กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19222
ชื่อเรื่อง: การประเมินปริมาณสารกัมมันตรังสีธรรมชาติและแก๊สเรดอนในวัสดุก่อสร้างและในอาคารเรียนบริเวณตอนล่างของจังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of Natural Radionuclides and Radon Gas in Building Materials and Indoor Schools Building In the Southern Part of Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พวงทิพย์ แก้วทับทิม
สุวนันท์ แดงวิไล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
Faculty of Science and Technology (Science programs)
คำสำคัญ: กัมมันตภาพรังสี;ค่าดัชนีความเป็นอันตรายทางรังสี;วัสดุก่อสร้าง;หัววัดเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this research was to investigate the amount of natural radioactive substances, including 226Ra, 232Th and 40K in 41 samples in building materials using the gamma spectrometry analysis system with a highly pure geranium detector (HPGe), to assess the relevant radioactive hazard index and to study the amount of radon gas in the school building in lower part of Yala Province because the lower part of Yala province has geological conditions that consist of sedimentary rocks, metamorphic rocks, and granite igneous rocks scattered in various areas. There are also construction industries where most of these building materials are granite, limestone and often contain naturally occurring radionuclides 226Ra, 232Th and 40K, which are the source of radon emissions which result in health problems and increase the chances of lung cancer of residents in the area in the long run. It was found that the mean radioactive contents of 226Ra, 232Th and 40K in rock, soil, sand samples in the lower part of Yala Province were higher than the world average for soil (UNSCEAR, 2000) and the world average for building materials (UNSCEAR, 1993). In the rock samples, the highest concentrations of 226Ra and 40K were found at Ban Padeng School, Than To District. As for 232Th, it had the highest value in Betong School (Weerarat Prasarn), Betong District. Soil samples showed that the radioactive content of 226Ra, 232Th was the highest at Ban Wang Mai School, Betong District. 40K was highest in Ban Thai Pattana School, Than To District, and for sand samples, 226Ra, 232Th was highest in Ban Sri Nakhon School, Than To District, while 40K was highest in Bang Lang School, Bannang Sata District. For the five radiation hazard indices, including the radium equivalent (Raeq), external hazardous index (Hex), internal hazardous index (Hin) and the amount of gamma radiation absorbed (D) and annual radiation dose (E), it was found that all 5 radiation hazard index values of the stone samples were lower than the specified standards. For the soil and sand samples, the radium equivalent radioactivity, the external hazardous index, the internal hazardous index, and the absorbed gamma radiation dose rate were higher than the standard set. Only the annual radiation dose was below the established standard. In terms of radon concentrations within school buildings in the lower part of Yala Province, the mean values were 9.12±3.42 Bq/m3, with the highest values at Ban Sai Kaew School, Bannang Sata District and lowest at Ban Tanohputeh School, Bannang Sata District. All schools were below the threshold set by the US EPA for indoor radon levels of 148 Bq/m3. In the study area, the geology was granite but the concentration of radon gas was not very high because most of the school buildings have windows and doors open, which could the concentration of radon inside the building.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณสารกัมมันตรังสีธรรมชาติได้แก่ 226Ra, 232Th และ 40K ใน วัสดุก่อสร้าง จำนวน 41 ตัวอย่าง โดยใช้ระบบการวิเคราะห์แกมมาสเปกโตรเมตรี ด้วยหัววัดเจอมา เนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) เพื่อประเมินดัชนีอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีที่เกี่ยวข้อง และศึกษาปริมาณ แก๊สเรดอนในอาคารเรียนบริเวณตอนล่างของจังหวัดยะลา เนื่องจากบริเวณตอนล่างของจังหวัดยะลา มีสภาพทางธรณีวิทยาที่ประกอบด้วยหินตะกอน หินแปร และมีหินอัคนีชนิดหินแกรนิต กระจายตัว อยู่ในบริเวณต่าง ๆ นอกจากนั้นมีการทำอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งวัสดุก่อสร้างเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็น หินแกรนิต หินปูน และมักจะมีส่วนประกอบของนิวไคลด์กัมมันตรังสีจากธรรมชาติ ได้แก่ 226Ra, 232Th และ 40K ที่เป็นต้นกำเนิดของการปลอดปล่อยแก๊สเรดอน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและเพิ่มโอกาสการเป็น มะเร็งปอดของผู้อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวในระยะยาวได้ พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณสารกัมมันตรังสีของ 226Ra, 232Th และ 40K ในตัวอย่างหิน ดิน ทราย บริเวณตอนล่างของจังหวัดยะลามีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกสำหรับดิน (UNSCEAR, 2000) ค่าเฉลี่ยของโลกสำหรับวัสดุก่อสร้าง (UNSCEAR, 1993) โดยตัวอย่างหินจะพบว่าปริมาณสาร กัมมันตรังสีของ 226Ra และ 40K สูงสุดที่โรงเรียนบ้านปะเด็ง อำเภอธารโต ส่วน 232Th มีค่าสูงสุดใน โรงเรียนเบตง (วีระราษฎร์ประสาน) อำเภอเบตง ตัวอย่างดินนั้นพบว่าปริมาณสารกัมมันตรังสีของ 226Ra, 232Th มีค่าสูงสุดโรงเรียนบ้านวังใหม่ อำเภอเบตง ส่วน 40K มีค่าสูงสุดในโรงเรียนบ้านไทย พัฒนา อำเภอธารโต และสำหรับตัวอย่างทรายพบว่าปริมาณสารกัมมันตรังสีของ 226Ra, 232Th มี ค่าสูงสุดในโรงเรียนบ้านศรีนคร อำเภอธารโต ส่วน 40K มีค่าสูงสุดในโรงเรียนเขื่อนบางลาง อำเภอ บันนังสตา สำหรับค่าดัชนีความเป็นอันตรายทางรังสีทั้ง 5 ค่านั้นได้แก่ ค่ากัมมันตภาพรังสี สมมูลเรเดียม (Raeq) ค่าดัชนีความเสี่ยงการได้รับรังสีจากภายนอก (Hex) ค่าดัชนีความเสี่ยงการได้รับ รังสีจากภายใน (Hin) และอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน (D) และปริมาณรังสีที่ได้รับจากภายนอก ร่างกายประจำปี (E) พบว่าตัวอย่างหินค่าดัชนีความเป็นอันตรายทางรังสีทั้ง 5 ค่านั้นมีค่าต่ำกว่าเมื่อ เทียบค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ส่วนตัวอย่างดิน และทราย ค่ากัมมันตภาพรังสีสมมูลเรเดียม ค่าดัชนี ความเสี่ยงการได้รับรังสีจากภายนอก ค่าดัชนีความเสี่ยงการได้รับรังสีจากภายใน และอัตราปริมาณ รังสีแกมมาดูดกลืน มีค่าสูงกว่าเมื่อเทียบค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้มีเพียงปริมาณรังสีที่ได้รับจาก ภายนอกร่างกายประจำปีเท่านั้นที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ส่วนปริมาณความเข้มข้นของแก๊สเรดอนภายในอาคารเรียน บริเวณตอนล่างของ จังหวัดยะลา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.12±3.42 Bq/m3 โดยมีค่าสูงสุดที่โรงเรียนบ้านทรายแก้ว อำเภอ บันนังสตา และต่ำสุดที่โรงเรียนบ้านตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตาโดยทุกโรงเรียนมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาได้กำหนดระดับเรดอนภายในอาคารไว้ที่ 148 Bq/m3 โดยในพื้นที่ที่ศึกษามีสภาพธรณีวิทยาเป็นหินแกรนิตแต่มีปริมาณความเข้มข้นของก๊าซเรดอนไม่สูง มากนัก เนื่องจากอาคารเรียนส่วนใหญ่จะมีการเปิดประตูหน้าต่างอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการลดระดับความ เข้มข้นของก๊าซเรดอนภายในอาคาร
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์ประยุกต์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19222
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:722 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6320320805.pdf3.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons