กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19004
ชื่อเรื่อง: | Development and Psychometric Evaluation of the Moral Commitment Scale for Thai Baccalaureate Nursing Students (MCS-Thai) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | การพัฒนาและการประเมินคุณภาพของแบบประเมินความมุ่งมั่นทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลไทย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Aranya Chaowalit Chutima Perngyai Faculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
คำสำคัญ: | Nursing students Evaluation;Nursing ethics |
วันที่เผยแพร่: | 2018 |
สำนักพิมพ์: | Prince of Songkla University |
บทคัดย่อ: | This study aimed to develop the Moral Commitment Scale for Thai Baccalaureate Nursing Students (MCS-Thai) and evaluate its psychometric properties. The scale development process consisted of two phases: (1) the development of the MCS-Thai. Focus group discussions and literature reviews were used to generate 138 items with a 5-point Likert-scale format and (2) the psychometric evaluations of the MCS-Thai. Content validity index of the MCS-Thai was examined by five experts. The item-level content validity index (I-CVI) ranged from 0.8-1.0. The scale content validity index with universal agreement (S-CVI/UA) was .90 and scale content validity index with average (S-CVI/Ave) was 92. To determine its internal consistency using Cronbach's alpha coefficient reliability, the result was .98. The MCS-Thai was administered to 809 senior baccalaureate nursing students from 10 nursing schools in Thailand. Exploratory factor analysis (EFA) with varimax rotation was performed. The result of EFA was six factors which comprised 81 items. The six factors were labeled as: (1) respect patient's privacy and keeping patient's information confidential (22 items), (2) respect for patients (25 items), (3) providing care equally to each patient (9 items), (4) causing no harm to patients (12 items), (5) doing good for patients (8 items), and (6) telling the truth to patients and healthcare team (5 items). It accounted for 47.7% of variance and factor loadings ranged from .45-68. The internal consistency was determined, yielding an alpha coefficient of .98 for the total scale and ranged from 84-95 of each factor. Hypothesis testing supported construct validity (r = .54, p < .01). The stability reliability of the scale was examined by test-retest method and supported with high correlation (r = .77, p < .01). The MCS-Thai is a valid and reliable instrument which can be used by nursing schools to assess moral commitment of nursing students in order to design nursing education for moral cultivation which will result in high quality nursing practice. |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของแบบประเมิน ความมุ่งมั่นทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล โดยมีขั้นตอนการดําเนินงาน 2 ระยะ คือ (1) ระยะการพัฒนาแบบประเมินโดยการสนทนากลุ่มและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องได้ข้อคําถามจํานวน 138 ข้อ ซึ่งมีมาตรวัดแบบสเกิร์ต 5 ระดับ และ (2) ระยะการประเมินคุณภาพของแบบ ประเมิน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) เท่ากับ .80-1.0 ความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI/LA) เท่ากับ 90 และความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับโดยเฉลี่ย (S-CVI/Ave) เท่ากับ .92 นําแบบประเมิน ไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลจํานวน 30 คน เพื่อหาความสอดคล้องภายใน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .98 เก็บรวบรวมข้อมูลในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย พยาบาลทั่วประเทศจํานวน 10 แห่ง จํานวน 809 คน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวาริแมกซ์ พบว่ามี 6 องค์ประกอบ 81 ข้อคําถาม ดังนี้ (1) เคารพความเป็นส่วนตัวและรักษาข้อมูลที่เป็น ความลับของผู้ป่วย (22 ข้อ), (2) ให้ความเคารพผู้ป่วย (25 ข้อ), (3) ดูแลผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเท่า เทียมกัน (9 ข้อ), (4) ไม่ทําให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย (12 ข้อ), (5) ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นผลดีต่อผู้ป่วย (8 ข้อ), และ (6) ให้ข้อมูลที่เป็นจริงต่อผู้ป่วยและทีมสุขภาพ (5 ข้อ) ทั้ง 6 องค์ประกอบสามารถ อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 47.7 ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ําหนักอยู่ระหว่าง 45-68 โดย แบบประเมินได้ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องภายในทั้งฉบับ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .98 โดย เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบมีค่าระหว่าง 84-95 ทั้งนี้ได้มีการ ประเมินความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการทดสอบสมมติฐานกับแบบวัดการให้คุณค่าเชิงวิชาชีพการ พยาบาล พบว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง (r = 54, p < .01) และทดสอบความเที่ยงของแบบ ประเมินด้วยวิธีการทดสอบช้ํา พบว่ามีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับสูง (r = .77, p < .01) แบบประเมินความมุ่งมั่นทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลมีความตรงและความเที่ยง ซึ่งสถาบันการศึกษาสามารถนําไปใช้เพื่อประเมินความมุ่งมั่นทางจริยธรรมของนักศึกษา พยาบาลเพื่อออกแบบการจัดการเรียนการสอนในการบ่มเพาะจริยธรรมซึ่งจะนําไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูงต่อไป |
รายละเอียด: | Thesis (Ph.D., Nursing (International program))--Prince of Songkla University, 2018 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19004 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 646 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
432166.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License