Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18977
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พลสิทธิ์ ศานติประพันธ์ | - |
dc.contributor.author | นิพพิชญ์ กิ้มแก้ว | - |
dc.date.accessioned | 2023-10-20T07:38:29Z | - |
dc.date.available | 2023-10-20T07:38:29Z | - |
dc.date.issued | 2022 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18977 | - |
dc.description | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า), 2565 | en_US |
dc.description.abstract | This thesis proposes power quality improvement using a unified power quality conditioner (UPQC) in a balanced three-phase system. To improve the calculation of reference voltage and current, the harmonic identification by the power angle control method (PAC) has been developed with sliding window Fourier analysis (SWFA). In this thesis, the enhanced PAC algorithm is designed based on the apparent power control (UPQC-S). This approach is adopted to handle such as source voltage and load current problems. The unit vector template generation (UVTG) with PWM technique is applied to control the compensating voltage of the UPQC. In this work, the predictive controller is applied for the compensating current control on the dq-axis. This control is operated with the SVPWM technique to generate the switching state for the shunt active power filter. The predictive control with the SVPWM can provide good performance for the compensating current injection. The PI controller is used for the DC voltage bus control. The parameters of the PI controller are designed by using the root-locus technique in the z-plane. The proposed control strategy of UPQC is simulated using the processor in the loop (PIL) technique. For this technique, the MATLAB & Simulink program on the host computer is cooperated with the Code Composer StudioTM program for the eZdspTM F23885 board. The simulation results show that the proposed control strategy can mitigate the harmonic current, improve the power factor, and compensate for the voltage variations (sag and swell) in test cases. The performance indices for the power quality improvement are defined in the IEEE standard 519-2014. In addition, the predictive current control is tested to compare the performance of the harmonic current elimination with the SVPWM controller and the PI controller. After compensation, the predictive current control can provide better performance compared with those controllers even though the voltage source and the loads are changed. For the comparison study, the performance index is the percent of the current tracking error between the compensating current and the reference current. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | วงจรปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้ารวม | en_US |
dc.subject | วิธีควบคุมมุมกำลัง | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์แบบฟูริเยร์วินโดว์เลื่อน | en_US |
dc.subject | ตัวควบคุมแบบทำนาย | en_US |
dc.title | การพัฒนาสมรรถนะของระบบควบคุมสำหรับวงจรปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้ารวม | en_US |
dc.title.alternative | The Performance Enhancement of Control Strategy for Unified Power Quality Conditioner | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Engineering Electrical Engineering | - |
dc.contributor.department | คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า | - |
dc.description.abstract-th | งานวิจัยวิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้าด้วยวงจรปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้ารวมสำหรับระบบไฟฟ้าสามเฟสสมดุล การระบุเอกลักษณ์ฮาร์มอนิกด้วยวิธีควบคุมมุมกำลังได้รับการพัฒนาร่วมกับการวิเคราะห์แบบฟูริเยร์วินโดว์เลื่อน เพื่อปรับปรุงสมรรถนะการคำนวณค่าแรงดันอ้างอิงและกระแสอ้างอิง วิธีควบคุมมุมกำลังที่ได้รับการพัฒนาถูกออกแบบบนพื้นฐานการควบคุมค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏ แนวทางดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาแรงดันที่แหล่งจ่ายและกระแสที่โหลดได้ การควบคุมแรงดันชดเชยอาศัยวิธีการควบคุมเวกเตอร์หนึ่งหน่วยทำงานร่วมกับเทคนิคการสวิตช์วิธีพีดับเบิลยูเอ็ม การควบคุมกระแสชดเชยในงานนี้พิจารณาใช้ตัวควบคุมแบบทำนายบนแกนดีคิว การออกแบบตัวควบคุมดังกล่าวพึ่งพาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของวงจรกรองกำลังแอกทีฟแบบขนานบนแกนดีคิว ระบบควบคุมดังกล่าวทำงานร่วมกับเทคนิคการสวิตช์วิธีสเปซ เวกเตอร์พีดับเบิลยูเอ็ม เพื่อสร้างสมรรถนะการสวิตช์สำหรับวงจรกรองกำลังแอกทีฟแบบขนาน การควบคุมแรงดันบัสไฟตรงใช้ตัวควบคุมพีไอ ตัวควบคุมดังกล่าวได้รับการออกแบบในโดเมนเวลาไม่ต่อเนื่องด้วยเทคนิคทางเดินรากบนระนาบซี กลยุทธ์ควบคุมสำหรับวงจรปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้ารวมถูกจำลองสถานการณ์ด้วยเทคนิคโปรเซสเซอร์ในลูป ซึ่งเทคนิคดังกล่าวดำเนินการด้วยโปรแกรม MATLAB/Simulink โปรแกรม Code Composer Studio และบอร์ด eZdspTM F23885 ผลการทดสอบ พบว่า กลยุทธ์ควบคุมที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถกำจัดกระแสฮาร์มอนิก ปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลัง และชดเชยแรงดันทางด้านโหลดกรณีแรงดันตกชั่วขณะและเกินชั่วขณะ ในทุกสภาวะโหลดที่ทำการทดสอบ ค่าดัชนีชี้วัดสมรรถนะอ้างอิงตามกรอบมาตรฐานของ IEEE standard 519-2014 นอกจากนี้ตัวควบคุมแบบทำนายยังได้รับการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการกำจัดกระแสฮาร์มอนิกกับตัวควบคุมแบบวิธีสเปซเวกเตอร์พีดับเบิลยูเอ็ม และตัวควบคุมพีไอ ผลการศึกษาปรากฏว่า ตัวควบคุมกระแสแบบทำนายสามารถควบคุมการฉีดกระแสชดเชยได้ดีกว่า โดยพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างกระแสอ้างอิงและกระแสชดเชย ซึ่งภายหลังการชดเชย พบว่า ตัวควบคุมแบบทำนายให้สมรรถนะการกำจัดกระแสฮาร์มอนิกที่ดีกว่าตัวควบคุมแบบวิธีสเปซเวกเตอร์พีดับเบิลยูเอ็ม และตัวควบคุมพีไอ ถึงแม้ว่าแหล่งจ่ายแรงดันและโหลดของระบบทดสอบจะมีการเปลี่ยนแปลง | en_US |
Appears in Collections: | 210 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6110120052.pdf | 21.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License