Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18206
Title: ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการกล่าวซิกรุลลอฮต่อความกลัว ความปวด และเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอดของผู้คลอดมุสลิมครั้งแรก
Other Titles: Effects of Education Program with Recitation of the Zikrullah on Fear, Pain, and Duration of First Stage Labor Among Primiparous Muslims
Authors: สุรีย์พร กฤษเจริญ
นูไรฮัน หิแต
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
Keywords: ความกลัว;ความปวด;ระยะที่ 1 ของการคลอด;โปรแกรมการให้ความรู้;การกล่าวซิกรุลลอฮ;การผดุงครรภ์;การคลอด
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This quasi-experimental research aimed to examine the effect of education program with recitation of the Zikrullah on fear, pain, and duration of first stage labor among primiparous Muslims who were receiving care from an antenatal clinic and delivering at Bannangsata Hospital in Yala province during July 2021 to January 2022. Sixty participants who met the inclusion criteria were equally assigned an experimental group (30 subjects) who received the education program with recitation of the Zikrullah, and a control group (30 subjects) who received usual nursing care. The research instruments comprised three parts, including (1) the intervention, which was the education program with recitation of the Zikrullah, (2) the monitoring instrument, which was the recording recitation of the Zikrullah, and (3) The instruments for data collection consisting of the demographic data, pregnancy information and delivery information, and visual analogue scales (VAS). The intervention instrument and the monitoring instrument were content validated by three experts. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square and independent t-test for demographic data, and comparison of the means of studies variable was evaluated using the independent t-test and the Mann-Whitney U test. The results revealed that: 1. The experimental group had a mean score of fear during in the active phase (M = 51.57, SD = 17.13) statistically significantly less than that of the control group (M = 83.80, SD = 13.15) (t = 8.17, p < .001), and a mean score of fear during in the transitional phase (M = 52.37, SD = 25.90) statistically significantly less than that of the control group (M = 92.17, SD = 9.44) (t = 7.91, p < .001) 2. The experimental group had a mean score of pain during in the active phase (M = 74.03, SD = 13.67) statistically significantly less than that of the control group (M = 84.57, SD = 12.76) (t = 3.08, p < .001), and a mean score of pain during in the transitional phase (Mdn = 91.00, n = 30) statistically significantly less than that of the control group (Mdn = 99.50, n = 30) (U = 304.50, Z = -2.21, p < .05) 3. The experimental group had a duration of the first stage of labor (M = 590.70, SD = 289.19) shorter than that of the control group (M = 653.47, SD = 302.11) (t = .82, p > .05) but the difference was not statistically significant. The results showed that the education program with recitation of the Zikrullah could help to reduce fear and labor pain in the first stage of labor in primiparous Muslims. Thus, the nurses should apply this intervention for primiparous Muslims.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการกล่าวซิกรุลลอฮต่อความกลัว ความปวดและเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอดของผู้คลอดมุสลิมครั้งแรก ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ และแผนกห้องคลอดโรงพยาบาลบันนังสตา จังหวัดยะลา ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 ราย ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการกล่าวซิกรุลลอฮและกลุ่มควบคุม จำนวน 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการกล่าวซิกรุลลอฮ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง คือ แบบบันทึกการกล่าวซิกรุลลอฮในระยะคลอด และ (3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการตั้งครรภ์และข้อมูลการคลอด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือกำกับการทดลองได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการตั้งครรภ์และข้อมูลการคลอดด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ (chi-square test) และการทดสอบด้วยสถิติทีอิสระ (independent t-test) และหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรตามที่ศึกษาด้วยสถิติทีอิสระ (independent t-test) และสถิติแมน-วิทนีย์ ยู (Mann-Whitney U test) สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. ผู้คลอดมุสลิมครั้งแรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (M = 51.57, SD = 17.13) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (M = 83.80, SD = 13.15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.17, p < .001) และมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวในระยะเปลี่ยนผ่าน (M = 52.37, SD = 25.90) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (M = 92.17, SD = 9.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.91, p < .001) 2. ผู้คลอดมุสลิมครั้งแรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (M = 74.03, SD = 13.67) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (M = 84.57, SD = 12.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.08, p < .001) และมีคะแนนความปวดในระยะเปลี่ยนผ่าน (Mdn = 91.00, n = 30) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (Mdn = 99.50, n = 30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 304.50, Z = -2.21, p < .05) 3. ผู้คลอดมุสลิมครั้งแรกกลุ่มทดลองใช้เวลาในระยะที่ 1 ของการคลอดเฉลี่ย 590.70 นาที (SD = 289.19) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้เวลาในระยะที่ 1 ของการคลอดเฉลี่ย 653.47 นาที (SD = 302.11) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t = .82, p > .05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการกล่าวซิกรุลลอฮสามารถช่วยลดความกลัวและความปวดทั้งระยะปากมดลูกเปิดเร็วและระยะเปลี่ยนผ่านในผู้คลอดมุสลิมครั้งแรก ดังนั้นพยาบาลควรประยุกต์ใช้ผลการวิจัยนี้ในการดูแลผู้คลอดมุสลิมครั้งแรก
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18206
Appears in Collections:648 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210420024.pdf8.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons