of using refined palm oil as fuel as a guideline for studying and developing the use of crude palm oil in the future. For an experimental study, palm oil is preheated to 140, 160 and 180 °C and then sprayed with air with pressure 20, 40 and 60 psi through a 2 mm diameter nozzle into the combustion chamber. Inside the combustion chamber, there is an installation of an LPG pilot flame. When the system reaches a steady state, the flame profile is captured with a digital camera and the composition of the combustion exhaust gases is analyzed with a Testo 350 gas analyzer. The results were compared with a numerical study of combustion under the same conditions using the computer program ANSYS Fluent by designing the combustion chamber in an axisymmetric 2D with species transport model. The results show that higher preheat temperature and pressure accelerated combustion reactions and lead to high temperature, large size and long flame penetration. For emissions released from combustion, CO and NOx tend to decrease when preheat temperature and air pressure are high. |
Abstract(Thai): | ปัจจุบันประเทศไทยสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานชี วมวล ซึ่ง ข้อดีของการใช้พลังงานชีวมวลนอกจากจะเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยแล้ว ยังเป็นอีกวิธีในการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อเกิดสภาวะผลผลิตล้นตลาดอีกด้วย เช่น ในช่วงปี 2561 2562 ภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มส่วนใหญ่ในประเทศประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด โดย ปกติ แล้ว น้ำมันปาล์มส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์หรือเติมสารอื่นๆก่อนแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์อื่น เช่น น้ำมันไบโอดีเซล , น้ำมันปาล์มสำหรับบริโภค , เครื่องสำอางค์ เป็นต้น แ ต่เมื่อเกิด สภาวะผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้อุปสงค์ไม่สอดคล้องกับอุปทาน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มต้องเผชิญ ปัญหาผลผลิตราคาต่ำ ดังนั้น การเร่งระบายผลผลิตออกจากท้องตลาดด้วยการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงใน การเผาไหม้โดยตรง เช่น หม้อไอน้ำ , เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า จึงเป็นวิธีที่ สามารถช่วยแก้ปัญหาผลผลิตได้ รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการใช้น้ำมันดิบเพื่อ เป็นเชื้อเพลิงเหลวทางเลือกสำหรับทดแทนน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเตาในอุตสาหกรรม โดยศึกษากรณีการ ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันปาล์ม ดิบในอนาคต สำหรับการศึกษาด้วย วิธี การทดลอง น้ำมันปาล์มจะถู ก อุ่นที่อุณหภูมิ 140 140, 160 และ 180 °C แล้วพ่นร่วมกับอากาศที่มีความดัน 20 20, 40 และ 60 psi ผ่านหัวฉีด ที่มี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตรเข้ เข้าห้องเผาไหม้ ภายในห้องเผาไหม้มีการติดตั้งเปลวไฟล่อโดยใช้เชื้อเพลิงจา LPG เมื่อระบบ เข้าสู่สภาวะคงตัวจึงบันทึกภาพลักษณะของเปลวไฟด้วยกล้องดิจิตอลและวิเคราะห์องค์ประกอบของ แก๊สไอเสียจากการเผาไหม้ด้วยเครื่องวิเคราะห์แก๊สไอเสีย Testo 350 จากนั้นเปรียบเทียบผลกับ วิ ธี จำลอง ลักษณะการไหล ของการเผาไหม้ที่เงื่อนไขเดียวกันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ANSYS Fluent โดยออกแบบห้องเผาไหม้ในรูปแบบ 2 มิติที่มีแกนสมมาตร คำนวณ โดยใช้ species transport model ผลการศึกษาพบว่าเมื่ออุ่นน้ำมันปาล์มที่อุณหภูมิสูงร่วมกับอากาศความดันสูงส่งผลให้เกิดการเผาไหม้ดีขึ้น ส่งผลให้เปลวไฟพุ่งได้ไกลและมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยผลของอุณหภูมิอุ่ นเชื้อเพลิงมีส่วนช่วยให้เกิดการเผาไหม้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลของความดัน และเมื่อวิเคราะห์ค่ ค่าก๊าซไอเสียจากการเผาไหม้กรณีต่างๆ พบว่าปริมาณคาร์บอนมอนออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์มีแนวโน้มลดลงเมื่ออุณหภูมิอุ่น เชื้อเพลิงและความดันอากาศสูงขึ้น |
Description: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19329 |
Appears in Collections: | 215 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6310120074.pdf | 17.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License