Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18217
Title: ผลของอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis Linnaeus) ต่อการเจริญเติบโตและสีเปลือกของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931)
Other Titles: Effect of Ulva intestinalis Linnaeus supplemented diet on Growth Performance and Shell Color of Litopenaeus vannamei Boone, 1931
Authors: โชคชัย เหลืองธุวปราณีต
ภาวินีย์ กลีบทอง
Faculty of Sciecnce and Technology (Technology and Industries)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม
Keywords: Ulva intestinalis;Litopenaeus vannamei;กุ้งขาว;การเลี้ยงกุ้งขาว
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Marine algae are interested in supplementation in diet for marine shrimp culture for the purpose that it may be benefit to the shrimp growth and may enhance the cooked shrimp color. The effects of gut weed, Ulva intestinalis, supplemented in the diet for rearing the Pacific white shrimp, Litopenaeus vannamei was conducted to study in this research. The diets of 40% protein and 10% lipid were prepared with six different concentrations (0, 6, 12, 18, 24, and 30%) of gut weed, Ulva intestinalis powder. The experimental diets were given to post larvae-30 shrimp (mean initial body weight of 0.12±0.01 g). The experimental shrimp were fed six times a day to apparent satiation with water exchanging every week and weighting at every 2 weeks. After a 12-week cultivation period, the highest final body weight (12.27±0.84 g) and the highest final length (10.97±0.27 cm) was shown in the shrimp fed with 0% gut weed diet (control). During 0-8 weeks, the gained weight of the control group was higher than the shrimp fed with other diets supplemented with gut weed. During 0-2 weeks, the highest specific growth rate (11.75±0.12 % day-1) was presented in the shrimp fed with 0% gut weed supplemented diet and decreased following shrimp culture increased period. Daily feed intake of the shrimp fed with 30% gut weed supplemented diet was the highest throughout the experiment, as well as the feed conversion rate was also the highest. The protein efficiency ratio of the shrimp fed with 0% gut weed supplemented diet was higher than those fed with other supplemented diets during 0-12 weeks. There was no statistical difference in the survival rate of all experimental groups, except at weeks 2-4 and 8-10. At week 2-4, the highest survival rate (80.79±10.33 %) was expressed in the shrimp fed with 6% gut weed supplemented diet, as well as it (92.31±7.69%) was presented in this group at week 8-10. This was higher than those shrimp fed with others. After 12 weeks of shrimp rearing, the shrimp carcass quality was analyzed and the result was 65.68-69.70 % protein, 2.81-3.20 % fat, 6.53-6.80 % fiber, 10.36-7.29 % moisture, and 12.87-10.89 % ash. After rearing, some minerals such as calcium and iron were different in the experimental groups. The calcium content in the shrimp fed with 12-24% gut weed supplemented diet was higher than those fed with other gut weed supplemented diets, while the iron content was lower in the shrimp fed with over 18% gut weed supplemented diets. In the color intensity of cooked shrimp after rearing, the result was that the redness (a*) (p<0.05) in the shrimp fed with gut weed supplemented diets decreased after boiling, while there was no significantly differences in the brightness (L*) and the yellowness (b*), except the shrimp fed with 30% gut weed supplemented diet. However, there was significantly decreased in the yellowness (b*). This study concluded that the supplementation of gut weed, Ulva intestinalis, in the diet of post larva-30 Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) resulted in decreased growth and the redness of the cultured shrimp after cooked.
Abstract(Thai): สาหร่ายทะเลได้รับความสนใจในการเสริมในอาหารเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลด้วยคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการการเจริญเติบโตของกุ้งและช่วยเพิ่มสีของกุ้งที่ปรุงสุก จึงได้ทำการศึกษาผลของการเสริมสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis) ซึ่งเป็นสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่งในอาหารเพื่อเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนร้อยละ40 และไขมันร้อยละ 10 เตรียมอาหารทดลองให้มีความแตกต่างกัน 6 ระดับ (ร้อยละ 0, 6, 12, 18, 24 และ 30) ของผงสาหร่ายไส้ไก่ โดยใช้กุ้งขาวในระยะโพสลาวา 30 (น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยที่ 0.12±0.01 กรัม) โดยให้อาหาร 6 มื้อต่อวัน เป็นการให้อาหารจนอิ่ม มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์และชั่งน้ำหนักทุก 2 สัปดาห์ หลังจากทำการทดลองเสร็จสิ้นในสัปดาห์ที่ 12 กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 0 มีน้ำหนักสุดท้ายสูงที่สุด (12.27±0.84 กรัม) และความยาวสูงสุด (10.97±0.27 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่กลุ่มอื่นในช่วงสัปดาห์ที่ 0-8 อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะมีค่าสูงในช่วงสัปดาห์ที่ 0-2 กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 0 มีค่าสูงที่สุดอยู่ที่ 11.75±0.12 % day-1 และมีค่าลดลงตามระยะเวลาในการเลี้ยงกุ้งที่เพิ่มขึ้น อัตราการกินอาหารของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 30 มีค่ามากที่สุดตลอดการทดลอง เช่นเดียวกับค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของกุ้งกลุ่มนี้มีค่าสูงที่สุดด้วย ในส่วนของประสิทธิภาพการใช้โปรตีนของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 0 มีค่าสูงกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่กลุ่มอื่นในช่วงสัปดาห์ที่ 0-12 ในส่วนของอัตราการรอดตายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นในสัปดาห์ที่ 2-4 และ 8-10 ของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 6 มีอัตราการรอดตายอยู่ที่ร้อยละ 80.79±10.33 และ 92.31±7.69 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ในสัดส่วนอื่น การวิเคราะห์คุณภาพซากของกุ้งหลังเลี้ยงมีปริมาณโปรตีนอยู่ในช่วงร้อยละ 65.68-69.70, ไขมันร้อยละ 2.81-3.20, เยื่อใยร้อยละ 6.53-6.80, ความชื้นร้อยละ 10.36-7.29 และเถ้าร้อยละ 12.87-10.89 แร่ธาตุบางชนิดในตัวกุ้งหลังเลี้ยงพบว่ามีธาตุแคลเซียมของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 12-24 ซึ่งสูงกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่กลุ่มอื่น ขณะที่แร่ธาตุเหล็กลดลงเมื่อกุ้งได้รับอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่มากกว่าร้อยละ 18 ในส่วนของความเข้มสีของกุ้งหลังจากเลี้ยงพบว่าค่าความแดง (a*) (p<0.05) ลดลงหลังต้ม ขณะที่ค่าความสว่าง (L*) และความเหลือง (b*) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติยกเว้นกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสาหร่ายไส้ไก่ที่ร้อยละ 30 ค่าความเหลือง (b*) ของกุ้งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการเสริมสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis) ในอาหารเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ในระยะโพสลาวา 30 ส่งผลให้กุ้งที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตที่ลดลงและค่าของสีในช่วงความแดงของกุ้งลดลงหลังจากปรุงสุก
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง),2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18217
Appears in Collections:732 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6020320606.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons