กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18183
ชื่อเรื่อง: สมบัติทางกลและทางความร้อนของซิลิคอนคาร์ไบด์พรุนและวัสดุผสมเนื้ออะลูมิเนียมเสริมแรงด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์ที่สังเคราะห์จากไม้ยางพารา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mechanical and thermal properties of porous SiC and Aluminum matrix composite reinforce with SiC synthesized from Rubber wood
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง สมบัติทางกลและทางความร้อนของซิลิคอนคาร์ไบด์พรุนและวัสดุผสมเนื้ออะลูมิเนียมเสริมแรงด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์ที่สังเคราะห์จากไม้ยางพารา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นภิสพร มีมงคล
สุธรรม นิยมวาส
เจษฎา วรรณสินธุ์
Faculty of Engineering Industrial Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คำสำคัญ: โลหะผสมอะลูมินัม;ซิลิกอนคาร์ไบด์;ไม้ยางพารา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purpose of this research is to study processing and testing of aluminum matrix composites reinforced with silicon carbide from rubber wood. Biomorphic Sic was synthesized from natural rubber wood. In this study it can be divided into 2 processes. Firstly (i), the process of producing the aluminum -silicon carbide composites. This process was composed of 4 steps. The first step is carbonization process. The rubber wood was pyrolyzed to produce porous carbon. In the second step, porous carbon was coated with silica from sol-gel process. The result of this process was C/SiO3 composite material. In the third step, The reaction of carbothermal reduction was implemented at temperatures up to 1600 °C under Ar-atmosphere. The result of this process was a porous silicon carbide/carbon. In the last step, squeeze casting method was implemented by infiltrated molten aluminum into the porosity of biomorphic Silicon carbide/carbon. For squeeze casting process, casting factor alignment as axial sample or radial samples was set to be different testing condition to the infiltration of aluminum into porous carbon. Secondly (ii), the testing of aluminum-SiC composites was studied by physically analyzing, electrical properties, thermal conductivity properties, mechanical properties and ANOVA . The results shown that the aluminum -Sic composites contains carbon 49.13%, aluminum 36.94% and silicon 8.21% respectively. The result electrical properties and thermal conductivity properties shown that the result of electrical property and thermal conductivity shown that the composite in radial sample evidences electrical property and thermal conductivity better than axial sample. The results of mechanical properties are comprised of wear and hardness testing indicated that the composite in Radial sample exhibits better wear resistance than axial sample. Moreover, it can be found from holding time factor that hardness of Radial sample was decreased when increasing the holding time. Lastly, hardness testing value was analyzed by analysis of variance and found that sample direction was greatly affected to the hardness confidence level (a = 0.05).
Abstract(Thai): โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและทดสอบวัสดุผสมเนื้ออะลูมิเนียมเสริมแรงด้วยซิลิกอนคาร์ไบด์พรุนจากไม้ยางพารา ในโครงการวิจัยนี้ได้ทำการ สังเคราะห์ไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติกลายเป็นซิลิกอนคาร์ไบด์พรุน ในการศึกษาได้แบ่งการวิจัยเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือ การผลิตวัสดุผสมซิลิกอนคาร์ไบด์เสริมแรงด้วยเนื้อ อะลูมิเนียม สำหรับกระบวนการผลิตวัสดุผสมแบ่งออกเป็น 4 กระบวนการประกอบด้วย 1) กระบวนคาร์บอนไนเซชั่น เป็นกระบวนการเปลี่ยนสภาพจากไม้ยางพาราเป็นแท่งถ่านพรุน 2) กระบวนการเคลือบผิวถ่านพรุนด้วยซิลิกาที่ได้มาจากกระบวนการโซล-เจล ผลที่ได้จากกระบวนการนี้คือ วัสดุผสมคาร์บอน/ซิลิกา 3) กระบวนการคาร์โบเทอร์มอลรีดักชั่น เป็น กระบวนการสังเคราะห์ที่อุณหภูมิสูง 1600 องศาเซลเซียส ผลจากกระบวนการนี้ได้เป็นวัสดุผสมซิลิกอนคาร์ไบด์/คาร์บอนพรุน และ 4) กระบวนการหล่ออัด (Squeeze casting) คือกระบวนการ หล่อเพื่อให้อะลูมิเนียมเหลวแทรกซึมเข้าสู่รูพรุน ผลที่ได้คือวัสดุผสมเน้ออะลูมิเนียมเสริมแรงด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์/คาร์บอน และได้กำหนดเงื่อนไขในการทดลองของทิศทางโครงสร้างแนว รัศมีและทิศทางโครงสร้างแนวแกน ซึ่งจากกระบวนการนี้มีผลทำให้เนื้ออะลูมิเนียมแทรกซึมเข้าสู่ช่องว่างของรูพรุนภายในของ SiC/C ในส่วนที่สอง เป็นการทดสอบสมบัติของวัสดุผสมโดยทำการวิเคราะห์ทาง กายภาพ วิเคราะห์ค่าความหนาแน่นและการวิเคราะห์แยกธาตุ ทดสอบความต้านทานการนำไฟฟ้า การนำความร้อน ความสึกหรอและความแข็ง ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่ามีส่วนประกอบของ ธาตุคาร์บอน 49.13 เปอร์เซ็นต์ อะลูมิเนียม 36.94 เปอร์เซ็นต์ และซิลิกอน 8.21 เปอร์เซ็นต์ จากผลของการทดสอบความสึกหรอและความแข็งพบว่าชิ้นงานโครงสร้างทิศทางแนวรัศมีมีสมบัติที่ ดีกว่าชิ้นงานโครงสร้างทิศทางแนวแกน ระยะเวลาเผาแช่พบว่า ความแข็งของโครงสร้างแนวแกน มีความแข็งลดลงเมื่อเพิ่มระยะเวลาในการเผาแช่ สมบัติการนำความร้อนและความสึกหรอพบว่า โครงสร้างภายในของวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการสังเคราะห์มีผลต่ออัตราความสึกหรอมาก และปริมาณธาตุคาร์บอนที่ได้จากการสังเคราะห์ส่งผลกระทบต่อค่าการนำความร้อน หลังจากรนั้นนำค่าความแข็งที่ได้จากการทดสอบนำ มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ พบว่าปัจจัยทิศทางโครงสร้างและระยะเวลาเผาแช่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งที่อย่างมีนัยสำคัญ (a =0.05)
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18183
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/247598
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:228 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น