Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18241
Title: การกำหนดอายุของเครื่องปั้นดินเผาและเปลือกหอยน้ำจืดด้วยเทคนิคลูมิเนสเซนซ์ จากแหล่งโบราณคดีเพิงผาทวดตา ทวดยาย จังหวัดสงขลา
Other Titles: Dating of Pottery and Freshwater Shells in Thoud-Ta Thoud-Yai Archaeological Site at Cave Songkhla Province using Luminescence Technique
Authors: ธิดารัตน์ วิชัยดิษฐ
ปิยวรรณ หละตำ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
Faculty of Science and Technology (Science programs)
Keywords: การกำหนดอายุ;เทคนิคลูมิเนสเซนซ์;เครื่องปั้นดินเผา;เปลือกหอยน้ำจืด
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Presumably, Thoud-Ta Thoud-Yai Archaeological Site, Songkhla Province, is a prehistoric archaeological site in southern Thailand. Due to the discovery of numerous archaeological artifacts, including fossil shells, beads, human skeletons, animal bones, and pottery fragments. The objective of this study is to analyze the age of pottery fragments and freshwater fossil shells using luminescence. Both samples were at the same soil depth of 50–60 cm. Using X-ray diffraction (X-ray) to investigate the crystal structure, it was found that the extracted pottery samples had a quartz structure. Freshwater fossil shells are composed of aragonite and calcite. The dating procedure using the luminescence technique is Divided into two parts: accumulated dose and annual dose. In the first section, it was found that the most suitable temperature for age pottery was 180°C, which was determined by the TL technique applied to samples of pottery. The average accumulated dose of the samples was 12.49 ± 0.12 Gy, while that of the OSL pottery samples was 12.56 ± 0.01 Gy. The accumulated dose of freshwater fossil shell samples using the TL technique was best aged at 350 °C. The freshwater shell sample dose was 30.49 ± 0.05 Gy. In the second section, the annual dose of the pottery, samples calculated, and fossil shells from freshwater environments. The concentrations of uranium (U-238), thorium (Th-232), and potassium (K-40) in the sample and its surrounding environment determine this, covering cosmic rays. Using gamma-ray measurement equipment using a high-purity germanium (HPGe) detector and neutron activation analysis, radioactivity was measured. The annual dose for pottery samples was determined to be 1.139 ± 0.113 mGy/year, while that for freshwater shell samples was 3.360 ± 0.200 mGy/year. The following can be used to determine the age of the samples, based on the results of the two analyses mentioned previously: the ages of pottery determined by TL and OSL were 10,930 ±1,090 years and 11,031 ±1,165 years, respectively, while the ages of freshwater shells determined by TL were 9,067 ± 527 years. The ages of pottery and freshwater fossil shells were discovered to be very similar. This is predicated on the assumption that specimens found at the same depth in the soil should have ages that are comparable. Additionally, similar age values corroborate the age of the Thoud-Ta Thoud-Yai archaeological site can also say that it is a real archaeological site in the prehistoric era. The results of these studies can also be connected to the history of southern Thailand, which was the focus of this investigation.
Abstract(Thai): แหล่งโบราณคดีเพิงผาทวดตา ทวดยาย จังหวัดสงขลา สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคใต้ของประเทศไทย เนื่องจากค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมายได้แก่ ซากเปลือกหอย ลูกปัด โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ และเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา งานวิจัยนี้สนใจวิเคราะห์ค่าอายุด้วยเทคนิคลูมิเนสเซนซ์ในตัวอย่างเศษ เครื่องปั้นดินเผาและซากเปลือกหอยน้ำจืด ซึ่งตัวอย่างทั้งสองอยู่ในระดับชั้นดินเดียวกันคือ 50-60 cm เมื่อตรวจสอบโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction, XRD) พบว่าตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาที่สกัดแล้วมีโครงสร้างเป็นผลึกควอตซ์ และตัวอย่างเปลือกหอยน้ำจืดมีโครงสร้างเป็นอะราโกไนต์และแคลไซต์ กระบวนการกำหนดอายุด้วยเทคนิคลูมิเนสเซนซ์ แบ่งเป็นสองส่วนคือ ปริมาณรังสีสะสม และปริมาณรังสีต่อปี ในส่วนแรกพบว่าผลการศึกษาตัวอย่าง เครื่องปั้นดินเผาด้วยเทคนิค TL อุณหภูมิที่ 180 ํC เหมาะสมที่สุดในการกำหนดอายุ โดยค่าปริมาณรังสีสะสมเฉลี่ยของตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 12.49±0.12 Gy และปริมาณรังสีสะสมเฉลี่ยของตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาด้วยเทคนิค OSL มีค่าเท่ากับ 12.56 ± 0.10 Gy ในขณะที่ปริมาณรังสีสะสมของตัวอย่างเปลือกหอยน้ำจืดด้วยเทคนิค TL พบว่าอุณหภูมิที่ 350 ํC เหมาะสมที่สุดในการกำหนดอายุค่าปริมาณรังสีสะสมของตัวอย่างเปลือกหอยน้ำจืดมีค่าเท่ากับ 30.49±0.05 Gy ในส่วนที่สองคือ ปริมาณรังสีต่อปีของตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผา และเปลือกหอยน้ำจืด ซึ่งวิเคราะห์จากปริมาณความเข้มข้นของธาตุยูเรเนียม (U-238) ทอเรียม (Th-232) และโพแทสเซียม (K-40) ของตัวอย่างและสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่าง รวมถึงรังสีคอสมิก โดยวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีด้วยระบบวัดรังสีแกมมาด้วยหัววัดเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) และการวิเคราะห์โดยการอาบนิวตรอน (NAA) พบว่า ปริมาณรังสีต่อปีของตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผามีค่าเท่ากับ 1.139 ± 0.11 mGy/year และของตัวอย่าง เปลือกหอยน้ำจืดมีค่าเท่ากับ 3.360 ± 0.20 mGy/year ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ปริมาณทั้งสองข้างต้นสามารถนำมากำหนดค่าอายุของตัวอย่างได้ดังนี้ เครื่องปั้นดินเผาที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิค TL และ OSL มีค่าอายุเท่ากับ 10,930 ± 1,090 และ 11,031 ± 1,165 years ตามลำดับ และค่าอายุของเปลือกหอยน้ำจืดที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิค TL มีค่าเท่ากับ 9,067 ± 531 years พบว่าค่าอายุของเครื่องปั้นดินเผาและเปลือกหอยน้ำจืดมีอายุที่ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเป็นไปตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ตัวอย่างที่อยู่ในชั้นดินระดับเดียวกันควรมีอายุที่ใกล้เคียงกัน และค่าอายุที่ใกล้เคียงกันนี้ก็สามารถยืนยันอายุของแหล่งโบราณคดีเพิงผาทวดตา ทวดยายได้อีกว่าเป็นแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์จริง ผลการศึกษาเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์ประยุกต์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18241
Appears in Collections:722 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6420320802.pdf9.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons