กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19200
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที 1 และ 7 ต่อความวิตกกังวล และอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effect of Nursing Care Program Integrating SKT 1 and 7 Meditation on Anxiety, Nausea and Vomiting in Lung Cancer Patients Receiving Chemotherapy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพมาส ชิณวงศ์
เสาวรัตน์ พรายอินทร์
Faculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: มะเร็งปอด;เคมีบำบัด;ความวิตกกังวล;คลื่นไส้อาเจียน;สมาธิบำบัดเอสเคที
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Practicing meditation can have positive effects on both physical and psychological health, particularly for cancer patients. Regular meditation practice can reduce anxiety and relieve nausea and vomiting. This study aimed to test the impact of a nursing care program integrating Somporn Kantaradussadee Triamchaisri (SKT 1 and 7) meditation (NCPI-SKTM) on anxiety, nausea and vomiting in lung cancer patients receiving chemotherapy. A pre-test/post-test quasi-experimental design using two groups was applied with 28 participants assigned equally into an experimental group of 14 cases and a control group of 14 cases. The experimental group received the NCPI-SKTM (SKT 1 and 7) four times per day for six weeks combined with standard care, while the control group received only standard care. The participants received follow-up by telephone on days 1, 2, and 3, as well as at weeks 2 and 4, and 1 day before the next visit until the 6-week intervention was completed. Anxiety was measured at baseline, week 3, and week 6 of intervention using the State Anxiety measurement; the Cronbach’s alpha coefficient was .94. Acute and delayed nausea and vomiting were measured at baseline and week 3 of intervention (on day 4 after receiving the first cycle and the second cycle of chemotherapy) using the Index of Nausea, Vomiting, and Retching (INVR) questionnaire; the Cronbach’s alpha coefficient was .96. Data were analyzed using descriptive statistics, Independent t-test, Chi-square, Wilcoxon signed-rank test, Mann-Whitney U test, and two-way repeated measures ANOVA. The findings revealed the following: 1. After completion of the NCPI-SKTM, the experimental group had a mean score for the state of anxiety with at least 1 pair statistically significant difference (F = 22.16, p < .001). A paired comparison indicated that the mean scores for the state of anxiety at week 3 (p < .001) and week 6 (p < .001) of the intervention were significantly lower than at baseline. However, the mean scores for the state of anxiety showed no statistically significant difference between week 3 and week 6 (p = .09). 2. A comparison of the mean scores for the state anxiety within the control group between the baseline, week 3 (p = .29), and week 6 (p = 1.0) showed no statistically significant difference. 3. After the completion of the NCPI-SKTM, the experimental group had a mean score for the state of anxiety with at least 1 pair statistically significant difference (F = 155.94, p < .001). A paired comparison indicated that the mean scores for the state of anxiety at baseline between the experimental and control groups showed no statistically significant difference (p = .33). However, the mean scores for the state of anxiety at week 3 (p < .001) and week 6 (p < .001) were statistically and significantly lower than that of the control group. 4. The mean scores for severity and distress from acute nausea and vomiting within the experimental group between the baseline and week 3 showed no statistically significant difference (z = -1.53, p =.13). However, the mean score for severity and distress from delayed nausea and vomiting at week 3 was significantly lower than at baseline (z = -2.55, p = .01). 5. A comparison of the mean scores for severity and distress from acute and delayed nausea and vomiting within the control group between the baseline and week 3 showed no statistically significant difference (z = -.45, p = .66, z = -1.67, p = .10, respectively). 6. The mean scores for severity and distress from both acute and delayed nausea and vomiting between the experimental and control groups after completion of the NCPI-SKTM, the mean score for severity and distress from both acute and delayed nausea as well as vomiting in the experimental group at week 3 was significantly lower than the score for the control group (z = -2.12, p = .03, z = -4.15, p < .001, respectively). Accordingly, the NCPI-SKTM should be applied as complementary care to help prevent and relieve anxiety, nausea and vomiting for lung cancer patients who are suffering from the side effects of chemotherapy.
Abstract(Thai): การฝึกสมาธิมีผลดีต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็ง การฝึกสมาธิเป็นประจำสามารถช่วยลดความวิตกกังวลและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที (Somporn Kandradudsadi Triumchaisri: SKT) ท่าที่ 1 และ 7 ต่อความวิตกกังวลและอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับเคมีบำบัด ใช้รูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม วัดผลก่อน-หลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 28 คน ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 14 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที (ฝึกสมาธิบำบัดท่าที่ 1 และ 7) วันละ 4 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ร่วมกับได้รับการพยาบาลปกติ ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลปกติเพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้รับการติดตามทางโทรศัพท์ วันที่ 1, 2, 3 ในสัปดาห์แรกและในสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 1 วัน ก่อนวันนัดครั้งถัดไป จนครบ 6 สัปดาห์ ประเมินความวิตกกังวล ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 และ สัปดาห์ที่ 6 โดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .94 และประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียนแบบเฉียบพลันและอาการคลื่นไส้อาเจียนแบบล่าช้า ก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 (ประเมินในวันที่ 4 หลังได้รับเคมีบำบัดรอบที่ 1 และ 2) โดยใช้แบบประเมินความรุนแรงและทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียน ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินระดับความรุนแรงและทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทีอิสระ สถิติไคสแควร์ การทดสอบแมน–วิทนีย์ ยู สถิติวิลคอกซ์ซัน และสถิติความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที 1 และ 7 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 22.16, p < .001) และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 (p < .001) และสัปดาห์ที่ 6 ต่ำกว่าก่อนทดลอง (p < .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญระหว่างหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 และสัปดาห์ที่ 6 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .09) 2. เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญระหว่างก่อนทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 (p = .29) และสัปดาห์ที่ 6 (p = 1.0) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลภายหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที 1 และ 7 แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างน้อย 1 คู่ (F = 155.94, p < .001) และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p = .33) แต่หลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญในสัปดาห์ที่ 3 (p < .001) และสัปดาห์ที่ 6 (p < .001) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความรุนแรงและทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียนแบบเฉียบพลันก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -1.53, p = .13) แต่ค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความรุนแรงและทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียนแบบล่าช้า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -2.55, p = .01) 5. เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความรุนแรงและทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียนแบบเฉียบพลันและแบบล่าช้า ก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -.45, p = .66, z = -1.67, p = .10 ตามลำดับ) 6. ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที 1 และ 7 พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความรุนแรงและความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียนทั้งแบบเฉียบพลันและแบบล่าช้า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 3 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -2.12, p = .03, z = -4.15, p < .001 ตามลำดับ) ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมการพยาบาลผสมผสานสมาธิบำบัดเอสเคที 1 และ 7 ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลแบบผสมผสานในการช่วยป้องกัน บรรเทาความวิตกกังวลและอาการคลื่นไส้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการข้างเคียงของเคมีบำบัด
รายละเอียด: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19200
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210420048.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons