กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19066
ชื่อเรื่อง: | การทดสอบความถูกต้องของแบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับชาวไทยชนิดรายการคำที่มีคำถามทดสอบความเข้าใจในผู้ป่วยชาวมุสลิม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Validation of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension in Muslim Patients |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สงวน ลือเกียรติบัณฑิต นูรไอนา ดารามาลย์ Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacy Administration) คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ |
คำสำคัญ: | ความรอบรู้ทางสุขภาพ;การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2018 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This study aims to test the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA-W+) and to determine a cut-off of the test for judging the levels of health literacy in Muslim patients, and to determine cut-off value to interpret the level of health literacy (HL), and to compare the properties of the THLA-W+ calculating the score which obtained from the test in 3 methods (THLA-W+R, THLA-W+C and THLA-W+RC). The researcher used the THLA- W+ developed by Phadoong Chanchuto (2017). The scale consists of 48 words with 4 corresponding choices to test the comprehension of word meaning. Scoring of the scale were conducted in 3 methods: 1) calculating the score from reading test (THLA-W+R), 2) calculating the score from comprehension test (THLA-W+C), and 3) calculating the score from both reading and comprehension test (THLA-W+RC). The THLA-W+ was administered to 767 Muslim outpatients in Yaring hospital in Pattani province. The subjects completed THLA-W+, questionnaires on HL indicating variables and Thai Health Literacy Assessment Using Nutrition Label (THLA-N). The result showed that reliabilities of the THLA-W+R, THLA-W+C and THLA-W+RC were high as 0.982, 0.969 and 0.969 respectively. Validity of the scale was evident from the ability of the THLA-W+C and THLA-W+RC to discriminate the subjects with different levels of education. Their discriminating ability was better than that of the THLA-W+R. Correlation coefficient between the THLA-W+ scores from all three methods of calculation with HL indicators (eg, reading ability, understanding of health documents) was positive and statistically significant (r=0.222-0.816). The THLA- W+C and THLA-W+RC showed a higher correlation coefficient than the THLA-W+R did. Overall, those with correct response on the questions in HL indicators (eg, reading ability) obtained a higher level of THLA-W+ scores than those with incorrect answers did. THLA-W+C and THLA-W+RC were highly correlated with r=0.98. The analysis of the receiver operating characteristics (ROC) with reading ability, understanding of health documents and THLA-N as gold standards revealed that the THLA-W+R had an area under the curve (AUC) of 0.641-0.660 (depending on gold standards), which was less than the AUCS of the THLA-W+C and THLA-W+RC, which were 0.820-0.830 and 0.826-0.832, respectively. The result indicated that THLA-W+C and THLA-W+RC were more accurate in classifying the levels of HL than THLA-W+R was. The cut-off value of the THLA-W+R, THLA-W+C and THLA-W+RC were 47, 37 and 37 respectively. Sensitivities of the scales were 41.9-46.5, 68.7-78.6 and 70.7-80.7 respectively. THLA-W+C and THLA-W+RC were more sensitive than THLA-W+R. Specificities of three measures were similar at 76.21-88.10, 67.96-83.33 and 66.02- 80.95, likelihood ratio for a positive more than one which indicates to advantages of screening test. The THLA-W+ was reliable and valid for using in Muslim patients. Scale should be administered as comprehension test alone because it gives the scores with a better psychometric property than the reading test. Moreover, it simplifies testing process and required no staff to judge the pronunciation of the subjects. The THLA- W+C shows a satisfactory sensitivity and specificity with the score of 37 or lower indicating inadequate HL. |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องของแบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสําหรับชาวไทยชนิดรายการคําที่มีคําถามทดสอบความเข้าใจ หรือ Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA-W+) ในผู้ป่วยมุสลิมและหาจุดตัดเกณฑ์คะแนน (cut-off) ที่เหมาะสม ของแบบวัดเพื่อใช้ตัดสินระดับความแตกฉานด้านสุขภาพ (health literacy: HL) และ เปรียบเทียบคุณสมบัติของแบบวัด THLA-W+ ที่คิดคะแนนจาก 3 แบบคะแนนผู้วิจัยใช้แบบวัด THLA-W+ ที่พัฒนาโดย เภสัชกรผดุง จันชูโต (2560) ที่ประกอบด้วยคํา 48 คําพร้อม 4 ตัวเลือกในแต่ละคําเพื่อทดสอบความเข้าใจของตัวอย่างต่อคําในแบบวัด การคํานวณคะแนนทํา ใน 3 แบบคะแนน คือ 1) คํานวณจากการทดสอบการอ่าน (THLA-W+R) 2) คํานวณจากการ ทดสอบความเข้าใจ (THLA-W+C) และ 3) คํานวณจากการทดสอบการอ่านร่วมกับการทดสอบ ความเข้าใจ (THLA-W+RC) การศึกษาครั้งนี้ทดสอบแบบวัดในผู้ป่วยนอกที่เป็นชาวมุสลิม 767 คนของโรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ตัวอย่างตอบแบบวัด THLA-W+ แบบสอบถามวัดตัว แปรที่บ่งชี้ระดับ HL รวมทั้ง Thai Health Literacy Assessment Using Nutrition Label (THLA-N) ผลการศึกษาพบว่า THLA-W+R, THLA-W+C และ THLA-W+RC มีความ เที่ยงสูง 0.982, 0.969 และ 0.969 ตามลําดับ ความตรงของแบบวัดเห็นได้จากการที่ THLA- W+C และ THLA-W+RC สามารถแยกกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันได้ดี และ ดีกว่า THLA-W+R สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนน THLA-W+ ทั้ง 3 แบบกับตัวชี้วัด HL (เช่น ความสามารถในการอ่าน ความเข้าใจเอกสารทางสุขภาพ) เป็นบวกและมีนัยสําคัญทาง สถิติ (r=0.222-0.816) THLA-W+C และ THLA-W+RC มีค่าสหสัมพันธ์ที่สูงกว่า THLA-W+R โดยรวมผู้ที่ตอบเกี่ยวกับตัวชี้วัด HL (เช่น ความสามารถในการอ่าน) ได้ถูกต้องมีคะแนน THLA-W+ สูงกว่าผู้ที่ตอบผิด THLA-W+C และ THLA-W+RC มีความสัมพันธ์กันสูงโดย r = 0.98 การวิเคราะห์โค้ง receiver operating characteristic (ROC) โดยมีความสามารถในการอ่าน ความเข้าใจเอกสารทางสุขภาพ และ THLAN เป็น gold standard พบว่า THLA-W+R มี area under the curve (AUC) เท่ากับ 0.641-0.660 (ขึ้นกับ gold standard) ซึ่งน้อยกว่า AUC ของ THLA-W+C และ THLA-W+RC ซึ่งเท่ากับ 0.820-0.830 และ 0.826-0.832 ตามลําดับ บ่งบอกว่า THLA-W+C และ THLA-W+RC มีความถูกต้องในการ จําแนกระดับ HL ดีกว่า THLA-W+R จุดตัดคะแนนของ THLA-W+R THLA-W+C และ THLA- W+RC คือ 47, 37 และ 37 ตามลําดับ ผลความไวของแบบวัด คือร้อยละ 41.9-46.5, 68.7-78.6 และ 70.7-80.7 ตามลําดับ THLA-W+C และ THLA-W+RC มีความไวมากกว่า THLA-W+R ส่วนความจําเพาะของทั้ง 3 แบบวัดมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 76.21-88.10, 67.96-83.33 และ 66.02-80.95 ตามลําดับ แบบวัดมีค่า positive likelihood ratios (LR+) มากกว่า 1 ซึ่งบ่งบอกว่า แบบวัดมีประโยชน์ในการคัดกรอง THLA-W+ มีความเที่ยงและความตรงในผู้ป่วยมุสลิม การทดสอบควรทําโดย ทดสอบเฉพาะความเข้าใจเพียงอย่างเดียว เพราะทําให้ได้คะแนนที่มีคุณสมบัติการวัดที่ดีกว่า การทดสอบการอ่าน และทําให้กระบวนการทดสอบง่ายขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้บุคลากรในการ ตัดสินการอ่านออกเสียงคํา THLA-W+C มีความไว และความจําเพาะที่น่าพอใจโดยผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 37 ถือว่ามี HL ไม่พียงพอ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม. (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19066 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 575 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
434778.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License