Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19141
Title: | Effect of Speed Firing Protocol on Physical and Mechanical Properties of Cubic Phase Containing Zirconia Used as Implant Restorations |
Other Titles: | อิทธิพลของการเผาผนึกอย่างด่วนที่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติทางกลของเซอร์โคเนียชนิดโปร่งแสงที่มีองค์ประกอบของผลึกคิวบิกในงานทันตกรรมรากเทียม |
Authors: | Chaimongkon Peampring Suchada Kongkiatkamon Faculty of Dentistry คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Keywords: | dental ceramics zirconia;translucency;mechanical properties;low temperature degradation;cubic zirconia |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | Objectives: First part was to evaluate the surface structure, phase determination, translucency, and strength (flexural) of the zirconia (Katana STML Block and Disc) between the regular sintering (RS) and the speed sintering (SS) with and without low- temperature degradation (LTD). The second part aimed to compare the surface structure, cracks, and load-bearing capacity in zirconia screw-retained implant crowns between RS and SS protocols with and without cyclic loading (fatigue). Materials and methods: For the first part, a total of 60 zirconia discs (30 per group; RS and SS). The zirconia discs were subjected to RS and SS with and without LTD. Scanning electron microscopy (SEM) was done to characterize the zirconia specimens and the zirconia grain size. Furthermore, the zirconia specimens were analyzed for elemental analysis using energy dispersive spectroscopy (EDS) and phase identification using X-ray diffraction. The zirconia specimens were analyzed for the translucency measurements and biaxial flexural strength testing. For the second part, a total of 60 screw-retained crowns were fabricated from zirconia (Katana STML Block) by the CAD/CAM system. Then, 30 crowns were subjected to the RS protocol and 30 crowns to the SS protocol. Cyclic loading was done in half zirconia crowns (15 crowns in each group) using a chewing simulator at room temperature. SEM was done to study the surface of the crowns and the cracks in the crowns of the RS and SS protocols, with and without fatigue. Load to failure was also evaluated. Results: For the first part, the zirconia specimens with and without LTD in RS and SS presented a similar surface structure. RS showed more translucency compared to SS. Multiple comparisons of the translucency parameter were a significant difference (p value < 0.05) among various groups except for the comparison between SS and SS with LTD. The RS sintering showed bigger gain sizes and slightly more t compared to SS. The SS RS. For the second part, for the SS group, the crack surface looks more uniform, and the crack lines are present at a short distance compared to RS. It showed that the SS group showed the maximum fracture load, followed by the RS, SS with fatigue, and RS with fatigue groups. The fracture load in various groups showed significant differences. Conclusions: The RS showed a bigger grain size and slightly more t compared to SS. The SS RS. This shows that SS can be considered a suitable method of sintering zirconia. Hence, when biaxial flexural strength is required, SS can be considered; however, when better translucency is required, RS is recommended. |
Abstract(Thai): | วัตถุประสงค์: ในการศึกษาส่วนแรกเพื่อประเมินผลของการบ่มด้วยการใช้ความร้อนและความชื้นต่อโครงสร้างจุลภาค ลักษณะพื้นผิว คุณสมบัติทางแสงและคุณสมบัติเชิงกลของเซอร์โคเนียชนิดโปร่งแสงที่มีองค์ประกอบของคิวบิกที่ได้รับการเผาที่แตกต่างกันคือการเผาด้วยวิธีปกติ และการเผาผนึกอย่างด่วน ในการศึกษาส่วนที่สองเพื่อทำการศึกษาลักษณะของพื้นผิว การแตก และการต้านทานต่อการล้าของครอบฟันเซอร์โคเนียชนิดโปร่งแสงที่มีองค์ประกอบของผลึกได้รับการเผาที่แตกต่างกันคือการเผาด้วยวิธีปกติ และการเผาผนึกอย่างด่วน วิธีการวิจัย: ในส่วนแรก ได้เตรียมชิ้นงานจากเซอร์โคเนียเซรามิกให้เป็นรูปทรงแผ่นกลม ทั้งหมด 60 ชิ้น (แบ่งเป็นสองกลุ่ม โดย 30 ชิ้นสำหรับการเผาผนึกแบบปกติ และ 30 ชิ้นสำหรับการเผาผนึกแบบด่วน) เซอร์โคเนีย 15 ชิ้นจากทั้งสองกลุ่มจะถูกจำลองการสลายตัวด้วยอุณหภูมิต่ำ หลังจากนั้นชิ้นงานทั้ง 4 กลุ่มจะถูกนำมาศึกษาลักษณะโครงสร้างจุลภาคในแต่ละกลุ่มด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดเพื่อวัดขนาดอนุภาค และศึกษาการเปลี่ยนวัฏภาคผลึกเซอร์โคเนียด้วยเครื่องวัดการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ นอกจากนั้นความแตกต่างของคุณสมบัติทางแสงของแต่ละกลุ่มจะถูกประเมินด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสง นอกจากนี้ใช้ยังการประเมินความต้านทานการแตกหักในการเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลของชิ้นงานแต่ละกลุ่ม ในการทดลองส่วนที่สอง ครอบฟันบนรากเทียมแบบเจาะรูทั้งหมด 60 ซี่ถูกทำขึ้นมาจากเซอร์โคเนียด้วยวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและผลิต (Katana STML Block) ชิ้นงานถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการเผาผนึกแบบปกติ (30 ชิ้น) และกลุ่มที่ได้รับการเผาผนึกแบบด่วน (30 ชิ้น) โดย 15 ชิ้น จากทั้งสองกลุ่มนำไปผ่านการให้แรงเป็นรอบที่อุณหภูมิห้อง ชิ้นงานทุกกลุ่มจะถูกศึกษาลักษณะพื้นผิว และลักษณะรอยแตกด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นอกจากนี้ความต้านทานต่อการแตกหักเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลยังได้รับการศึกษาอีกด้วย ผลการศึกษา: ในการศึกษาส่วนแรกพบว่า ชิ้นงานเซอร์โคเนียภายหลังจากการบ่มด้วยการนึ่งไอน้ำ ทั้งในกลุ่มที่ได้รับการเผาผนึกแบบปกติ และแบบด่วนมีลักษณะโครงสร้างจุลภาคที่ไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มที่ได้รับการเผาผนึกแบบปกติพบว่ามีความใสมากกว่ากลุ่มที่ผ่านการเผาผนึกแบบด่วน จากการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ความเชื่อมั่นที่ 95 เปอร์เซ็นต์พบว่าทุกกลุ่มให้ค่าความใสแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญยกเว้นกลุ่มที่ผ่านการเผาผนึกแบบด่วนที่ถูกจำลอง และไม่ได้ถูกจำลองการสลายตัวด้วยอุณหภูมิต่ำ ทั้งนี้ยังพบว่าในกลุ่มที่ผ่านการเผาผนึกอย่างด่วนนั้นมีค่าความต้านทานต่อการหักสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเผาผนึกปกติ ในการทดลองส่วนที่สองพบว่าลักษณะของพื้นผิวที่แตกในกลุ่มที่ผ่านการเผาผนึกอย่างด่วนมีลักษณะสม่ำเสมอ และรอยแตกมีความยาวที่สั้นกว่าในกลุ่มที่ผ่านการเผาผนึกแบบปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มที่ผ่านการเผาผนึกแบบด่วนที่ไม่ได้นำไปผ่านการให้แรงเป็นรอบมีค่าความต้านทานต่อการแตกหักสูงที่สุด บทสรุป: เซอร์โคเนียที่ผ่านการเผาผนึกแบบปกติจะพบว่ามีขนาดอนุภาคที่ใหญ่ ซึ่งส่งผลให้มีค่าความใสที่มากกว่าเซอร์โคเนียที่ผ่านการเผาผนึกแบบด่วน แต่เซอร์โคเนียที่ผ่านการเผาผนึกแบบด่วนจะมีค่าความต้านทานต่อการแตกหัก และดัดงอที่สูงกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเผาผนึกแบบด่วนเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในคลินิก ในตำแหน่งที่ต้องการความแข็งแรงสูง อาจจะพิจารณาเผาผนึกเซอร์โคเนียแบบด่วน ในขณะที่บริเวณที่ต้องคำนึงถึงความสวยงามเป็นหลักยังแนะนำให้เผาผนึกเซอร์โคเนียแบบปกติอยู่ |
Description: | Doctor of Philosophy (Oral Health Sciences),2023 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19141 |
Appears in Collections: | 650 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6310830008.pdf | 5.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License