Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19243
Title: โมเดลการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการสวนยางพาราจากผลกระทบการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานยางพาราภาคต้นน้ำ: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
Other Titles: Adaptation Model of Technology Usage and Rubber Management Innovations from the Impact of COVID-19 Outbreak of Stakeholders in Upstream Rubber Supply Chain: Case on Songkhla Province
Authors: บัญชา สมบูรณ์สุข
กิตติชัย เหลี่ยมวานิช
Faculty of Natural Resources (Tropical Agricultural Resource Management)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน
Keywords: Rubber farmer households;Fresh latex traders;Rubber Fund;Cooperative Fresh latex centers;Fresh latex pond Rubber industries and rubber companies
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The project Adaptation Model of Technology Usage and Rubber Management Innovations from the Impact of COVID-19 Outbreak of Stakeholders in Upstream Rubber Supply Chain: Case on Songkhla Province in the South of Thailand aimed to examine the situations of production, impact, and adaptation of rubber production innovation management of stakeholders in upstream rubber supply chain due to COVID-19 outbreak. This study also investigated impact factors related to the economy, society, production technology & environment of rubber farmer households due to the COVID-19 outbreak, strategies, adaptation methods for production management, and technology usage for rubber production. Then a model would be synthesized for adaptation of technology usage and suitable rubber production innovation management. Quantitative and qualitative studies were conducted with sample groups composed of rubber farmer households working with rubber plantations in Songkhla province which were rubber traders such as latex groups, fresh latex traders, fresh latex ponds, Rubber Fund Cooperative in Songkhla areas, fresh latex centers, and companies and factories buying upstream rubber under the Thai Rubber Association. Descriptive statistics and inference statistics were used for the quantitative data analysis to test the hypothesis. Content analysis was used for the qualitative data analysis. The results of the study indicated the following. (1) Rubber farmer households had received impacts of major social factors i.e., welfare, impacts of major economic factors i.e., household income, and impacts of major production technology & environment i.e., lower products and production. For the adaptation of rubber farmer households, the study indicated that reducing the days of tapping made fewer products. For impact factors related to economy, society, and production technology & environment, the study indicated that the whole image of an average correlation value of the social impact factor at 0.582 was significantly important at the 0.01 level. The study indicated that the whole image of an average correlation value of the economic impact factor at 0.482 was significantly important at the 0.01 level. The study indicated that the whole image of an average correlation value of the production technology & environment impact factor at 0.582 was significantly important at the 0.01 level. For the 3 impact factors, the study could predict, or those 3 impact factors would influence strategies and adaptation methods of production management and technology usage at 63.7% (R2 adjust=0.637). (2) Fresh latex traders had received the most impact which was the falling price of fresh latex. (3) Rubber Fund Cooperative for the whole image had received the most impact caused by the COVID-19 outbreak which was lower selling rubber products of members. (4) Fresh latex centers had received negative impacts not too severe with a bit impacts which were the low price of fresh latex and the closing of latex-buying factories. (5) Fresh latex pond had received impacts. Although the business was running, there was an amount of fresh latex at 50% lower. (6) Rubber industries and rubber companies had received not too many impacts on the businesses which were the shortage of labor in particular of foreign labor and feeding of products to businesses was 20% lower. Major suggestions for the adaptation of technology usage and rubber production innovation management of stakeholders in the upstream rubber supply chain due to the COVID-19 outbreak were doing business for extra income and lowering the cost of production. For the whole image of adaptation for technology usage and production innovation management of stakeholders in the upstream rubber supply chain due to the COVID-19 outbreak, there were 3 components that were the whole image of impacts that contributed to the adaptation of technology usage, rubber production innovation management of stakeholders in the upstream rubber supply chain, and the feedback system for the sustainability of future production improvement.
Abstract(Thai): โครงการรูปแบบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเพื่อการปรับตัวจากผลกระทบการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานยางพาราภาคต้นน้ำ: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา ภาคใต้ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิต ผลกระทบ และการปรับตัวในการจัดการนวัตกรรมการผลิตยางพาราของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานยางพาราภาคต้นน้ำจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ศึกษาปัจจัยผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการผลิตและสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราจากการระบาด COVID-19 กลยุทธ์และวิธีการปรับตัวการจัดการผลิตและการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพาราและ สังเคราะห์รูปแบบ (Model) แนวทางการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยี และการจัดการนวัตกรรมการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ทำการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในจังหวัดสงขลา ผู้ค้ายาง ได้แก่ กลุ่มน้ำยาง พ่อค้ายาง บ่อน้ำยาง สหกรณ์กองทุนสวนยางพาราในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา ศูนย์รวบรวมน้ำยาง และบริษัทและโรงงานรับซื้อยางพาราภาคต้นน้ำในสมาคมยางพาราไทย วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณด้วยการใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงในการทดสอบสมมุติฐาน และเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า(1)ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยาง ผลกระทบปัจจัยทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ ประเด็นสวัสดิการและผลกระทบปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ประเด็นรายได้ครัวเรือน ผลกระทบเทคโนโลยีการผลิตและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณผลผลิตและการจัดการผลผลิตลดลง สำหรับการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพารา พบว่า ลดจำนวนวันกรีดลงทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลง สำหรับปัจจัยผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการผลิตและสิ่งแวดล้อม พบว่า ภาพรวมค่าเฉลี่ยสหสัมพันธ์รวมปัจจัยผลกระทบทางสังคม มีค่า 0.582 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ภาพรวมค่าเฉลี่ยสหสัมพันธ์รวมปัจจัย ผลกระทบทางเศรษฐกิจ มีค่า 0.482 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภาพรวมค่าเฉลี่ยสหสัมพันธ์รวมปัจจัยผลกระทบทางเทคโนโลยีการผลิตและสิ่งแวดล้อมมีค่า 0.618 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยผลกระทบทั้งสามตัวสามารถทำนายหรือมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์และวิธีการปรับตัวการจัดการผลิตและการใช้เทคโนโลยีได้ร้อยละ 63.7 (R2 adjust=0.637) (2)ผู้ค้าน้ำยางสด พบว่า ผลกระทบที่ได้รับมากที่สุด ได้แก่ ราคาน้ำยางสดตกต่ำ (3)สหกรณ์กองทุนสวนยางพาราภาพรวมได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 มากที่สุดได้แก่ การขายผลผลิตยางพาราของสมาชิกลดลง (4)ศูนย์รวมน้ำยางสด ได้รับผลกระทบเชิงลบแต่ไม่รุนแรง กระทบเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ราคาน้ำยางสดตกต่ำ โรงงานที่รับซื้อน้ำยางปิด (5)บ่อน้ำยางสด ได้รับผลกระทบได้แก่ กิจการไม่ได้มีการหยุดกิจการ แต่ปริมาณน้ำยางสดลดลงประมาณ 50 % (6)โรงงานอุตสาหกรรมยางและบริษัทยางได้รับผลกระทบต่อธุรกิจไม่มากนัก ได้แก่แรงงานขาดแคลนโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว ผลผลิตที่เข้าโรงงานลดลง 20% สำหรับข้อเสนอแนะที่สำคัญในการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมการผลิตยางพาราของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาคต้นน้ำภายใต้การระบาด COVID-19 ที่สำคัญ ได้แก่ ทำธุรกรรมเสริมรายได้ การลดต้นทุนการผลิต สำหรับภาพรวมรูปแบบแนวทางการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมการผลิตยางพาราของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาคต้นน้ำภายใต้การระบาด COVID-19 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบภาพรวมผลกระทบซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยี และการจัดการนวัตกรรมการผลิตยางพาราของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานภาคต้นน้ำ และระบบการย้อนกลับเพื่อการปรับปรุงการผลิตเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
Description: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19243
Appears in Collections:550 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110630017.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons