Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19226
Title: ประสบการณ์การบริหารจัดการในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ของพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลตติยภูมิในภาคใต้
Other Titles: Management Experiences During COVID-19 Pandemic Situation of Nurse Supervisors at a Tertiary Hospital in Southern Thailand
Authors: ชุติวรรณ ปุรินทราภิบาล
รุสซีลา มาแจ
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: พยาบาลเวรตรวจการ;การจัดการภาวะวิกฤต;การวิจัยปรากฎการณ์วิทยาเชิงบรรยาย;โรค COVID-19
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Health service management during the COVID-19 pandemic is a challenge for nurse supervisors who take responsibility for appropriate management of the off-hour services. The purpose of this descriptive phenomenology research was to study the management experiences and meaning given to these experiences of nurse supervisors at a tertiary hospital in southern Thailand during the COVID-19 pandemic situation. The informants were 26 registered nurses who worked in a tertiary hospital in the southern area and performed the nurse supervisor role during this pandemic situation. Data were collected through 21 in-depth interviews and two focus group discussions. Data analysis followed Colaizzi's method. The research trustworthiness was approved following Lincoln and Guba’s concept (1989). The study findings were: The nurse supervisors described their management experiences in three meanings: 1) working with a higher level of stress than usual, 2) solving immediate problems, and 3) learning from experiences and situations. The management experiences comprised six themes: 1) bed management to be able to admit as many patients as possible, 2) nursing workforce management to comply with the workload, 3) encouragement; to listen, solve, and encourage nurses, 4) management to prevent and control infection, 5) dealing with conflicts from working, and 6) accurate and timely reporting of data and information related to the pandemic situation. This study provides basic information for nursing administrators to plan preparational training programs for nurses who will be in-charge nurse supervisors, and for preparation of operational plans when facing the crisis situation within the context of tertiary hospitals similar to those in the southern area.
Abstract(Thai): การจัดบริการสุขภาพช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 เป็นความท้าทายสำหรับพยาบาลเวรตรวจการที่จะต้องจัดการให้การบริการสุขภาพช่วงนอกเวลาราชการเป็นไปอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง การวิจัยปรากฎการณ์วิทยาเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การบริหารจัดการและการให้ความหมายต่อประสบการณ์การบริหารจัดการในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ของพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวที่มีประสบการณ์ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลเวรตรวจการในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 26 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 21 ครั้ง และการสนทนากลุ่มจำนวน 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทาง Colaizzi ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงานวิจัยตามแนวคิด Lincoln & Guba (1989) ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลเวรตรวจการให้ความหมายต่อประสบการณ์ดังกล่าวไว้ 3 ความหมาย คือ 1) เป็นการปฏิบัติงานด้วยความเครียดที่มากกว่าปกติ 2) เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และ 3) เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์และสถานการณ์ ส่วนประสบการณ์ในการบริหารจัดการ มี 6 ประเด็น คือ 1) บริหารจัดการเตียงให้สามารถรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาให้ได้มากที่สุด 2) บริหารอัตรากำลังพยาบาลให้สอดคล้องกับภาระงาน 3) รับฟังปัญหา ช่วยแก้ไขและให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงาน 4) บริหารจัดการการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ 5) จัดการกับความขัดแย้งจากการปฏิบัติงาน และ 6) รายงานข้อมูลสถานการณ์ต่อผู้บริหารอย่างถูกต้องและทันเวลา การศึกษานี้ให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารการพยาบาลในการเตรียมบุคลากรเข้าสู่การปฏิบัติหน้าที่พยาบาลเวรตรวจการ และการเตรียมพร้อมเมื่อเผชิญสถานการณ์วิกฤต
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19226
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310420024.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons