Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19088
Title: การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
Other Titles: Health Impact Assessment : A Case Study of Community-based Tourism in Ao Luek District, Krabi Province
Authors: เพ็ญ สุขมาก
ประวิช ขุนนิคม
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
Keywords: การท่องเที่ยวโดยชุมชน;การท่องเที่ยวเชิงเกษตร;การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this study were to assess health impact from community-based tourism in Ban Laem Sak Community and Ban Tham Suea Community in Ao Luek District, Krabi Province. Four steps of health impact assessment were employed: public screening, public scoping, assessing, and public review. This concurrent impact assessment was intermediate appraisal. Data were collected through in-depth interviews, focus group discussions, workshop and participant observation on fifty informants consisting of representatives of the Community Tourism Development, local people, informants from the government sector, private sector and other local organizations; content analysis was performed. The study found that community tourism improved community economy. Incomes of many occupational groups increased such as community enterprises, guided tours, Hua Thong Long-tailed Boat groups, local orchid conservation and breeding groups, and batik groups. Income distribution was also found among other related occupational groups inside and outside the area such as organic aquatic animal processing groups, and natural shrimp past groups. The employment rates of the two communities were found to increase. Management of community tourism benefits was carried out in the form of social business where benefits were shared with society or community. Socio-culturally, it was found that community tourism revived and conserved traditional culture in food, costume, and entertainment such as Peranakan culture of the Southern Malay Peninsula, Rong Ngeng dance, batik sarong printed with ancient painting patterns, and native fishing wisdom. In the two communities, there were tourist activities in culture, food, and various health activities such as biking, and mud spa, etc. Regarding natural resources, it was found that the two communities had similar natural resources and environmental management. They had environmental conservation activities such as mangrove reforestation and nypa palm reforestation that enhance animal and plant fertility. (8) It is recommended for the two communities that there should be measures to control the number of tourists to sensitive tourist attractions such as nursery grounds for wild orchids and lady’s slipper orchids. There should also be agreements on local aquatic animal care, mangrove reforestation, environmental management policy, community tourism activities that promote natural resources and environmental conservation, rules and regulations or measures for community tourism management including measures for conservation, revival, and development of natural resources in the community, including creating community tourism networks and networks for management of natural resources, traditions and culture to make community tourism sustainable.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในชุมชนบ้านแหลมสัก และชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ดำเนินการตามขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ 4 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรองโดยสาธารณะ การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และการทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ เป็นการประเมินผลกระทบระหว่างดำเนินการ (Concurrent) แบบระดับกลาง (Intermediate appraisal) เก็บข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ประชาชน ภาครัฐ เอกชนและกลุ่มองค์กรอื่น ๆ ในพื้นที่ จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น รายได้ของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มนำเที่ยว กลุ่มเรือหัวโทง กลุ่มอนุรักษ์ และเพาะพันธ์กล้วยไม้พื้นถิ่น กลุ่มผ้าบาติกเพิ่มขึ้น และมีการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มเชื่อมโยงอื่น ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่เช่น กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำอินทรีย์ กลุ่มกะปิกุ้งตัก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้ง 2 ชุมชน มีการจัดการผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบการดำเนินการกิจการเอื้อสังคม คือ มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่สังคมหรือชุมชน ด้านสังคม วัฒนธรรมพบว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้เกิดการรื้อฟื้นและอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมด้านอาหาร การแต่งกาย และการละเล่น เช่น วัฒนธรรมเปอรานากันจากแหลมมลายูตอนใต้ การแสดงรองแง็ง การทำผ้าปาเต๊ะพิมพ์ลายภาพเขียนสีโบราณ และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านประมงพื้นบ้าน ทั้ง 2 พื้นที่เกิดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหาร และสุขภาพมีความหลากหลายเช่นการปั่นจักยาน การทำสปาโคลน เป็นต้น สำหรับด้านทรัพยากรธรรมชาติ พบว่าทั้งสองชุมชนมีรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน มีกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่าโกงกาง ป่าจาก ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิต พันธุ์ไม้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะของทั้งสองพื้นที่เห็นว่า ควรมีมาตรการในการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเข้าไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่อ่อนไหว เช่น พื้นที่ที่เป็นแหล่งอนุบาลกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้รองเท้านารี มีข้อตกลงเพื่อการดูแลสัตว์น้ำในพื้นที่ การส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน มีการกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่ส่งเสริมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กฎ กติกา หรือมาตรการในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งมาตรการในการรักษา ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดความยั่งยืนต่อไป
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19088
Appears in Collections:148 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
433011.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons