กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18201
ชื่อเรื่อง: การปรับใช้เศษผ้าในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Upcycling of Fabric Waste to Create Value Added
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
ฮุสนีย์ สาแม
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: เศษผ้า;การสร้างมูลค่าเพิ่ม;การตัดสินใจซ์้อ
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research is mixed methods research. The purpose of this study was to investigate the additional value of rags as well as the decision-making process for purchasing upcycling products. The researcher collected data by conducting in-depth qualitative interviews with entrepreneurs and filling out quantitative research questionnaires. The study included 9 businesses active in value-added fabric waste management and 152 consumers of fabric scrap products. The research sampling was non-specific sampling methods. Data were analyzed using statistics: mean score, percentage, frequency, standard deviation T-test and Anova The results of this study showed that gender differences in the decision-making process for buying second-hand fabric that creating value-added are difference at statistically significant at 0.05, but with different ages and domicile, the decision-making process for buying second-hand fabric that creating value-added is not different. The study could serve as a guideline for policy recommendations from the Environment Agency or other related organizations to promote SME products made from fabric scraps, or the information could be used for marketing to create a purchasing decision process that effectively reaches consumer groups.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ( Mix Method ) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มของเศษผ้า และเพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโดยการสัมภาษณ์ที่เป็นแบบการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กับการตอบแบบสอบถามการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการสำรวจผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการจัดการเศษผ้าในการเพิ่มมูลค่า จำนวน 9 คนและกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าจำนวน 152 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ Anova ผลการวิจัยนี้พบว่า เพศแตกต่างกันกระบวนการตัดสินใจซื้อเศษผ้ามือสองที่ถูกสร้างมูลค่าเพิ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่อายุและภูมิลำเนาแตกต่างกัน กระบวนการตัดสินใจซื้อเศษผ้ามือสองที่ถูกสร้างมูลค่าเพิ่มกลับไม่แตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นแนวทางสำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำนักสิ่งแวดล้อมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมสินค้า SME ที่ผลิตจากเศษผ้าหรือนำข้อมูลไปทำการตลาดในการสร้างกระบวนการตัดสินใจซื้อเพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18201
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6510521063.pdfบทความ207.48 kBAdobe PDFดู/เปิด
6510521063 Full Minor Thesis.pdfMinor thesis597.98 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons