กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18230
ชื่อเรื่อง: แนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตผักเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดเกษตร ม.อ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรณีศึกษา ผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideline for the Development of Vegetable Production Processes in Response to Consumers’ Needs at the PSU Green Market of the Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University: A Case of Flowering White Cabbage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บัญชา สมบูรณ์สุข
เขมินี ทองมา
Faculty of Natural Resources (Agricultural Development)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร
คำสำคัญ: ความต้องการของผู้บริโภค;ผักกาดเขียวกวางตุ้ง;การพัฒนากระบวนการผลิตผัก
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This study aimed to examine the socioeconomic conditions, consuming behaviors, the need levels for marketing mix of flowering white cabbage, farmers’ opinions on practicing following the needs of consumers, and guidelines for the development of flowering white cabbage production processes in response to consumers’ needs consuming flowering white cabbage at the PSU Green Market of the Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University. The quantitative study was conducted with a sample group of 138 consumers consuming flowering white cabbage. Also, the qualitative study was conducted with a sample group of 10 farmers registered as sellers at the PSU Green Market with structured interviews. Descriptive statistics were used for data analysis: mean, percentage, and standard deviation. Inferential statistics were used for the analysis of multiple linear regression. Results of this study indicated for the socioeconomic situations of consumers consuming flowering white cabbage that most consumers finished undergraduate degrees, were Buddhists, and were university staff/lecturers for 65.69%, 94.90%, and 29.70%, respectively. Consumers had average values of age of 37.25 years old and incomes of 29,512. 41 baht/month with expenses of 19,065.22 baht/month. Most consumers for 31.90% bought flowering white cabbage 2-3 times/week or 8-12 times/month with an average of 42.17 baht/time. Consumers for 79.70% felt confident in the chemical safety e.g., insecticides and fertilizers used with vegetables. The study found that the marketing mix affected the needs of consumers consuming flowering white cabbage at selling locations at the highest level (4.32). For farmers’ opinions on practicing following the needs of consumers, the study found that farmers followed the needs of consumers on the issue of selling channels at the highest level (3.92). For the issue of arranging vegetables neatly easy for selecting and selling by practicing following the principles of food sanitation at the highest level (4.09). For problems or obstacles in producing flowering white cabbage of farmers at the PSU Green Market of the Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, the study indicated that the major problems that mostly affected the production of flowering white cabbage were plant diseases and insects for 25.00% which the inferior was the production management problem for 17.19%
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคบางประการของผู้บริโภคผักกาดเขียวกวางตุ้งในตลาดเกษตร ม.อ. (2) ระดับความต้องการต่อส่วนประสมทางการตลาดของผักกาดเขียวกวางตุ้งคุณภาพของผู้บริโภคในตลาดเกษตร ม.อ. (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ผลิตต่อการปฏิบัติตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดเกษตร ม.อ. และ (4) แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตผักกาดเขียวกวางตุ้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดเกษตร ม.อ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคผักกาดเขียวกวางตุ้ง จำนวน 138 คน โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติเชิงอนุมานโดยทำการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหูคูณ และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดจำหน่ายในตลาดเกษตร ม.อ. จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการบริโภคผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีร้อยละ 65.69 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.90 ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัย/อาจารย์ร้อยละ 29.70 รองลงมาประกอบธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 18.80 และพนักงานเอกชน ร้อยละ 15.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 29,512.41 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 19,065.22 บาท ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้งอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ร้อยละ 31.90 และมูลค่าเฉลี่ยในการซื้อต่อครั้ง 42.17 บาท ผู้บริโภคมีความมั่นใจในความปลอดภัยจากสารเคมี ได้แก่ ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีในผักที่จำหน่าย ร้อยละ 79.70 ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อความต้องการผักกาดเขียวกวางตุ้งของผู้บริโภคด้านสถานที่จัดจำหน่ายในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.32) สำหรับความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ผลิตต่อการปฏิบัติตามความต้องการของผู้บริโภคในตลาดเกษตร ม.อ. พบว่าผู้ผลิตได้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้บริโภคในประเด็นด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในระดับมาก (X ̅ = 3.92) และในประเด็นต้องการให้ร้านค้ามีการจัดวางผักเป็นระเบียบ ง่ายต่อการเลือกซื้อและผู้จำหน่ายมีการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารระดับมาก (X ̅ = 09) ในส่วนปัญหาหรืออุปสรรคในการผลิตผักกาดเขียวกวางตุ้งของเกษตรกรในตลาดเกษตร ม.อ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าปัญหาหลักที่มีผลต่อการผลิตผักกาดเขียวกวางตุ้งมากที่สุดคือโรคและแมลงศัตรูพืช คิดเป็นร้อยละ 25.00 รองลงมาคือปัญหาการจัดการด้านการผลิต คิดเป็นร้อยละ 17.19
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18230
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:520 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6110620034.pdf1.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons