กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18220
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influencing Intention to Use Contraceptive Implants Among Pregnant Adolescents in the Lower Southern Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสเพ็ญ ชูนวล
ปภาวรินท์ อินทรเชษฐ
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
คำสำคัญ: Attitude;Contraceptive implants;Fear;Intention;Knowledge;Life goal settings;Perceived behavioral control;Pregnant adolescent;Subjective norms;การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Repeat pregnancy among adolescents is a major problem which affects maternal health, families, and the country. It has been found that the occurrence of repeat pregnancies among adolescents was higher in lower Southern Thailand than in any other region. This cross-sectional study aimed to examine the level of intention to use contraceptive implants and factors influencing the intention to use contraceptive implants among pregnant adolescents. The participants were 319 pregnant adolescents attending antenatal clinics in three secondary care hospitals and one tertiary care hospital in lower southern Thailand. Data were collected using eight questionnaires that dealt with personal information, attitudes toward contraceptive implants, subjective norms relating to contraceptive implants, perceived behavioral control concerning contraceptive implants, knowledge of contraceptive implants, life goal settings, fear of side effects of contraceptive implants, and intention to use contraceptive implants. There were validated by 3 experts and examined using Cronbach’s alpha coefficient in questionnaire 2, 3, 4, 6, 7, 8, yielding values of .71, .83, .75, .94, 87, .89. The reliability of questionnaire 5 was tested using Kuder-Richardson 20 (KR-20) yielding a value of .72. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation test, and simultaneous multiple regression analysis. The result showed that intention to use contraceptive implants was moderate among pregnant adolescents in lower Southern Thailand. Perceived behavioral control toward contraceptive implants was the strongest predictor overall and together with attitude toward contraceptive implants and subjective norm toward contraceptive implants, significantly explained 34.4% of the variance in intention to use contraceptive implants. The results of this study could serve as a basis for developing care programmes to promote intention to use contraceptive implants among pregnant adolescents in lower Southern Thailand.
Abstract(Thai): การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อมารดาวัยรุ่นทั้งด้านสุขภาพ ครอบครัว และประเทศชาติ พบมากที่สุดในภาคใต้ การส่งเสริมความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดแก่มารดาวัยรุ่นตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์เป็นวิธีช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าว การศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิด และปัจจัยทำนายความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการแผนกฝากครรภ์ จำนวน 319 ราย ณ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ 3 แห่ง และระดับตติยภูมิ 1 แห่งในเขตภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม 8 ชุด ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) เจตคติต่อยาฝังคุมกำเนิด (3) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อยาฝังคุมกำเนิด (4) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการฝังยาคุมกำเนิด (5) ความรู้เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด (6) การกำหนดเป้าหมายในชีวิต (7) ความกลัวผลกระทบจาก การฝังยาคุมกำเนิด และ(8) ความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิด ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในแบบสอบถามชุดที่ 2, 3, 4, 6, 7, 8 เท่ากับ .71, .83, .75, .94, 87, .89 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามชุดที่ 5 ทดสอบด้วยสูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 ได้เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในภาคใต้ ตอนล่างอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้ความสามารถใน การควบคุมตนเองต่อการฝังยาคุมกำเนิดเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด และยังร่วมกับเจตคติต่อยาฝังคุมกำเนิด และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อยาฝังคุมกำเนิด ในการอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 34.4 ของความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิด ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปวางแผนการส่งเสริมความตั้งใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่าง
รายละเอียด: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:648 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62104200673.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons