กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19110
ชื่อเรื่อง: การรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด สีเขียวที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Customer Perceptions of Green Eco-Friendly Product and Green Marketing Mix toward Purchase Intention of Green Label Products in Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันทา เหมทานนท์
ณฐนันท์ ฉินอังกูร
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์สีเขียว (สงขลา)
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purposes of this study were to explore green perceived value that consumers have towards green label products and perception of importance of green marketing mix toward purchase Intention of green label products; and to test the influence of green perceived value that consumers had on green label products and perception of importance of green marketing mix affecting purchase intention of green label products. The instrument of this survey research was a questionnaire to collect data from 400 consumers who were 18 years old and over that never purchased green label products but had received information about green label products. The subjects were purposively selected using convenience sampling from various modern trades in Hatyai city, Songkhla province. The statistics used for data presentation and data analysis were percent, mean, standard deviation, and variables influencing purchase intention were tested using multiple regression coefficient. The results reveal that most of the participants view green label products reflect a good image as part of green perceived value. Additionally, the perception of the importance of green marketing mix represents the reliable standard certification, reasonable prices in terms of quality and quantity, were easily purchased, widely available and enhanced the image from environmentally conscious consumers. The hypothesis testing results present that for green perceived value significantly affect the purchase intention of green label products, the variables affecting purchase intention were reliability in being environmentally-friendly (B=0.18). For the perception of the importance of green marketing mix directly influence purchase intention of green label products, the variables affecting purchase intention were the price (B=0.34), marketing promotion (B-0.24), and the product (B=0.18), respectively.
Abstract(Thai): งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียวและการรับรู้ความสําคัญของส่วนประสมทางการตลาดสีเขียวที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว และเพื่อทดสอบอิทธิพลของการรับรู้คุณค่า ด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว และการรับรู้ความสําคัญของ ส่วนประสมทางการตลาดสีเขียวที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว โดยการศึกษา ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภค ที่ไม่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว แต่เคยได้รับข้อมูลในเรื่องผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลาก เขียว และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จํานวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตามความสะดวกจากห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อ ในอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สถิติที่ใช้ในการนําเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อด้วย ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียวว่ามีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม และในด้านการรับรู้ความสําคัญของส่วนประสมทางการตลาดสีเขียวพบว่า ส่วนใหญ่มีการรับรู้ว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานรับรองที่เชื่อถือได้ มีราคาที่เหมาะสมทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ หาซื้อ ได้ง่าย มีวางจําหน่ายทั่วไป และมีส่วนช่วยเสริมภาพลักษณ์ของการเป็นผู้ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ผลการ ทดสอบสมมติฐานพบว่า ผลการวิจัยด้านการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมมีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว ตัวแปรที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อคือ ความน่าเชื่อถือในการคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม (B = 0.18) และผลการวิจัยด้านการรับรู้ความสําคัญของส่วนประสมทางการตลาดสีเขียวมีผลต่อความตั้งใจ ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมฉลากเขียว พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ คือ ด้านราคา (B = 0.34) ด้านการส่งเสริมการตลาด (B = 0.24) และด้านผลิตภัณฑ์ (B = 0.18) ตามลําดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (การตลาด))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19110
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
437791.pdf2.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons