Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18246
Title: การประเมินผลการจัดการขยะรีไซเคิลพื้นที่ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
Other Titles: Assessment of Recycled Waste Management in Phru-nai Sub-District, Ko-Yao District, Phang-nga Province
Authors: ซอฟียะห์ นิมะ
สาลินี เริงสมุทร
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
Keywords: การประเมินผล;การจัดการขยะรีไซเคิล
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study It is a participatory action research. The purpose of this study was to study of community-based health impact assessment on recycled waste management in Phru Nai Sub-district, Ko Yao District, Phang Nga Province according to the Health Impact Assessment: HIA approach for collaborative learning on policy decision-making. Implementation of various development projects and activities to create equity in health in local communities by studying 4 main steps: 1) screening, 2) scoping, 3) health impact assessment, and 4) review. draft report data collection During October 2018 - April 2019, survey, interview, focus group and data return tools were used to discuss the results respectively. The main informants were (1) policy makers (2) community leaders and (3) people in the area, totaling 30 people. The study results were presented according to the content analysis steps. The results of the study are as follows: The results of reviewing the situation and potential for community waste management from the local development plan (2018-2022), Phru Nai Sub-district, Ko Yao District, Phang Nga Province, and the analysis of the scene (sceneario) of The amount of waste according to the relevant factors are 1) the geography of the island, 2) the size of the receiving area, 3) the number of households, 4) the number of people living on the island, and 5) the number of tourists after the COVID-2019 situation, all affecting the picture. Prospects both positive and negative for the water resources on the island food production marine natural resources ecotourism and overall public health. There was a consensus of the operational network between Phru Nai Sub-district Municipality, Ko Yao District, Phang Nga Province, community leaders, people's sector leaders. and entrepreneurs in the area The meeting considered the need for a health impact assessment based on community concerns. The scope is 1) The operation area covers all 7 villages in Phru Nai Sub-district, Ko Yao District, Phang Nga Province. 2) Both accumulated old garbage and new garbage on a daily basis. 3) Sources of waste management. starting from the beginning, midway, and destination, and 4) creating value from recycled waste at the sub-district level. Pushing for collective decision-making of the community Mainly to reduce the obvious negative impacts such as bad smells and the image of garbage piles on the landscape of tourist areas. with the establishment of a community recycling center Residual waste management at the land fill area and implementing 3R measures at the household level. And a preliminary impact assessment found that 1) the amount of accumulated waste has decreased from the original amount of 10 tons/day in 2017 to 7 tons/day in 2022; Increased to an average value of 1,000-2,500 baht/month. 3) The municipality reduces waste collection expenses and reduces the cost of hiring waste pickers at landfill sites. From the original budget of 2017 to 50,000 baht/month, now 2022 to 30,000 baht/month, and 4) the formation of groups and clubs for nature conservation by youth and leaders at the village level in all 7 villages. The negative effects are As for the middlemen who are responsible for buying antiques, their income has decreased. This is because waste is brought to the recycling process on the island instead of being exported to be sold on shore. Summary and recommendations Preliminary findings from the community-based on recycling waste management It has been found that it is possible to apply the process as a community-driven approach. need to rely on the knowledge base and support from the academic department social activist and public communicator To create a learning process with the community in a direction. to increase the positive impact and minimize the negative impact
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลการจัดการขยะรีไซเคิลพื้นที่ตำบลพรุใน อำเภอ เกาะยาว จังหวัดพังงา การเรียนรู้ร่วมกันต่อการตัดสินใจด้านนโยบาย การดำเนินโครงการและกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น ใช้แนวคิดการประเมินผลดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter for Health Promotion -1986) ทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านการสร้างความเข้มแข็งระดับปัจเจกชน 2) ด้านการสร้างความเข้มแข็งชุมชน 3) ด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 4) ด้านการปรับระบบการบริการและกลไก และ 5) การสร้างนโยบายสาธารณะระหว่างเดือนตุลาคม 2561- เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ใช้เครื่องมือการสำรวจ สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและการคืนข้อมูลเพื่ออภิปรายผลร่วมกันตามลำดับ จากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ (1) ผู้กำหนดนโยบาย (2) ผู้นำชุมชน และ (3) ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 30 คน โดยนำเสนอผลการศึกษาตามขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหา มีผลการศึกษาดังนี้ จากการทบทวนสถานการณ์และศักยภาพในการจัดการขยะชุมชนจากแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และการวิเคราะห์ฉากทัศน์ (scenario) ของปริมาณขยะตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ 1) ด้านภูมิศาสตร์ของเกาะ 2) ขนาดของพื้นที่รองรับ 3) จำนวนครัวเรือน 4) จำนวนประชากรที่อาศัยบนเกาะ และ 5) การรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-2019 ทั้งหมดนี้ มีผลต่อภาพอนาคตทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อแหล่งน้ำบนเกาะ แหล่งผลิตอาหาร ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล นิเวศการท่องเที่ยว และสุขภาวะของประชาชนโดยรวม ได้มีฉันทามติของเครือข่ายการดำเนินงานระหว่างเทศบาลตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ผู้นำชุมชน แกนนำภาคประชาชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ ต่อการประชุมพิจารณาถึงความจำเป็นในการประเมินผลตามข้อกังวลของชุมชนที่เกิดขึ้น โดยกำหนดขอบเขต คือ 1) ด้านพื้นที่ ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 7 หมู่บ้านในตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 2) ด้านประเภทขยะ ทั้งขยะเก่าสะสมและขยะใหม่รายวัน 3) ด้านแหล่งการจัดการขยะ เริ่มตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง และ 4) ด้านการสร้างมูลค่าจากขยะรีไซเคิลในภาพรวมระดับตำบล มีการผลักดันสู่การตัดสินใจร่วมกันของชุมชน เพื่อการปรับลดผลกระทบทางลบที่เด่นชัดเป็นหลัก เช่น กลิ่นเหม็น และภาพกองขยะที่กระทบต่อภูมิทัศน์ของพื้นที่ท่องเที่ยว ด้วยการจัดตั้งศูนย์รีไซเคิลชุมชนขึ้น การจัดการขยะตกค้างที่พื้นที่การฝังกลบ (land fill) และใช้หลักมาตรการ 3R ในระดับครัวเรือน และได้มีการประเมินผลกระทบ ในเบื้องต้น พบว่า 1) ปริมาณขยะสะสมลดลง จากเดิม พ.ศ.2560 ปริมาณ 10 ตัน/วัน ปัจจุบัน พ.ศ.2565 เหลือ 7 ตัน/วัน 2) ครัวเรือนมีการนำขยะไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่า เฉลี่ย 1,000-2,500 บาท/เดือน 3) เทศบาลลดค่าใช่จ่ายในการเก็บขนขยะและลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้คัดแยกขยะในที่ทำการฝังกลบ จากเดิมวงเงินงบประมาณ พ.ศ.2560 เป็นเงิน 50,000 บาท/เดือน ปัจจุบัน พ.ศ. 2565 เหลือ 30,000 บาท/เดือน และ 4) เกิดกลุ่มและชมรมจัดการขยะเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยเยาวชนและแกนนำในระดับหมู่บ้านทั้ง 7 หมู่บ้าน ส่วนผลกระทบเชิงลบคือ ด้านพ่อค้าคนกลางที่ทำหน้าที่รับซื้อของเก่ามีรายได้ลดลง เนื่องจากขยะได้นำสู่กระบวนการรีไซเคิลบนเกาะแทนการส่งออกไปขายบนฝั่ง สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาเบื้องต้นจากการประเมินผลการจัดการขยะรีไซเคิล พบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำกระบวนการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนโดยชุมชน อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานระยะยาวและการสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องอาศัยฐานความรู้และการหนุนเสริมจากภาควิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคม และนักสื่อสารสาธารณะต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้กับชุมชนอย่างมีทิศทาง เพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกและลดทอนผลกระทบเชิงลบให้น้อยที่สุด
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18246
Appears in Collections:148 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910024012.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons