Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19191
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The Effects of the Phenomenon-Based Learning on Strong Citizenship Competency among 9th Grade Students
Authors: ฮามีด๊ะ มูสอ
อัสหมะ หะยียูโซะ
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน;ความเป็นพลเมือง;สมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this research were to 1) synthesize the components of students' strong citizenship competencies, 2) designed and developed phenomenon-based learning management, and 3) compared students' strong citizenship competencies during and after the phenomenon-based learning management. The target group was 38 Mathayom 3/2 students in the second semester of 2021, Demonstration School Prince of Songkla University. The research tools were 1) the phenomenon-based learning management plan, 2) the student's competency assessment form, and 3) the reflection-note form. Statistics used to test hypotheses repeated measurement ANOVA and content analysis for qualitative data. The results showed that:1) The components of students' strong citizenship competency consisted of 4 aspects: citizen, self-responsibility, and social responsibility. Civil rights respected citizens were known to think critically. Citizens were involved in preserving and inheriting culture. 2) Learning management using phenomena as a base consisted of five steps: Step 1: present the phenomenon, step 2: explore the phenomenon, step 3: discuss plans and take action, step 4: evaluate and improve concepts and methods, step 5: summarize the idea and expand. 3) Students who received a phenomenon based learning arrangement had a strong level of citizenship competency higher than before and during the phenomena-based learning management statistically significant at .01 level.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะความเป็นพลเมือง ที่เข้มแข็งของนักเรียน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียนก่อน ระหว่าง และหลังการจัดการ เรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) นักเรียน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) แบบประเมิน สมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 3) แบบบันทึกสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน การ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measurement ANOVA) และวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ของนักเรียน ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพลเมืองรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ด้านพลเมือง เคารพสิทธิด้านพลเมืองรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านพลเมืองมีส่วนร่วมอนุรักษ์และสืบสาน วัฒนธรรม 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ที่ช่วยส่งเสริมสมรรถนะความเป็น พลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอปรากฏการณ์ขั้นที่ 2 สำรวจปรากฏการณ์ขั้นที่ 3 อภิปรายวางแผนและลงมือปฏิบัติขั้นที่ 4 ประเมินและปรับปรุงแนวคิด และวิธีการ ขั้นที่ 5 สรุปแนวคิดและขยายผล 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์ เป็นฐานมีระดับสมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สูงกว่าก่อนและระหว่างการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19191
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6320120621.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons