Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19261
Title: | ความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้และคาบสมุทรสยาม-มลายูของนักศึกษาในเครือข่าย MOU สามมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Needs in Using Online Learning Resources Regarding Arts and Culture in Southern Thailand and the Malay Peninsula of the Students in the Three MOU Universities |
Authors: | สมฤดี คงพุฒ จรรยา หีดแก้ว คณะศิลปศาสตร์ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ Faculty of Liberal Arts (Division of Academic Support) |
Keywords: | ความต้องการ;สื่อการเรียนรู้ออนไลน์;ศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้และคาบสมุทรสยาม-มลายู;Needs;Online Learning Resources;Arts and Culture in Southern Thailand and the Malay Peninsula |
Issue Date: | 12-Dec-2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This study was conducted using a mix-methods approach, with the objective of investigating and comparing the needs regarding the types, information and knowledge, and characteristics of online learning media related to arts and culture in the Southern Thailand and the Siamese-Malay Peninsula, among students in the MOU network of three universities. The research methodology was divided into two parts: 1) Quantitative Research: Data was collected from a sample group comprising the undergraduate students at Prince of Songkla University Hat Yai Campus, Thaksin University Songkhla Campus, and Rajamangala University of Technology Srivijaya Songkhla Campus, with a total of 395 students. The sample size was determined using the Yamane Formula (Yamane, 1970) and selected through the Proportionate Stratified Random Sampling to ensure representation according to the population size within each category. Subsequently, the Simple Random Sampling was applied, where the students were selected without replacement until the specified sample size was achieved.Data was collected using a questionnaire, with subsequent analysis employing frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation.The study also compared the students’ needs for online learning media, across different categories including universities, genders, and year levels, by applying the F-values (F-Test) in a one-way analysis of variance (One-Way ANOVA). When statistically significant differences were detected at the .05 level, pairwise comparisons were conducted using the LSD (Least-Significant Different) method. 2) Qualitative Research: Data collection was performed with a sample group of 15 students from the MOU network of the aforementioned three universities. These participants were purposively selected from those with experience in using online learning media on the website NAAMCHOOP.COM, who consented to provide additional information via individual interviews within the questionnaire.The Simple Random Sampling method was employed using a non-replacement lottery approach for each university, until a group of five performants from each institution was achieved Semi-structured interviews were used as the data collection instrument, and the collected data was analyzed using content analysis techniques. The results of the study are summarized as follows. 1. The findings revealed a high level of needs among students for online learning media in the field of arts and culture within Southern Thailand and the Siamese-Malay Peninsula on the whole and across different aspects. The students’ higest needs were found to be related to the characteristics of the online learning media, followed by the media information and knowledge, with the media types being the least required. It was worth noting that students expressed a pronounced interest in online learning media that offer flexible accessibility to lessons at their convenience, as well as those which provide a wide array of language options. Moreover, when it came to media information and knowledge, students demonstrated a particular interest in traditions and rituals. Additionally, the preferred platform for accessing online learning content among students was found to be YouTube. 2. When comparing the level of needs for using online learning media on the whole and different aspects, it was apparent that students in different universities and with different genders exhibited varying degrees of needs for using online learning media at a significance level of .05. However, no statistically significant difference was observed among students with varying year levels. Furthermore, the study revealed that the students at Thaksin University Songkhla Campus with non-binary gender identities, and those in different years exhibited the highest overall needs for using online learning media. When it came to different aspects concerning universities, genders, and year levels; statistically significant differences were observed among the students' needs for online learning media regarding the type and information and knowledge of online learning media with a significance level of .05. Nevertheless, no statistically significant difference was found in terms of media characteristics. Regarding university-specific findings, the students at Thaksin University, Songkhla Campus displayed the highest needs for using online learning media in terms of the media types and media information and knowledge, whereas those at Prince of Songkla University, Hat Yai Campus expressed the highest needs concerning the characteristics of the media. In the context of gender-based analysis, the non-binary students exhibited the most substantial desire to use online learning media across all aspects. Analysis by year levels showed that the second-year students demonstrated the greatest enthusiasm for online learning media, particularly in their needs for the media types and media information and knowledge, whereas the third-year students displayed the highest needs regarding the media characteristics. 3. The students provided intriguing feedback regarding the Naamchoop.com website. They appreciated its visually appealing design, user-friendly interface, and engaging nature. However, they expressed concerns about the inadequacy of content and online learning media for studying and utilizing, especially media about arts and cultures of different countries in the Siam-Malay peninsula, which are much fewer than that in southern Thailand. Furthermore, the students voiced their desire to enhance the website's visibility and popularity, particularly among students within the MOU network of the three universities. Based on the findings, a set of guidelines can be formulated for the future development of online learning resources to be featured at the Naamchoop.com website of the Self-Access Learning Center, the Faculty of Liberal Arts at Prince of Songkla University.These guidelines should prioritize the development of online learning materials in the social media category, with a particular emphasis on the development of crucial information and knowledge pertaining to cultural traditions and rituals. Furthermore, the developed online learning resources must be designed for universal accessibility and offered a multitude of language options. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและเปรียบเทียบความต้องการเกี่ยวกับประเภท ข้อมูลความรู้ และลักษณะของสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้และคาบสมุทรสยาม-มลายู ของนักศึกษาในเครือข่าย MOU 3 มหาวิทยาลัย โดยวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ นักศึกษาในเครือข่าย MOU 3 มหาวิทยาลัย อันประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา จำนวน 395 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ (Yamane, 1970) จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Proportionate Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนขนาดกลุ่มประชากรในแต่ละประเภท แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบบจับสลากไม่ใส่กลับ จนได้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) และวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเก็บโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งเปรียบเทียบระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ จำแนกตามมหาวิทยาลัย เพศ และระดับ ชั้นปี โดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเอฟ (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ทั้งนี้เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยใช้วิธีการเปรียบเทียบรายคู่ต่อ ด้วยวิธีการแบบ LSD (Least -Significant Different) 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ นักศึกษาในเครือข่าย MOU 3 มหาวิทยาลัยดังที่กล่าวไว้ในข้อที่ 1 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการกำหนดคุณสมบัติแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์การใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในเว็บไซต์ NAAMCHOOP.COM และแจ้งความจำนงยินยอมให้ข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบการสัมภาษณ์รายบุคคลไว้ในแบบสอบถาม จากนั้นดำเนินการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบบจับสลากไม่ใส่กลับในแต่ละมหาวิทยาลัย จนได้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมหาวิทยาลัยละ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเก็บโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1. นักศึกษามีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้และคาบสมุทรสยาม-มลายู ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ด้านลักษณะสื่อฯ สูงสุด รองลงมา คือ ด้านข้อมูลความรู้สื่อฯ และด้านประเภทสื่อฯ น้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่านักศึกษามีความต้องการใช้งานสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ที่มีลักษณะสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอดเวลาและมีภาษาให้เลือกสูงสุด ข้อมูลความรู้สื่อฯ ที่นักศึกษาต้องการใช้งานมากที่สุด คือ ด้านประเพณี พิธีกรรม รวมทั้งนักศึกษาต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ประเภท Youtube สูงสุด 2. เมื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการใช้สื่อเรียนรู้ออนไลน์ฯ ทั้งโดยรวมและรายด้าน พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยและเพศต่างกันมีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีต่างกันไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เพศทางเลือก และนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 และ 2 มีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ โดยรวมสูงสุด ทั้งนี้เมื่อพิจารณารายด้านโดยจำแนกตามมหาวิทยาลัย เพศ และชั้นปี พบว่า นักศึกษามีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ด้านประเภทสื่อฯ และด้านข้อมูลความรู้สื่อฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ด้านลักษณะสื่อฯ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เมื่อจำแนกตามมหาวิทยาลัย พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา มีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ด้านประเภทสื่อฯ และด้านข้อมูลความรู้สื่อฯ สูงสุด ในขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ด้านลักษณะสื่อฯ สูงสุด จำแนกตามเพศ พบว่า เพศทางเลือกมีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ สูงสุดทุกด้าน จำแนกตามระดับชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ด้านประเภทสื่อฯ และด้านข้อมูลความรู้สื่อฯ สูงสุด ในขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีระดับความต้องการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ด้านลักษณะสื่อฯ สูงสุด 3. นักศึกษาได้สะท้อนความเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์ Naamchoop.com ที่น่าสนใจว่า เว็บไซต์ มีความสวยงาม ใช้งานง่าย น่าสนใจ แต่เนื้อหาในบางประเภทสื่อฯ ยังมีจำนวนน้อย ไม่หลากหลาย รวมทั้งจำนวนสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ในบางหมวดหมู่มีไม่เพียงพอต่อการศึกษาและใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในคาบสมุทร สยาม-มลายู ยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ของไทย นอกจากนี้นักศึกษามีความคิดเห็นว่า อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ให้เว็บไซต์ Naamchoop.com เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากกว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักศึกษาในเครือข่าย MOU 3 มหาวิทยาลัย ดังนั้น จากผลการศึกษาข้างต้นนำมาซึ่งแนวทางการจัดทำแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ เพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ Naamchoop.com ของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในอนาคต ที่จะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ประเภทสื่อสังคมออนไลน์เป็นลำดับแรก และเป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ที่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมเป็นสำคัญ รวมทั้งสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ที่พัฒนาขึ้นจะต้องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา และมีภาษาให้เลือกหลากหลาย |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19261 |
Appears in Collections: | 889 Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
20231222-Janya.pdf | 11.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License