กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19178
ชื่อเรื่อง: | เภสัชจลนศาสตร์และผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของตำรับสารสกัดจากเหง้ากระชายดำด้วยไดคลอโรมีเทนในหนูแรท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Pharmacokinetics and Cardiovascular Effects of Kaempferia parviflora Rhizome Dichloromethane Extract (KPD) Preparations in Rats. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉวีวรรณ จั่นสกุล พิไลพรรณ ไชยรักษ์ Faculty of Thai Traditional Medicine คณะการแพทย์แผนไทย |
คำสำคัญ: | กระชายดำ;เภสัชจลนศาสตร์;ระบบหัวใจและหลอดเลือด;ไฮโดรเจนซัลไฟด์;Kaempferia parviflora Wall. Ex. Baker;Pharmacokinetics;Cardiovascular systems;Hydrogen sulfide (H2S) |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | Kaempferia parviflora (KP) Wall.Ex Baker or black ginger belongs to the family Zingiberaceae, found in the northern part of Thailand. Its rhizome has been used in folk medicine for health promotion. To date, a number of investigations have claimed therapeutic benefit such as: aphrodisiac, anti-inflammatory, anti-hypertensive, cardioprotective, and antiobesity effects. Yorsin et al., 2014 also found that consumption of dichloromethane extract of the KP rhizomes (KPD) by middle-aged male rats caused some beneficial changes in cardiovascular parameters, decreased body fat and up-regulated NO. KPD is poorly water soluble. Thus the present study aimed to enhance the KPD dissolubility by solid dispersion method using Kollicoat® IR (PVA-co-PEG) (K) as an excipient. Pharmacokinetic of the product in the in vivo experiment on adult male rats and its biological activities in the middle-aged male rats were also investigated. Solid dispersion of the KPD was prepared by dissolving KPD and K (1 g per 5 mL dichloromethane) separately and then mixing together at a 1: 1 ratio after dryness to yield homogeneous, powder solid dispersion of KPD (K-KPD). The in vivo pharmacokinetics of the K-KPD were studied in mature male rats by oral gavage of the K-KPD and blood collected from left carotid artery of the anesthetized rat at 0, 30, 60, 90, 120, 180, 240 and 360 min and using the major components of the KPD: PMF, DMF and TMF as markers. Biological activities of the K-KPD were studied in middle-aged male rats after six weeks of oral gavage 200 mg/kg K-KPD, K (100 mg/kg) or distilled water (DW), twice a day. The pharmacokinetic study found that the three major compounds reached their peaks at 90 min after oral gavage of the K-KPD and the concentration of the DMF and TMF were about two-fold that of PMF. Biological activities of the K-KPD, in comparison to control group (DW), K did not affect any of the study parameters. K-KPD caused decreases in body fat and liver cell lipid accumulation, plasma level of glucose and triglycerides, plasma level of alkaline phosphatase, and blood platelets count. K-KPD did not affect basal blood pressure or heart rate in anesthetized rats. K-KPD causes decreased maximal contractile response of thoracic aortic rings to phenylephrine, and this effect disappeared in the presence of DL-propargylglycine (PAG) or by removal of the vascular endothelium but not N-nitro-L-arginine (L-NA). K-KPD potentiated vasodilatation of the aortic ring precontracted with phenylephrine to acetylcholine and glyceryl trinitrate, and these effects were abolished by PAG. Western blot analysis showed an increase in blood vessel CSE, but not eNOS protein expression. Conclusion: Taken together, Kollicoat did not affect the beneficial cardiovascular health parameters of the KPD, except for the mechanism of the vascular function, which was found to cause increased blood vessel H2S instead of the NO. K-KPD did not have any adverse effects on internal organ gross toxicity, liver and kidney functions, or on blood cells. Thus, the K-KPD would be a novel health product to prolong cardiovascular health functions in human. Further development of the K-KPD in a dosage form as tablets or capsules for convenient human consumption would be worthwhile. |
Abstract(Thai): | Kaempferia parviflora (KP) Wall.Ex Baker หรือ กระชายดำ อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae พบทางภาคเหนือของประเทศไทย ทางการแพทย์พื้นบ้านใช้เหง้ากระชายดำเป็นยาบำรุงเพื่อสุขภาพ นับถึงปัจจุบันได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันสรรพคุณของเหง้ากระชายดำในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ต้านการอักเสบ ต้านความดันโลหิตสูง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และต้านโรคอ้วน นอกจากนี้ Yorsin et al., 2014 ยังพบว่าการให้หนูวัยกลางชีวิตกินสารสกัดเหง้ากระชายดำด้วยไดคลอโรมีเทน (KPD) มีผลทำให้ลดการสะสมของไขมันในร่างกาย และเพิ่มการหลั่งไนตริกออกไซด์ที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ชะลอการพัฒนาไปเป็นโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่สารสกัด KPD เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ จึงได้พัฒนาสาร KPD ด้วยเทคนิค solid dispersion โดยใช้ kollicoat® IR (PVA-co-PEG) (K) เป็นสารช่วย ได้เป็นตำรับ K-KPD ที่มีความสามารถในการละลายได้ดี ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ ในหนูแรทโตเต็มวัย และฤทธิ์ทางชีวภาพของ K-KPD ในหนูแรทเพศผู้วัยกลางชีวิตต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูว่า K จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ทางชีวภาพของ KPD หรือไม่ Solid dispersion ของ KPD ทำโดยใช้ KPD: K ในอัตราส่วน 1:1 ละลายสารแต่ละชนิดด้วยไดคลอโรมีเทน (1 กรัมต่อ 5 มิลลิลิตร) แล้วนำมาผสมเข้าด้วยกัน เมื่อสารแห้งจะได้สารที่เป็นเนื้อเดียวกันมีลักษณะเป็นผงเรียก K-KPD แล้วจึงนำไปศึกษาทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ในหนูแรท เพศผู้โตเต็มวัยด้วยการป้อนยาทางปาก จากนั้นเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดแดงคาโรติดข้างซ้ายของหนูแรทสลบหลังจากป้อนยาไปแล้วที่เวลา 0, 30, 60, 90, 120, 180, 240 และ 360 นาที มาวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญหลักของกระชายดำ ได้แก่ PMF, DMF และ TMF ในน้ำเลือด สำหรับการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของ K-KPD ศึกษาในหนูแรทเพศผู้วัยกลางชีวิตหลังจากป้อน K-KPD ขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, K (100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) หรือน้ำกลั่น วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ เภสัชจลนศาสตร์ของ K-KPD พบว่าความเข้มข้นของสารทั้ง 3 ชนิดในน้ำเลือด ถึงจุดสูงสุดหลังจากได้รับ K-KPD ไปแล้ว 90 นาที และพบว่าสาร DMF และ TMF มีความเข้มข้นเป็นสองเท่าของ PMF สำหรับผลทางชีวภาพของ K-KPD เมื่อเปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม (น้ำกลั่น) พบว่า K ไม่ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในทุกปัจจัยที่ทำการศึกษา ส่วน K-KPD มีผลลดการสะสมไขมันในร่างกายและที่เซลล์ตับ ลดระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอร์ไรด์ และ alkaline phosphatase ในน้ำเลือด และลดจำนวนเกล็ดเลือด แม้ว่า K-KPD ไม่มีผลต่อความดันโลหิตหรืออัตราการเต้นของหัวใจพื้นฐานในหนูแรทสสบ แต่ K-KPD มีผลลดความแรงในการหดตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ทรวงอก (thoracic aorta) ต่อ phenylephrine ซึ่งผลดังกล่าวนี้สามารถยับยั้งได้ด้วย DL- propargyl glycine (PAG) หรือโดยการทำลายเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelium) แต่ไม่สามารถยับยั้งได้ด้วย N-nitro-L-arginine (L-NA) K-KPD มีฤทธิ์เสริมการคลายตัวของ thoracic aorta ต่อ acetylcholine (ACh) และ glyceryl trinitrate (GTN) ที่ทำให้หดตัวอยู่ก่อนด้วย phenylephrine และผลดังกล่าวนี้สามารถยับยั้งได้ด้วย PAG การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนด้วยวิธี Western blot พบว่า K-KPD มีผลทำให้เพิ่มการแสดงออกของโปรตีน CSE แต่ไม่เพิ่มการแสดงออกของโปรตีน eNOS จากผลการทดลองทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า Kollicoat ไม่มีผลต่อพารามิเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของ KPD ยกเว้นผลต่อกลไกการทำงานของหลอดเลือดที่พบว่ามีผลทำให้เพิ่มการหลั่ง H2S แทนที่จะเป็น NO การกิน K-KPD ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะภายใน เซลล์เม็ดเลือด รวมทั้งการทำงานของตับและไต ดังนั้น K-KPD น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพแนวใหม่ที่ช่วยยืดอายุการมีสุขภาพดีของระบบหัวใจและหลอดเลือดในมนุษย์ได้ K-KPD เป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าที่จะพัฒนาต่อไปในรูปแบบที่สะดวกต่อการบริโภค เช่น เป็นเม็ด หรือบรรจุแคปซูล |
รายละเอียด: | การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต (การแพทย์แผนไทย), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19178 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 190 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5811430003.pdf | 10.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License