กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18978
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Model of Teacher Development for Continuous Learning of Primary Schools in the Southern Border Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรชา ชูสุวรรณ
ทิศนา แสงระวี
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
คำสำคัญ: การพัฒนาครู;การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง;ภาคใต้ชายแดน;การพัฒนาบุคลากร
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research is research and development. The objective is to develop a model of teacher development for continuous learning of primary schools in the southern border provinces. It consists of the following specific objectives: 1) to analyze the components of continuous learning of teachers; in primary schools of the southern border provinces 2) to create a model of teacher development for continuous learning of primary schools in the southern border provinces and 3) to experiment and evaluate the use and improving a model of teacher development for continuous learning of primary schools in the southern border provinces. The research was divided into three phases as follows: Phase one, to analyze the components of continuous learning of teachers and use mixed method research, using two questionnaires were an in-depth interview; a semi-structured interview and an exploratory component analysis questionnaire. It is an approximate scale of the Likert. The confidence value was .954. The sample group was divided into two groups. The first group were school administrators and primary school teachers in the southern border provinces totally 27 key informants, and the second group, were 530 school administrators and 1,060 teachers of primary schools in the southern border provinces. A sample of 1:10 included a sample of 1,590 people. Phase two, to create a model and use qualitative research by seminar based on experts to confirm a model of teacher development for continuous learning of primary schools in the southern border provinces, nine participants analyzed the data from the inductive conclusion. Phase three, to experiment and evaluate the use and improving a model, and mixed methods research was used to confirm the model with six experts by analyzing content. The results showed that the first phase can analyze the components of teacher development for continuous learning of primary schools in the southern border provinces were categorized into six components, there were 1) encouraging self-learning 2) academic leadership of educational institution administrators 3) using learning channels 4) joining professional learning communities 5) the use of information technology for learning and 6) social support. The second phase, to create a model of teacher development for continuous learning of primary schools in the southern border provinces (TDCL Model) compose of encouraging self-learning; learning to work, problem solving and professional advancement. The academic leadership of educational institution administrators were the main supporting of psychological learning environments, network development and learning cultural. In addition of social support, using learning channels, joining professional learning communities and the use of information technology for learning supporting teacher and educational institution administrators to toward effectiveness and student quality.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนา ครูเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของ ครูของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน และ 3) เพื่อทดลอง ประเมินการใช้ และปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของโรงเรียน ประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของครู เป็นระยะที่ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้ เครื่องมือในการวิจัย 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท มีค่าความเชื่อมั่น .954 กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลปฏิบัติหน้าที่ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัด ภาคใต้ชายแดน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 27 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 530 คน และ ครู 1,060 คน ของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เป็นอัตราส่วนตัวแปรต่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1:10 รวมกลุ่มตัวอย่าง 1,590 คน ระยะที่ 2 การสร้าง รูปแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง แนวทางการพัฒนาครูเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ชายแดน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ระยะที่ 3 ทดลองใช้ ประเมินการใช้ และปรับปรุงรูปแบบ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือในการวิจัย 2 ฉบับ คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ และเอกสารประกอบ การสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบกับผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการพัฒนาครูเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของโรงเรียน ประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเร้าพลังทางการเรียนรู้ ด้วยตนเอง (2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา (3) การใช้ช่องทางการเรียนรู้ (4) การเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (5) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และ (6) การสนับสนุนทางสังคม และ 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของ โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน (TDCL Model) ประกอบด้วย การเร้าพลังทาง การเรียนรู้ด้วยตนเองของครู โดยเร้าความต้องการในการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาในงาน และความก้าวหน้าทางวิชาชีพของครูให้เกิดการยอมรับ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความเป็นผู้นำ ทางวิชาการในการเป็นแบบอย่างทางการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ดี คอยเป็นผู้สนับสนุนหลักสำคัญให้ เกิดการพัฒนาความพร้อมทางสภาพแวดล้อมกายภาพ การสร้างเครือข่ายความร่ว มมือ และ การจัดระบบวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตรอันส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจภายในตนเองของ ครูอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้แล้ว การสนับสนุนทางสังคม การใช้ช่องทางการเรียนรู้ การเข้าร่วม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ส่งผลต่อครูและ ผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา การจัด การเรียนการสอน และคุณภาพผู้เรียน
รายละเอียด: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18978
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:260 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5820130001.pdf5.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons