Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18987
Title: การศึกษาเบื้องต้นในการใช้กากกาแฟเป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติ
Other Titles: Preliminary Study of Using Spent Coffee Ground as filler in Natural Rubber
Authors: นิธินาถ แซ่ตั้ง
นุชจรา บูรเพชร
Faculty of Science (Materials Science and Technology)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ
Keywords: Natural Rubber;Spent Coffee Ground;กาแฟ การใช้ประโยชน์;กาแฟ วัสดุเหลือใช้;ยาง การเสริมแรง
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research was to study the effects of particle size and content of spent coffee ground (SCG) use as efficient filler for indoor flooring foam rubber. The properties of flooring foam rubber were compared with the commercial EVA foam. In this study, influence of the average of particle size at 80 µm and 425 µm with the SCG as filler, epoxidized natural rubber contain 25 and 50% mole of epoxide content (ENR50) as compatibilizer, type of ENR25 and ENR50 were investigated. The results showed that the cure time were increased with reducing the particle size and increasing of SCG content. The mechanical properties i.e., tensile strength, elongation at break and tear strength with a small particle size were 30-50% higher than larger particle size for increased SCG content. Increasing the SCG content provided a longer cure time. Also, the tensile strength, elongation at break, and tear strength tend to decease. Using ENR50 as compatibilizer showed a shorter scorch time, but with longer cure time compared to not using a compatibilizer. Moreover, using compatibilizer improved the tensile strength by 30-50% and tear strengths were higher by 20-15% with increasing the SCG content, respectively. In addition, the type of ENR 25 and ENR50 were studied instead of natural rubber grade STR5L. The ENR50 gave a shorter scorch time but a longer cure time than ENR25 and STR5L. However, ENR50 improved the mechanical properties only 10% higher than ENR25. Therefore, the formula suitable for preparing flooring foam rubber was the ENR25. The blowing agent (Super cell EVA-B3) with 5 phr and SCG 25 phr resulted in a homogenous cell foam with density of 45 kg/m3 Comparing the mechanical properties of foam rubber with the commercial EVA foam (EVA 45), the tensile strength and tear strength of foam rubber between 30-50% higher. In addition, the rubber foam had the compression set change lower than 30%. The result revealed that the rubber foam use SCG as filler had the completion potential with the commercial EVA foam for foam rubber flooring inside the building, and reduce the problem of biomass waste from spent coffee ground.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในศึกษาอิทธิพลของขนาดอนุภาคและปริมาณของกากกาแฟที่ใช้เป็นสารตัวเติมสำหรับโฟมยางปูพื้นภายในอาคาร สมบัติของโฟมยางปูพื้นที่ได้นี้จะเปรียบเทียบกับโฟมอีวีเอเชิงพานิชย์ โดยศึกษาอิทธิพลของขนาดอนุภาคกากกาแฟเฉลี่ยที่ 80 ไมครอน และ 425 ไมครอน พร้อมทั้งใช้สารช่วยผสมเป็นยางธรรมชาติอิพอกไซด์ ร้อยละ 50 และศึกษาชนิดของยางธรรมชาติอิพอกไซด์ ร้อยละ 25 และร้อยละ 50 ผลการวิจัย พบว่าระยะ เวลาการวัลคาไนซ์นานเพิ่มขึ้น เมื่อขนาดอนุภาคเล็กลงและปริมาณกากกาแฟเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อสมบัติเชิงกลได้แก่ ความต้านทานต่อแรงดึง ระยะยืด ณ จุดขาด และความต้านทานต่อการฉีกขาด ที่ใช้ขนาดอนุภาคเล็กจะเพิ่มสูงกว่าขนาดอนุภาคใหญ่ 30–50 % เมื่อปริมาณกากกาแฟเพิ่มขึ้น การเพิ่มปริมาณกากกาแฟทำให้ระยะเวลาในการสุกยาวนานขึ้น รวมถึงเพิ่มค่าความต้านทานต่อแรงดึง ค่าระยะยืด ณ จุดขาด และความต้านทานต่อการฉีกขาดมีแนวโน้มลดลง การใช้ยางธรรมชาติ อิพอกไซด์ร้อยละ 50 เป็นสารช่วยผสมแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาการเริ่มต้นการสุกสั้นลงแต่เวลาการสุกยาวนานกว่าเมื่อเทียบกับการไม่ใช่สารช่วยผสม ยิ่งกว่านั้นการใช้สารช่วยผสมยังช่วยปรับปรุงค่าความต้านทานต่อแรงดึงสูงขึ้น 35-40% และความต้านทานต่อการฉีกขาดสูงขึ้น 20-15% ตามปริมาณกากกาแฟเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ได้ศึกษาชนิดของยางธรรมชาติอิพอกไซด์ร้อยละ 25 และร้อยละ 50 แทนยางธรรมชาติเกรด STR5L ยางธรรมชาติอิพอกไซด์ ร้อยละ 50 ให้ระยะเวลาเริ่มสุกสั้นกว่า แต่ระยะเวลาสุกนานกว่ายางธรรมชาติอิพอกไซด์ ร้อยละ 25 และยางธรรมชาติเกรด STR5L อย่างไรก็ตามยางธรรมชาติอิพอกไซด์ ร้อยละ 50 ปรับปรุงสมบัติเชิงสูง ขึ้นเพียง 10% เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติพอกไซด์ ร้อยละ 25 ดังนั้นสูตรที่เหมาะสมในการเตรียมโฟมยางปูพื้นคือสูตรยางธรรมชาติอิพอกไซด์ ร้อยละ 25 สารฟู (SUPERCELL EVA-B3) ที่ปริมาณ 5 phr ร่วมกับกากกาแฟ 25 phr ทำให้ขนาดเซลล์ของโฟมยางสม่ำเสมอ ให้ความหนาแน่น 45 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเชิงกลของโฟมยางกับโฟมอีวีเอเชิงพานิชย์ (EVA45) โฟมยางเพิ่มสูงกว่าโฟมอีวีเอชนิด EVA45 30–50% และมีสมบัติการเปลี่ยนรูปหลังกดอัดที่ต่ำกว่า 30% ดังนั้นโฟมยางที่เตรียมขึ้นในงานวิจัย แสดงให้เห็นว่าโฟมยางที่ใช้กากกาแฟเป็นสารตัวเติมมีศักยภาพเทียบเคียงกับโฟมอีวีเอทางการค้าสำหรับปูพื้นภายในอาคาร และยังช่วยลดปัญหาขยะชีวมวลจากกากกาแฟ
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18987
Appears in Collections:342 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6010220106.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons