Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19257
Title: | การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของพนักงานในสถานประกอบการ กรณีศึกษา โรงงานผลิตยาสมุนไพรท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Physical Activity Promotion for Employees: A Case Study of Tha Chang Herbal Medicine Factory, Surat Thani Province |
Authors: | กุลทัต หงส์ชยางกูร บุณฑริกา คงสวัสดิ์ Health System Management Institute สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ |
Keywords: | กิจกรรมทางกาย;กิจกรรมทางกายที่เพียงพอของวัยทำงาน;แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของพนักงาน |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This qualitative research study aim to study the situation of physical activity of employees and to study ways to encourage physical activity of employees in the workplace which use a case study of Tha Chang Herbal Medicine Factory, Tha Chang District, Surat Thani Province. Qualitative data was collected by interviewing two groups of informants, 2 0 employees of Tha Chang herbal medicine factory and 1 0 steak-holders in the Tha Chang herbal medicine factory during January - May 2023. Data were analyzed by content analysis. Results of the study, the situation of physical activity of employees found that most employees had moderate physical activity from Commute, work and recreation accumulated less than 150 minutes / week. These physical situations were causing employees to have insufficient physical activity. Individual factors Related to the level of physical activity of employees including lack of knowledge and sedentary behavior. Environmental factors include most employees going to work by using vehicles. They have little walking. The factories and residential communities do not have spaces conducive to physical activity. Mechanism factors for example, the factory does not have a policy to support and promote sufficient physical activity. There is budget constraint. In addition, the factory, department, or community do not interact together. Resulting in a lack of mechanisms to integrate and work together in supporting and promoting to make employees and people in the community have participated in physical activities. Guidelines for promoting adequate physical activity of employees include promoting knowledge, communication, public relations related to ergonomically correct working postures, having a policy or agreement to increase activities to change behavior. By giving each person a plan to change their own behavior. Workplace environments should be created to increase physical activity consistent with the nature of the job. Campaign to reduce sedentary behavior, budget planning, and incentives to continually increase employees' adequate physical activity. Creation of cooperation mechanisms with the community, various agencies to support physical activity both at work and in the community. And there should be a monitoring and evaluation system that can measure the results of increasing physical activity of employees. Suggestions for executives, steak-holders, and employees emphasis should be placed on solving the problem of insufficient physical activity by having a policy, plan, project, activity to encourage employees to have appropriate and adequate physical activity. |
Abstract(Thai): | การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย ของพนักงานและศึกษาแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของพนักงานในสถานประกอบการ กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาสมุนไพรท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพนักงานโรงงานผลิตยาสมุนไพรท่าฉาง จำนวน 20 คน และการสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงงานผลิตยาสมุนไพรท่าฉาง จำนวน 10 คน ระหว่างเดือน มกราคม - พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน พบว่า พนักงานส่วนให ญ่ มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง ที่จากการเดินทางสัญจร การทำงาน และการนันทนาการสะสม น้อยกว่า 150 นาที /สัปดาห์ ทำให้พนักงานมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับระดับกิจกรรมทางกายของพนักงาน ได้แก่ การขาดความรู้การมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ พนักงานส่วนใหญ่เดินทาง มาทำงานโดยการใช้ยานพาหนะ มีการเดินน้อย บริเวณโรงงานและชุมชนที่พักอาศัยไม่มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ปัจจัย ด้านระบบกลไก ได้แก่ โรงงานไม่มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ นอกจากนี้โรงงาน หน่วยงาน หรือชุมชนไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทำให้ขาด กลไกในบูรณาการทำงานร่วมกันในการสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานและคนในชุมชน ได้มีการทำกิจกรรมทางกาย แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของพนักงาน ได้แก่ส่งเสริมการให้ความรู้ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่าทางการทำงานที่ถูกต้องตามการยศาสตร์ การมีนโยบายหรือข้อตกลงร่วมกันในการเพิ่มกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้แต่ละบุคคล มีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ควรสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเพื่อเพิ่มการมี กิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับลักษณะงาน การรณรงค์ให้ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง การวางแผน งบประมาณและการสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้พนักงานอย่างต่อ เนื่อง การสร้างกลไกความร่วมมือกับของชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายทั้งในที่ทำงานและในชุมชน และควรมีระบบติดตามประเมินผลที่สามารถวัดผลการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ของพนักงานได้ข้อเสนอแนะต่อ ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมถึงพนักงาน ควรให้ความสำคัญในการแก้ไข ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ โดยมีนโยบาย แผน โครงการ กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ พนักงานมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและเพียงพอต่อไป |
Description: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19257 |
Appears in Collections: | 148 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5910024018.pdf | 954.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License