Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19169
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: The Effect of Learning Management Using Design Thinking Process to Enhance Science Process Skills and Creative Thinking in Science of Grade 5 Students
Authors: ศุภกาญจน์ บัวทิพย์
นัยน์เนตร มณีไสย
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
Keywords: ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์;การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking);วิทยาศาสตร์ แผนการสอน;ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;การสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of the study were to compare learning accomplishment, scientific creativity, and primary 5 students’ scientific method ability designed as Design Thinking Method, also examine the students’ satisfaction on the Design Thinking Method. The sample was a class with 20 students in primary 5 of Sukhirin School, Narathiwat Primary Education Service Area office 2, Narathiwat. The duration of the implementation was 16 weeks in the second semester. The research instruments were the Design Thinking Method learning plan, the scientific learning achievement test, the evaluation of scientific creativity form, the evaluation of basic scientific skill form, the satisfaction towards to the Design Thinking Method, the author’s field note, and the semi – structured Interview. The research methodology operated as OneGroup Pretest – Posttest Design including data analysis, means, and standard deviation. The findings were as follows: 1) The post-test’s learning accomplishment was higher than the pre-test. The pre-test’s mean was at 16.10 and the post-test was 22.40 in percentage. 2) The result of scientific creativity after learning was higher than before learning. The percentage of the before and after learning were 12.75 and 16.75 in order. 3) The students’ scientific skill after learning was higher than before learning. The percentage of the before and after learning were 10.60 and 12.25 in order. 4) the satisfaction of the students towards Design Thinking Method was a high level.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุคิริน จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส เขต 2 ภาคการศึกษาที่ 2 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 20 คน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ดำเนินการทดลองตามรูปแบบการวิจัยแบบ (OneGroup PretestPosttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test แบบDependent ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยก่อนเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 16.10 และหลังเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 22.40 3) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนค่าเฉลี่ย ร้อยละ 10.60 และหลังเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 12.25 3) นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 12.75 และหลังเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 16.75 และ4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) อยู่ในระดับมาก
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19169
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6320120606.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons