Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18195
Title: การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562) : การศึกษาผลการปฏิบัติและอุปสรรคระยะเริ่มต้นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
Other Titles: Public Participation in Road Safety According to the Department of Land Transport Regulations Issue 3 (2019) : A Study of Results and Obstacles in the Initiation Phase in Muang District, Phatthalung Province
Authors: สมพร คุณวิชิต
ทศวรรณ ธรรมเพชร
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
Keywords: การมีส่วนร่วมของประชาชน;ความปลอดภัยบนท้องถนน;ระเบียบการขนส่งทางบก;Public Participation;Road Safety;Land Transport Regulations
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims to examine factors that affect participation of the people in enhancing road safety. The sample size for this study was 400 residents in Muang District, Phatthalung Province. Data were collected using a survey questionnaire. Data were then analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and multiple regression. According to the findings, the most significant factor influencing public participation in road safety enhancement is road safety conscience. This is followed by a monetary incentive for reporting violations of associated laws and a sense of social responsibility. As a result, any strategy or plan for improving road safety should begin with fostering a sense of social responsibility and road safety consciousness. This might be supplemented by offering a monetary incentive for reporting risky commuter conduct. All of these strategies can help people alter their mindsets and, as a result, improve their road safety behaviors.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างวินัยและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า จิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการสร้างความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนมากที่สุด (ß = 0.339) รองลงมา ได้แก่ แรงจูงใจในรูปแบบของเงินรางวัลจากการแจ้งเบาะแสและการรายงานพฤติการณ์การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์และการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 (ß = 0.299) และความตระหนักรู้ในพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสังคม (ß = 0.138) ตามลำดับ ผลการวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า การกำหนดนโยบายหรือวางแผนงานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ควรมุ่งเน้นไปที่ การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเสริมด้วยการสร้างแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแสพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย มาตรการเหล่านี้จะนำไปสู่การปรับกรอบความคิดและตามมาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของประชาชนนั่นเอง
Description: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18195
Appears in Collections:465 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความวิจัย 6410521514.pdf204.88 kBAdobe PDFView/Open
สารนิพนธ์ 6410521514.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons