Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19049
Title: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักศาสนาอิสลามต่อพฤติกรรมการรับประทานยาและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมุสลิม
Other Titles: Effect of Behavioral Modification Program Utilizing Islamic Principles on Adherence to Anti-Retroviral Drug Consumption among HIV-infected Muslim Clients
Authors: ผจงศิลป์ เพิงมาก
อัจฉราพร สหวิริยะสิน
Faculty of Nursing (Public Health Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์
Keywords: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี การรักษาด้วยยา;ศาสนาอิสลาม
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This quasi-experimental research aimed to examine the effect of Behavioral Modification Program utilizing Islamic Principles (BMPIP) on adherence to anti-retroviral drug (ARV) consumption among HIV-positive Muslim clients. The study sample comprised 60 HIV- positive Muslim clients, who were purposively selected according to specific inclusion criteria. Subjects were assigned to either experimental or control groups; 30 individuals per group, by matching on sex, age, economic status, and education factors. The experimental group received the BMPIP for 4 weeks, while the control group received usual care. The research instruments included: 1) BMPIP intervention; 2) questionnaires about demographic data, drug consumption and ARV adherence and behavior, including cause of drug deficiency. All instruments were validated for content validity by 3 experts. Its reliability was tested by 20 HIV-positive clients using Croncbach's alpha coefficient, which yielded the value of .84. Data were analyzed using descriptive statistic; dependent paired t-test; as well as independent t-test. Results revealed that the pre-test of mean scores of drug consumption behaviors and of the ARV adherence between the experimental and control group were not statistically significantly different (p > 0.05, t = 1.29 & t = -4.47). However, the post-test mean scores of drug consumption behaviors and of ARV adherence were higher in the experimental group than in the control group (p <.001, t=35.80 &t=16.19). Findings of this study indicated that the BMPIP could motivate HIV-infected Muslim clients to change their drug consumption behaviors and enhance their ARV adherence.
Abstract(Thai): การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักศาสนาอิสลามต่อพฤติกรรมการรับประทานยาและความสม่ําเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ติดเชื้อเอชไอ วีมุสลิมจํานวน 60 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กําหนด และแบ่งเป็นกลุ่ม ควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย โดยการจับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีลักษณะใกล้เคียงกัน มากที่สุดในเรื่อง เพศ อายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ และระดับการศึกษา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักศาสนาอิสลาม 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสม่ําเสมอในการ รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ แบบสอบถามข้อมูลการรับประทานยาและสาเหตุของการขาดยา และแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยา ต้านไวรัสเอดส์ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงในกลุ่มตัวอย่าง 20 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ แบบแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติทีคู่ และสถิติที่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมและคะแนนความสม่ําเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน (p > 05, t = 1.29 และ 1 = -4.47 ตามลําดับ) และหลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมและ ความสม่ําเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p < .001, t = 35.80 และ t = 16.19 ตามลําดับ) ดังนั้น โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักศาสนาอิสลามช่วยกระตุ้นให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมุสลิมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม และสามารถเพิ่มความสม่ําเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ได้ดีขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19049
Appears in Collections:610 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
431080.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons