Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18248
Title: การสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็งร่วมกับเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี–เฟลมไอออไนเซชั่นสำหรับการตรวจวัดสารปลอมปนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก
Other Titles: Solid Phase Extraction with Gas Chromatography–Flame Ionization Technique for Determination of Pharmacologically Active Adulterants in Slimming Products
Authors: อภิชัย พลชัย
วริยา เกตุแก้ว
Faculty of Science (Applied Science)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
Keywords: สารปลอมปนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา;ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก;การสกัดด้วยตัวดูดซับของเเข็ง;เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The aim of this thesis is to develop a solid phase extraction method with gas chromatography–flame ionization technique for determination of pharmacologically active adulterants, including methamphetamine (MA), caffeine (CAF), sibutramine (SIB), fluoxetine (FLU), and tramadol (TAM) in suspected slimming products. Hydrophilic– lipophilic balance or HLB sorbent material was used for extraction and purification of sample. For Oasis HLB® extraction, a 1.00 mL aliquot of sample was alkalinized to pH 12 and was added with an 15% w/v sodium chloride prior to undergoing solid phase extraction. The sample solution was loaded onto the cartridge which was preconditioned with 1.00 mL methanol and 1.00 mL deionized water. The cartridge was washed with 1.00 mL of 20% (v/v) methanol: water mixture. The target analytes were eluted with 1.00 mL 70% (v/v) methanol: water mixture containing 2% acetic acid and 1.00 mL acetonitrile. Under optimum conditions with gas chromatographic technique, the proposed method provides the extraction efficiency of five pharmacologically active adulterants in the range of 81–113%. All analytes were well separated within 13.9 min. The proposed method provided the linearity at a concentration of 0.5–100 mg L-1 (r2> 0.9987–0.9997) for five pharmacologically active adulterants. Limits of detection and quantification were 0.05–0.09 mg L-1 and 0.15– 0.30 mg L-1, respectively. The intra-day and inter-day precisions were 0.39–9.24% RSD and 0.63–10.88% RSD, respectively. The intra–and inter–day accuracies were 85.36–112.62% and 85.61–106.14%, respectively. The proposed method was then applied for the determination of pharmacologically active adulterants in four different types of slimming products, viz. dietary supplement, herbal slimming product, slimming coffee powder and slimming drink powder. Three slimming products were found to contain SIB in the range of 1.9–248.1 mg L-1 . CAF and FLU were detected in one slimming product. These findings indicate that solid phase extraction method with gas chromatography–flame ionization technique for determination of pharmacologically active adulterants is precise, accurate, and reliable. The sample preparation can clean up sample and provides good extraction efficiency. It would be a useful method to apply in laboratories of the Office of the Consumer Protection and Scientific Crime Detection Center.
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็งร่วมกับการตรวจ วิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-เฟลมไอออไนเซชั่น สําหรับตรวจวัดสารปลอมปนที่มีฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาประกอบด้วยเมทแอมเฟตามีน คาเฟอีน ไซบูทรามีน ฟลูออกซิทีน และทรามาดอลใน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลดน้ําหนักต้องสงสัย ศึกษาโดยใช้การสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็งชนิดไฮโดรฟิลิก ลิโพฟิลิก บาลานซ์ หรือ เอช แอล บี ในการสกัดและกําจัดตัวรบกวนในตัวอย่าง ขั้นตอนการสกัดทํา ได้โดยสารละลายตัวอย่างปริมาตร 1.00 mL ถูกปรับให้เป็นสารละลายที่มีสภาวะเป็นเบส pH เท่ากับ 12 และเติมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 15% (w/v) จากนั้นทําการปรับสภาพของตัวดูด ซับของแข็งด้วยเมทานอลปริมาตร 1.00 mL และน้ําปริมาตร 1.00 ml ตามลําดับ โหลดสารละลาย ตัวอย่างปริมาตร 1.00 mL ลงในตัวดูดซับของแข็ง กําจัดตัวรบกวนด้วยตัวทําละลาย 20% เมทานอล ในน้ําปริมาตร 1.00 mL และตัวอย่างถูกชะด้วยตัวทําละลาย 70% เมทานอลในน้ําผสมกับ 2% กรดอะซิติกปริมาตร 1.00 mL ร่วมกับการใช้อะซิโตไนไตร์ปริมาตร 1.00 mL ภายใต้สภาวะที่ เหมาะสมของการสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็งและการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางแก๊สโครมาโทกราฟี วิธี ที่พัฒนาขึ้นให้ค่าร้อยละประสิทธิในการสกัดสารปลอมปนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 5 ชนิดอยู่ในช่วง และสามารถตรวจวัดสารปลอมปนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้พร้อมกันภายในเวลา 13.9 นาที มีช่วงความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.5-100 mg 1 (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ ในช่วง 0.9987-0.9997) มีค่าขีดจํากัดการตรวจพบในช่วง 0.05-0.09 mg L- และมีค่าขีดจํากัดการ ตรวจวัดเชิงปริมาณในช่วง 0.15-0.30 mg L- ค่าความเที่ยงของการวิเคราะห์ภายในวันเดียวกันและ ระหว่างวันให้ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์อยู่ในช่วง 0.39-9.24% และ 0.63-10.88% 81-113% ตามลําดับ ค่าความแม่นของวิธีภายในวันเดียวกันและระหว่างวันให้ค่าร้อยละการได้กลับคืนอยู่ในช่วง 85.36–112.62% และ 85.61-106.14% ตามลําดับ วิธีที่พัฒนาขึ้นได้นําไปประยุกต์ใช้ในการ ตรวจหาสารปลอมปนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลดน้ําหนักในพื้นที่จังหวัดสงขลา จํานวน 4 ชนิดตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ําหนัก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรลด น้ําหนัก ผลิตภัณฑ์กาแฟลดน้ําหนัก และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ําหนักชนิดชงดื่ม สามารถตรวจ พบสารไซบูทรามีนปลอมปนในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลดน้ําหนักจํานวน 3 ตัวอย่าง มีความเข้มข้นในช่วง 1.9-248.1 mg L1 และยังตรวจพบสารคาเฟอีนและฟลูออกซิทีนในผลิตภัณฑ์ลดน้ําหนักจํานวน 1 ตัวอย่าง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสกัดด้วยตัวดูดซับของแข็งร่วมกับการตรวจวิเคราะห์สารปลอมปนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในผลิตภัณฑ์ลดน้ําหนักด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี เฟลมไอออ ในเชชั่น เป็นวิธีที่มีความถูกต้องและแม่นยําสูง เชื่อถือได้ สามารถกําจัดตัวรบกวนก่อนการวิเคราะห์ ได้ดี ให้ประสิทธิภาพในการสกัดที่ดี และเหมาะสําหรับตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลดน้ําหนักต้องสงสัยในห้องปฏิบัติการในหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและนิติวิทยาศาสตร์
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นิติวิทยาศาสตร์) 2566.
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18248
Appears in Collections:340 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310220054.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons