กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19052
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorลัพณา กิจรุ่งโรจน์-
dc.contributor.authorปิยะพร พรหมแก้ว-
dc.date.accessioned2023-11-16T07:17:55Z-
dc.date.available2023-11-16T07:17:55Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19052-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561en_US
dc.description.abstractFatigue is a symptom commonly found in the family caregivers of persons with traumatic brain injury (TBI). They have to manage fatigue in order to maintain their quality of life (QOL). This study aimed to identify the level to fatigue, fatigue management strategies, and level of QOL in the family caregivers of persons with TBI. A sample of 140 caregivers living in a community of upper southern region of Thailand was purposively recruited. Data were collected using the a 5-part questionnaire including (1) Demographic Data of Family Caregivers of Persons with TBI, (2) TBI Patients Demographic Data, (3) Fatigue Symptom of Family caregivers of persons with TBI Questionnaire, (4) Fatigue Management Strategies Questionnaire, and (5) Quality of Life of Family Caregivers of Persons with TBI Questionnaire (Short Form (SF)-36 Health Survey). The questionnaires were examined for validity and reliability. The internal reliability using Cronbach's alpha coefficient of the Fatigue Symptoms of Family Caregivers of Persons with TBI Questionnaire and Quality of Life of Family caregivers of persons with TBI Questionnaire were .76 and 82 respectively. The descriptive statistics were analyzed. The results were as follows: 1. The fatigue of family caregivers overall was at a moderate level (M= 5.31, SD= 0.54). When considering each dimension, the perception/attitude was at a high level (M= 7.72, SD= 0.82), the behavior/severity (M= 5.63, SD= 0.78) and the feeling (M= 5.50, SD= 1.60) were at moderate levels. However, the intelligence and emotion dimension was at a mild level (M=2.84, SD=0.76). 2. All family caregivers used non-medication management to reduce their fatigue consisting of physical and psychological/emotional care. The top three most commonly used fatigue managements were (1) sleep (49.30%), (2) exercise (24.30%), and (3) distraction (21.40%). The reasons for selecting those managements were relaxation, refreshing, and relief of fatigue. They evaluated the effectiveness of fatigue management overall at a moderate to high level. The medication use was rare (3.60%) and used only when they felt worse fatigue. 3. The overall QoL (M-59.50, SD-6.76) and its dimensions including physical (M= 60.66, SD= 9.43) and mental dimension (M= 57.93, SD= 4.69), were at a moderate levels. Considering the item in each dimension, the highest score was for the physical function item (M= 72.68, SD= 1.51) and the lowest score was the limited role due to physical problem item (M= 50.63, SD= 1.80). The results of this study indicate that health professionals should provide information to family caregivers of persons with TBI to manage the physical and behavioral problems in persons after TBI to reduce their anxiety and fatigue. In addition, they should be encouraged to use non-medication methods to manage their fatigue and maintain their QoL when providing long-term care for persons with TBI.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectอาการบาดเจ็บที่สมองen_US
dc.subjectสมอง บาดแผลและบาดเจ็บ การพยาบาลen_US
dc.titleประสบการณ์อาการเหนื่อยล้า การจัดการอาการและคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมองen_US
dc.title.alternativeFatigue Symptom Experience, Symptom Management and Quality of Life Among Family Caregivers of Persons With Traumatic Brain Injuryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing)-
dc.contributor.departmentคณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ-
dc.description.abstract-thอาการเหนื่อยล้าเป็นอาการที่พบได้ในญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง ญาติผู้ดูแลจึงต้อง หาวิธีการจัดการอาการเหนื่อยล้าเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับอาการเหนื่อยล้า วิธีการจัดการอาการเหนื่อยล้า และระดับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแล ผู้บาดเจ็บสมอง โดยศึกษาจากญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมองในชุมชนจังหวัดภาคใต้ตอนบน เลือกกลุ่ม ตัวอย่างเป็นไปตามคุณสมบัติที่กําหนด 140 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง (2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของ ผู้บาดเจ็บสมอง (3) แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง (4) แบบประเมิน การจัดการอาการเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง และ (5) แบบประเมินคุณภาพชีวิตของ ญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง (Short Form (SF)-36 Health Survey) ประเมินคุณภาพของทุก เครื่องมือด้วยการหาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมิน อาการเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแล ผู้บาดเจ็บสมองได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .76 และ 82 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการศีกษาพบว่า : 1. อาการเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 5.31, SD= 0.54) เมื่อจําแนกตามรายด้านพบว่า ความเหนื่อยล้าด้านการรับรู้ เจตคติอยู่ในระดับมาก (M= 7.72, SD= 0.82) ด้านพฤติกรรม/ความรุนแรง (M= 5.63, SD= 0.78) และด้านความรู้สึก (M= 5.50, SD= 1.60) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความเหนื่อยล้าด้านสติปัญญาและอารมณ์อยู่ ในระดับเล็กน้อย (M= 2.84, SD= 0.76) 2. ญาติผู้ดูแลทุกคนมีวิธีการจัดการอาการเหนื่อยล้าด้วยการไม่ใช้ยา ประกอบด้วย การดูแลด้านร่างกาย และด้านจิตใจและอารมณ์โดยวิธีที่แตกต่างกัน วิธีการที่นิยมใช้มากที่สุดสาม อันดับแรก ได้แก่ (1) การนอนหลับพักผ่อน (ร้อยละ 49.30) (2) การออกกําลังกาย (ร้อยละ 24.30) และ (3) การเบี่ยงเบนความสนใจ (ร้อยละ 21.42) โดยให้เหตุผลของการเลือกวิธีการจัดการอาการ ดังกล่าวว่าทําให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และบรรเทาอาการเหนื่อยล้า และประเมินผลลัพธ์ของวิธีการ จัดการอาการเหนื่อยล้าในภาพรวมอยู่ระดับปานกลางถึงมาก สําาหรับการจัดการอาการเหนื่อยล้า ด้วยการใช้ยาพบว่า มีจํานวนน้อยเพียงร้อยละ 3.60 ซึ่งใช้ในกรณีที่มีอาการเหนื่อยล้ามาก 3. คุณภาพชีวิตโดยรวม (M= 59.50, SD= 6.76) และรายด้านคือ ด้านร่างกาย (M= 60.66, SD= 9.43) และด้านจิตใจ (M= 57.93, SD= 4.69) อยู่ในระดับปานกลาง โดยมี คะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในมิติการทําหน้าที่ทางกาย (M= 72.68, SD= 1.51) และคะแนนเฉลี่ยต่ําสุด อยู่ในมิติบทบาทที่ถูกจํากัดจากปัญหาทางกาย (M= 50.63, SD= 1.80) ผลการศีกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่สุขภาพควรให้ข้อมูลแก่ญาติผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมองเกี่ยวกับการรับรู้และการจัดการปัญหาสุขภาพกายและพฤติกรรมของ ผู้ป่วยภายหลังบาดเจ็บสมอง เพื่อลดความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าของญาติผู้ดูแล และ แนะนําการจัดการอาการเหนื่อยล้าด้วยวิธีการไม่ใช้ยาที่เหมาะสม เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิต ของญาติผู้ดูแลขณะให้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองในระยะยาวen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
426561.pdf1.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons