Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19183
Title: การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาตาลโตนดในคาบสมุทรสทิงพระ ท่ามกลางพลวัตสังคม
Other Titles: The Existence of the Wisdom of Sugar Palms in Sathing Phra Peninsula in the Midst of Social Dynamics
Authors: บุษกร โกมลตรี
อธิศา ปานคง
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
Keywords: การดำรงอยู่;ภูมิปัญญาตาลโตนด
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of the study were to investigate the existence of the wisdom of sugar palms and to explore the creation of added value to sugar palms in Sathing Phra Peninsula amidst social dynamics. Data were collected from four occupational groups consisting of sugar palm fruit in syrup producers, palm sugar powder producers, sugar palm leaf lampshades producers, and sugar palm soap producers. The data of this qualitative research were collected using in-depth interview, participant observation, non-participant observation and focus group discussion. Then data analysis was performed, and a discussion was written. The research results were as follows. First, In all the four occupational groups, the existence of the wisdom of sugar palms amidst social dynamics included a collection of databases about occupational groups related to wisdom of sugar palms. The databases showed locations, names, number of members and total incomes of the occupational groups. In addition, the databases consisted of conservation of the wisdom of sugar palms from traditional wisdom to development of products, development of the wisdom of sugar palms to keep up with the modern age by improving the production process and creating new products, transfer of the wisdom of sugar palms to society by transferring the wisdom in family and groups of housewives to people interested in sugar palms, promotion of learning activities related to the wisdom of sugar palms by participating in activities organized by the government and the education sectors, participation in activities of the Annual Sugar Palm Fruit Fair of Sathing Phra District, establishment of a learning center to disseminate and exchange knowledge of sugar palms with other communities domestically and internationally, and promotion of local wise men as speakers to deliver talks about sugar palms. Second, In all the four occupational groups, the creations of added value to sugar palms amidst social dynamics included transportation management of distribution channels and transportation services, production of environmentally friendly products through management of raw materials and local resources to have zero waste, product standards certification to indicate product quality, packaging development to obtain acceptable quality, development of new products, and exporting products to overseas markets. Therefore, maintaining the existence of the wisdom of sugar palms and creating added value to sugar palms corresponding to social dynamics are methods to provide sustainable security to the occupational groups and community.
Abstract(Thai): การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาตาลโตนดในพื้นที่คาบสมุทร สทิงพระท่ามกลางพลวัตสังคม และเพื่อศึกษาวิธีการสร้างมูลค่าให้กับตาลโตนดในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระท่ามกลางพลวัตสังคมโดยเก็บข้อมูลภูมิปัญญาตาลโตนดจากกลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาชีพภูมิปัญญาตาลโตนดด้านของการผลิตลูกตาลลอยแก้ว กลุ่มอาชีพภูมิปัญญาตาลโตนดด้านการผลิตน้ำตาลโตนดผง กลุ่มอาชีพภูมิปัญญาตาลโตนดด้านการผลิตโคมไฟใบตาล และ กลุ่มอาชีพภูมิปัญญาตาลโตนดด้านการผลิตสบู่จากตาลโตนด ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลวิจัยแบบสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และ การสนทนากลุ่มย่อย เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผลต่อไป ผลการวิจัยพบดังนี้ (1) กลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่มมีการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาตาลโตนดในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระท่ามกลางพลวัตสังคมได้แก่การรวบรวมฐานข้อมูลของกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ ภูมิปัญญาตาลโตนดโดยแสดงสถานที่ตั้ง ชื่อ จำนวนสมาชิก และรายได้รวมของกลุ่มอาชีพ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาตาลโตนดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ การพัฒนาภูมิปัญญาตาลโตนดให้เข้ากับยุคสมัยโดยการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ การถ่ายทอดภูมิปัญญาตาลโตนดสู่สังคมด้วยการถ่ายทอดในครัวเรือน การถ่ายทอดในกลุ่มแม่บ้าน และการถ่ายทอดความรู้แก่บุคคลที่สนใจ การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาตาลโตนดด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมกับทางหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมการจัดงานวันลูกโหนดประจำปีของทางอำเภอสทิงพระ และการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ การเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาตาลโตนดกับพื้นที่ชุมชนอื่นด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ และการส่งเสริมบทบาทปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความรู้ด้านภูมิปัญญาตาลโตนดในฐานะวิทยากร (2) กลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่มมีวิธีการสร้างมูลค่าให้กับตาลโตนดในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระท่ามกลางพลวัตสังคมได้แก่การจัดการด้านระบบขนส่งคือช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและการบริการด้านการขนส่ง การผลิตสินค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการวัตถุดิบและทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าโดยมิให้เหลือใช้ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นการแสดงถึงเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ได้รับการยอมรับเชื่อถือ และแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่และการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปตลาดต่างประเทศ ดังนั้นการทำให้ภูมิปัญญาตาลโตนดมีการดำรงอยู่และพัฒนาวิธีการสร้างมูลค่าให้สอดคล้องกับพลวัตสังคมจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้กลุ่มอาชีพและชุมชนได้อย่างยั่งยืน
Description: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19183
Appears in Collections:895 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6211120024.pdf13.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons