กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19229
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (อำเภอเทพา จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Digital Media Development to Promote Tourism Management in Special Development Areas Southern Border Provinces (Thepha, Chana, Na Thawi, Saba Yoi Districts) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภูดิศ สุวรรณโณ ปวรรณรัตน์ ประเทืองไทย Faculty of Environmental Management (Environmental Management) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม |
คำสำคัญ: | Digital Media;Promote Tourism Management;Special Development Areas Southern Border Provinces |
วันที่เผยแพร่: | 2023 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The aim of this study is to investigate the development of digital media for promoting tourism management in the Special Development Areas of Southern Border Provinces, including Thepha, Chana, Na Thawi, and Saba Yoi Districts. This study is qualitative research that collects data from surveys, in-depth interviews, focus group interviews, and sub-group meetings. The content was analyzed according to relevant issues. The objectives of this research are as follows: 1) to analyze the potential of the area, 2) to develop tourism routes between community tourist destinations, and 3) to develop digital infographics and online media. The findings of the research indicate that, based on the analysis of the potential of the area, there are four aspects identified 1.1) Natural Resources and Culture, the area is rich in diverse and plentiful natural resources and distinctive cultural traditions. A weakness was that the community in the area lacked clear regulations and lacked distinctive products for sale that showcase their identity. 1.2) Community participation, strength lied in the coexistence of diverse cultures, mutual understanding, and the presence of various skills unique to each region. Weaknesses included a lack of clear regulations within the community and a shortage of distinctive products for sale that reflect its identity. 1.3) Management, Strength lieed in the management of tourism by tourism groups, ensuring the distribution of benefits. Weaknesses included a lack of consistent promotion along the tourism routes and a lack of digital media to promote tourism. The stakeholders in the area lacked knowledge and understanding of community development and there was a lack of funding. 1.4) Learning, strength lied in the management of tourism in the form of activity-based tourism that fostered skills and understanding of the local community's way of life. A weakness was the lack of media for facilitating learning activities between the local community and visitors, as well as a lack of awareness-building on sustainable natural resource conservation. The analysis of the area's potential has resulted in the identification of four tourism development routes across four districts. Thepha routh: "Lae Le Hat Sakom," releasing crabs at the head of Pak Nam Thepha Dam, surviving the mangrove tunnel, and picking organic vegetables at Father's Garden. Chana routh: watching local rice, trekking in search of Bua Phut, and taking a boat trip to see the river canal. Na Thawi routh: paying respects to Luang Pu Thuat and Dan Prakob, trekking in the forest at Khao Nam Khang National Park, visiting the Piyamit Tunnel, and soaking in the hot springs of Ban Krang Well. Finally, Saba Yoi routh: sipping coffee and roasting plants, seeing the early coffee trees of Saba Yoi (Ban Nod), absorbing the nature of Weruwan Waterfall, paying homage to the cave temple, and shopping for local products. The produced media prototype includes informational brochures with maps, QR codes, Facebook pages, travel blogs, and YouTube videos to promote the tourism routes and enhance tourism in the area. Based on the satisfaction assessment with the promotional media, it was found to be at a very high level. |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยอำเภอเทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสํารวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และการประชุมกลุ่มย่อย และนำเนื้อหาที่ได้มาวิเคราะห์ตามหัวข้อที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยมี 3 ข้อดังนี้คือ 1) วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ 2) พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ 3) พัฒนาสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกส์ และสื่อออนไลน์ ผลของการวิจัยพบว่าจากการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ 4 ด้านคือ 1.1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม พื้นที่มีจุดแข็ง คือ มีความอุดมสมบูรณ์สมบูรณ์ มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ จุดอ่อน คือ ขาดองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ทำให้เกิดความยั่งยืน 1.2) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน จุดแข็ง คือ การอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม มีความเข้าใจกัน และมีทักษะในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ จุดอ่อน คือ ชุมชนในพื้นที่ยังขาดกฎระเบียบที่ชัดเจน ขาดผลิตภัณฑ์ในการจำหน่ายที่แสดงถึงอัตลักษณ์ 1.3) ด้านการจัดการ จุดแข็ง คือ มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยกลุ่มการท่องเที่ยว มีการกระจายผลประโยชน์ จุดอ่อน คือ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องในเส้นทางท่องเที่ยว ไม่มีสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ขาดความรู้และการความเข้าใจการพัฒนาชุมชนและไม่มีกองทุน 1.4) ด้านการเรียนรู้ จุดแข็ง คือ มีการจัดการท่องเที่ยวรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างทักษะการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชุมชน จุดอ่อน คือ ขาดสื่อในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน ขาดการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน ผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่นำไปสู่การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวได้ 4 เส้นทาง คือ เส้นทางอำเภอเทพา “แลเลหาดสะกอม ปล่อยปูหัวเขื่อนปากน้ำเทพา รอดซุ้มอุโมงค์โกงกาง เก็บผักปลอดสารที่สวนพ่อ” เส้นทางอำเภอจะนะ “ชมข้าวพื้นถิ่น เดินป่าตามล่าหาบัวผุด ล่องเรือชมวิถีคลองแม่น้ำ” เส้นทางอำเภอนาทวี “ไหว้หลวงปู่ทวด ด่านประกอบ เดินป่าอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ชมอุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง แช่น้ำร้อนบ่อบ้านโครง” และเส้นทางอำเภอสะบ้าย้อย “จิบแฟ แลโรงคั่วและไปชมต้นแฟแต่แรกสะบ้าย้อย (บ้านโหนด) ซึมซับธรรมชาติน้ำตกเวฬุวัน ไหว้พระวัดถ้ำตลอด เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น” สำหรับสื่อต้นแบบที่ผลิต คือ แผ่นพับแผนที่อินโฟกราฟิก คิวอาร์โค้ด เพจเฟสบุ๊ค บล็อกการท่องเที่ยว และวีดีโอผ่านช่องทางยูทูป เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยว ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ จากการประเมินความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์พบว่าอยู่ในระดับดีมาก |
รายละเอียด: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19229 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 820 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6310920006.pdf | 9.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License