Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19105
Title: การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวและความแข็งผิวของผิวเคลือบฟันและวัสดุบูรณะฟันหลังจากสัมผัสกับสภาวะความเป็นกรดและการแปรงฟัน (การศึกษาในห้องปฏิบัติการ)
Other Titles: Surface Profile and Hardness Changes of Enamel and Restorative Materials after Immersed in Acidic Condition and Tooth Brushing : 'Invitro' Study
Authors: ชโณทัย เฮงตระกูล
สลิล ปัญจรัตนากร
Faculty of Dentistry
คณะทันตแพทยศาสตร์
Keywords: ฟัน การดูแลและสุขวิทยา;ฟัน การสึกกร่อน
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Introduction: Tooth and restorative materials exposed to the complex oral environment. One of these environment is acidic food and beverages consumptions. These could affect on tooth surface and restorative materials in the oral cavity. After acidic food consumptions, in the case of toothbrushing has been done consequently, tooth and restorative materials may be altered progressively. Therefore, these may affected on the longevity of tooth and restorative materials. Objectives: This 'in vitro' study was to investigate the effect of acidic conditions and brushing on surface hardness, surface profile changes and scanning electron micrographs. Materials and methods: Human enamel and 3 types of tooth-colored restorative materials were used. These restorative materials included capsulated glass-ionomer cement (FujiR BULK), resin composite (Filtek Z350XT) and ceramic (Feldspathic: Vitablocs Mark II) were used here. For glass-ionomer cement and resin composite, specimens were prepared and embedded in plastic moulds. For enamel and ceramic, the specimens were embedded in self-cured acrylic resin. Before experiment, all specimens were coated with nail varnish in order to provide the testing area of 5×5 mm2 for surface microhardness measurement and 3×5 mm2 for surface profile measurement (Ra and Rz). Surface hardness and surface profile of each specimens were investigated prior to erosion- abrasion cycle as a baseline data. The specimens were immersed in acidic solutions either vinegar or artificial lemon juice for 1 hr. and follow with tooth brushing for 5 min. (150 strokes) with a load of 150 g. Acidic immersion and following with brushing cycle 2d time was done, which meant to complete Erosion-abrasion:A. Surface hardness and surface profile changes were then measured. After Erosion-abrasion:A, the specimens were immersed and brushed again at the same manner for 4 cycles. These meant to finish Erosion-abrasion:B. All specimens were investigated surface hardness, surface profile changes and scanning electron microscope. Surface hardness and surface profile changes were analyzed by Friedman test and Wilcoxon signed ranks test (p<0.05). Results: The mean hardness and surface profile of specimens in each group were measured before experiment were greatly various. These different values depended on compositions of each materials, chemical and physical properties by themselves. Surface hardness of enamel and glass- ionomer cement immersed either vinegar and artificial lemon juice were significantly decreased after Erosion-abrasion:A and progressively reduced after Erosion-abrasion:B when compared with baseline data of each group. Surface hardness of resin composite and ceramic have been showed moderate changes. Surface profile parameter (Ra and Rz) values of enamel and glass-ionomer cement showed the same manner of surface hardness changes whereas resin composite was not significantly changed in both solutions. Scanning electron micrographs showed obviously surface alterations in all groups. Conclusion: Enamel and 3 types of restorative materials immersed in acidic solutions and following with brushing have shown that surface hardness and surface profile have been changed greatly various depend on their chemical and physical properties. In order to investigate erosion and abrasion effect, the experiment should have multiple measurements.
Abstract(Thai): ฟันและวัสดุบูรณะฟันที่อยู่ในช่องปากโดยธรรมชาติแล้วเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สิ่งแวดล้อมจากการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเปรี้ยวที่มี ส่วนผสมของสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรดก็อาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของผิวเคลือบฟัน และวัสดุบูรณะฟันที่อยู่ภายในช่องปาก นอกจากนี้ การรับประทานอาหารรสเปรี้ยว แล้วหากมีการ แปรงฟันหลังมื้ออาหารทันที อาจจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อฟันและวัสดุบูรณะฟันรวดเร็ว ขึ้นซึ่งมีผลให้อายุการใช้งานของวัสดุสั้นลง วัตถุประสงค์ : การศึกษาทางห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาความแข็งผิว การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวที่ เปลี่ยนแปลงไปของผิวเคลือบฟันและวัสดุบูรณะฟันหลังจากสัมผัสสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรดแล้ว ตามด้วยการแปรงฟันทันที วัสดุและวิธีการ : ชิ้นงานที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย ผิวเคลือบฟัน กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ชนิดแคปซูล (Fuji BULK) เรซินคอมโพสิต (Filtek 2350XT) และเซรามิค (Feldspathic : Vitablocs Mark II) โดยผิวเคลือบฟันเตรียมจากฟันกรามล่างแท้ซี่ที่ 3 จํานวน 18 ซี่ ถูกตัดในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง ซึ่งจะได้ฟันแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนําไปฝังในเรซิน อะคริลิกชนิดบ่มได้เองแล้ว นําไปขัดให้เรียบ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์และเรซินคอมโพสิตถูกอุดใส่ลงในแม่แบบพลาสติก ใสทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนเซรามิคชนิดแคดแคมที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ถูกตัดให้มีความหนา 2 มิลลิเมตร จากนั้นเซรามิคถูกนําไปยึดในเรซินอะคริลิคชนิดบ่มตัวได้ด้วยหลักการเดียวกับการฝังผิว เคลือบฟันนําไปขัดให้ผิวหน้าเรียบ แล้วนําไปตัดด้วยเครื่องตัดชิ้นงานให้มีความหนา 2 มิลลิเมตร ชิ้นงานจาก 4 กลุ่มโดยแต่ละกลุ่มมีจํานวน 36 ชิ้น ประกอบด้วยกลุ่มที่แช่น้ําส้มสายชู 18 ชิ้นงาน และกลุ่มที่แช่น้ํามะนาวเทียม 18 ชิ้นงาน ชิ้นงานถูกกําหนดบริเวณสัมผัสกรดให้มีขนาด 5x5 ตาราง มิลลิเมตรสําหรับการวัดความแข็งผิว และ 3x5 ตารางมิลลิเมตรสําหรับการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงพื้นผิว ชิ้นงานถูกนําไปสัมผัสสารละลายกรดแต่ละชนิดเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้วทําการล้างด้วยน้ํา กลั่นเป็นเวลา 10 วินาที จากนั้น นําไปแปรงด้วยเครื่องจําลองการแปรงฟันชนิด 10 หัวแปรงที่ เคลื่อนที่เป็นแนวราบเป็นระยะ 2 เซนติเมตร โดยใช้แรงกดหัวแปรง 150 กรัม 150 รอบ/นาที เป็น เวลา 5 นาที โดยที่น้ํากลั่นปริมาณ 100 มิลลิลิตรจะถูกใช้เป็นน้ําหล่อลื่นขณะแปรงฟัน การทดลอง นี้ออกแบบให้เป็น Erosion-abrasion cycle โดยที่ Erosion-abrasion: A เป็นการสัมผัสกรดและการแปรงฟันดังกล่าวจํานวน 2 รอบ แล้วนําไปวัดค่าความแข็งผิวและการเปลี่ยนแปลงพื้นผิว จากนั้น ทําต่อไปอีก 4 รอบ (Erosion-abrasion:B) จากนั้นนําชิ้นงานไปวัดค่าความแข็งผิว การเปลี่ยนแปลง พื้นผิว การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ค่าที่วัดได้ถูกนําไปวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ําและเลือกใช้วิธีการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติแมนวิทนีย์ (p<0.05) ผลการทดลอง : ความแข็งผิวเฉลี่ยของผิวเคลือบฟันก่อนการทดลองอยู่ในช่วง 257.5-328.42 โดย ที่กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ 64.88-66.87 เรซินคอมโพสิต 73-76.15 และเซรามิคมีค่า 605.68- 644.15 กิโลกรัม/ตารางมิลลิเมตร หลังการทดสอบ พบว่าค่าความแข็งผิวในกลุ่มผิวเคลือบฟันมีแนวโน้มลดลงมากที่สุดพบตั้งแต่ Erosion-abrasion: A และมีค่าลดลงจนถึง Erosion-abrasion: B โดยในกลุ่มที่แช่น้ํามะนาวเทียมมีการลดลงมากกว่ากลุ่มน้ําส้มสายชู การเปลี่ยนแปลงที่พบ รองลงมาคือ กลุ่มกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ตามด้วยกลุ่มเซรามิค ในขณะที่เรซินคอมโพสิตไม่ พบการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งผิวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติตามลําดับ ส่วนค่าการเปลี่ยนแปลง พื้นผิว พบว่ากลุ่มที่ค่าความหยาบผิวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มผิวเคลือบฟัน กลุ่มกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ และเซรามิค ตามลําดับ โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเรซินคอมโพสิต เมื่อพิจารณา จากภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวในทุก กลุ่ม โดยในกลุ่มผิวเคลือบฟัน กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์มีการทําลายพื้นผิวในกลุ่มน้ํามะนาวเทียม มากกว่ากลุ่มน้ําส้มสายชูอย่างเห็นได้ชัด สรุป : ผิวเคลือบฟันและวัสดุบูรณะฟันเมื่อสัมผัสกับสภาวะความเป็นกรดและตามด้วยการแปรงฟันทันทีพบมีการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งผิว การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของสารแต่ละชนิด ดังนั้นการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ควรใช้เครื่องมือหลายชนิดร่วมกัน
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19105
Appears in Collections:650 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
434791.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons