กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18237
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันดำ Hermetia illucens (Linn.) (Diptera: Stratiomyidae) ที่เลี้ยงด้วยเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารไก่ไข่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparative study on development of black soldier fly, Hermetia illucens (Linn.) (Diptera: Stratiomyidae) reared on agricultural byproducts for use as a protein source in laying hen diet
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกันดา รัตนพันธ์
ชานุชาญ พันธุ์ทอง
คณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
Faculty of Innovative Agriculture and Fisheries (Agricultural Science and Technology)
คำสำคัญ: larval stage;pupal stage;egg production;soybean meal;black soldier fly
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Black soldier fly Hermetia illucens (Linn.) (Diptera: Stratiomyidae) is not both transmitted-disease insects and insect pest. Their larvae feed on dead plant matter and animal carcasses which then decompose these organic materials. Recently, black soldier fly larvae were mass reared for used as animal feed. Study on black soldier fly larvae reared on agricultural byproducts commonly found at Southern Thailand aims to investigate on the suitability of different formula diets from agricultural byproducts for mass rearing of black soldier fly larvae and the suitability of black soldier fly larvae used as protein source replaced in soybean meal of laying hen diet. Seven diet formulas were investigated as 1) palm cake 2) palm cake + banana 3) bran 4) bran + banana 5) bran + palm cake 6) bran + palm cake + coconut pulp and 7) bran + palm cake + coconut pulp + banana. Results present that the most suitable diet formula for black soldier fly larvae rearing with highest total larval weight and largest larval size was bran + palm cake + coconut pulp + banana. Moreover, black soldier fly larvae had shortest larval stage and longest pupal stage when reared on this diet formula. Result of the study on effect of dried powder of black soldier fly larvae used as protein source replaced in soybean meal on potential of egg production and quality of 51-58 weeks old Hy-Line Brown laying hen present that there was not significant difference in the egg production among three laying hen groups fed on different diet formula 1) 50% of soybean meal replaced with dried powder of black soldier fly larvae 2) 100% of soybean meal replaced with dried powder of black soldier fly larvae and 3) 100% soybean meal (control). Laying hen fed on diet with 100% of soybean meal replaced with dried powder of black soldier fly larvae consumed the least amount of food and had significant lower feed conversion ratio than that other group. Result show that quality of egg of laying hen fed on diet mixed with dried powder of black soldier fly larvae was not differed from egg of laying hen fed on common diet with significant darker color of egg yolk.
Abstract(Thai): แมลงวันดำ Hermetia illucens (Linn.) (Diptera: Stratiomyidae) เป็นแมลงที่ไม่นำโรค และไม่เป็นศัตรูพืช ตัวหนอนกินซากพืชและซากสัตว์ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ ปัจจุบัน มีการนำมาเพาะขยายเพื่อใช้ตัวหนอนแมลงวันดำเป็นอาหารสัตว์ในฟาร์ม การศึกษาการเลี้ยงหนอนแมลงวันดำด้วยเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการเลี้ยงหนอนแมลงวันดำให้ได้ปริมาณมาก และผลของการใช้หนอนแมลงวันดำในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยมีทั้งหมด 7 สูตร คือ 1) ขี้เค้กปาล์มน้ำมัน 2) ขี้เค้กปาล์มน้ำมันผสมกับกล้วย 3) รำข้าว 4) รำข้าวผสมกับกล้วย 5) รำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มน้ำมัน 6) รำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มน้ำมันกับกากมะพร้าว และ 7) รำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มน้ำมันกับกากมะพร้าวและกล้วย ผลการศึกษาพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพิ่มน้ำหนักและขนาดของตัวอ่อนแมลงวันดำคือ รำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มน้ำมันกับกากมะพร้าวและกล้วย ทำให้หนอนแมลงวันดำมีน้ำหนักตัวมากที่สุดและมีขนาดลำตัวโตที่สุด นอกจากนี้ยังมีระยะของตัวอ่อนสั้นและมีระยะก่อนเข้าดักแด้ที่ยาวกว่าสูตรอื่น ผลการศึกษาการใช้ผงหนอนแมลงวันดำอบแห้งทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารของไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของไก่ไข่สายพันธุ์ทางการค้า ไฮไลน์ บราวน์ ในช่วงอายุ 51-58 สัปดาห์ พบว่า ไก่ไข่ทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับอาหารสูตรที่ใช้ผงหนอนแมลงวันดำอบแห้งทดแทนกากถั่วเหลือง 50% กลุ่มที่ใช้หนอนแมลงวันดำทดแทนกากถั่วเหลืองทั้งหมด และกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่ปกติซึ่งใช้กากถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีน ให้ผลผลิตไข่เฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยไก่ไข่กลุ่มที่เลี้ยงด้วยหนอนแมลงวันดำทดแทนกากถั่วเหลืองทั้งหมด กินอาหารน้อยที่สุดและมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าการใช้หนอนแมลงวันดำเลี้ยงไก่ไข่ ทำให้ไข่มีสมบัติทางกายภาพไม่แตกต่างกับไก่ไข่ที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติ และมีผลทำให้สีของไข่แดงเข้มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับไข่ที่ได้จากไก่ไข่ที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติ
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18237
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:9322 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6240320103.pdf2.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons