Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18175
Title: การแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในแปลงข้าวจังหวัดปทุมธานีและการตอบสนองเชิงป้องกันของข้าว (Oryza sativa L.) ต่อไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne graminicola
Other Titles: Distribution of Plant-Parasitic Nematodes in Pathum Thani's Rice Fields and Defensive Response of Rice (Oryza sativa L.) Against Meloidogyne graminicola
Authors: ธนัญชนก ไชยรินทร์
ณัฐธิเดช บี่สา
Faculty of Natural Resources (Pest Management)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช
Keywords: ข้าว โรคและศัตรูพืช;ไส้เดือนฝอยรากปม
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Rice (Oryza sativa L.) is a vital economic crop of Thailand; both for exportation and household consumption. In central plain of Thailand, Pathum Thani province has been recorded as one of the most important places for rice cultivation, with rice cultivation area about 55% of the total area and rice production up to 0.2 million tons per year. High population densities of the plant-parasitic nematodes appearance leading to yield loss of rice. Therefore, the objectives of this study were (1) to identify species of predominant plant-parasitic nematodes and their distribution in Pathum Thani's rice fields, and (2) to evaluate the defensive response of rice against M. graminicola infestation. Forty-two soil and rice root samples were collected from seven districts of Pathum Thani province including Nong Suca, Thanyaburi, Lam Luk Ka, Khong Luang, Meung, Sam Khok and Lat Lum kaeo. Consequently, plant-parasitic nematodes were extracted, counted and identified by morphological and molecular characters by using specific primers. The result showed that the predominant plant-parasitic nematodes highly found in all rice fields were Hirschmanniella sp. (96.54%) and Meloidogyne sp. (3.22%). The morphological characters of Hirschmanniella sp., body length ranged from 1,639. 2,329 um, stylet length was 24-27 um and an obvious mucron at the end of terminus. Likewise, molecular identification based on PCR technique by using D2A/D3B and rDNA2DNA1.58s were 98 % similarity with H. mucronata from Cambodia's population. For morphological identification of root-knot nematodes, body and stylet lengths of second stage juveniles were 427-501 um and 13.1-15.7 pm, respectively and the tail character was conoid, male body length was 1,060-1,734 μm, stylet length was 18-22 μm, tail character was bluntly rounded, the perineal patterns of the root-knot nematodes were generally oval shaped without lateral lines and smoothly cuticular matched with M. graminicola. Molecular identification based on PCR technique with three different primer sets including rDNA2/1.58s, CF/1108 and SCAR-MgFW/SCAR-MgRev showed DNA fragments with size of 490, 520 and 650 bp, respectively. Phylogenetic tree based on 188-ITS1-5.88 genes illustrated that the root-knot nematodes found in this study were M. graminicola with 97% similarity to the population of root-knot nematodes from rice fields of Madagascar. Therefore, the predominant plant-parasitic nematodes found in Pathum's Thani rice fields were H. mucronata and M. graminicola. Six rice cultivars including Khao Dawk Mali 105 (KDML105), Pathum Thani 1 (PT1), San-Pah-Tawng 1 (SPT1), Rice Department No. 6 (RD6), Rice Department No. 43 (RD43), and Rice Department No.57 (RD57) were evaluated for their resistance levels to M. graminicola (RKN). The result showed that RD6 proved to be the most response against root-knot nematodes among six rice cultivars, with lowest number of gall index. However, gall numbers and number of nematodes inside rice roots at 14 days were not significant difference with SPT1 and PTI cultivars, respectively. Likewise, defense-related enzymes of RD6 cultivar including phenylalanine ammonia lyase, peroxidase and polyphenol oxidase significantly increased during 2 and 3 days after nematode inoculation (nematode infection periods). On the other hand, the enzyme activities in KDMI.105 (susceptible cultivar) were not significantly different between RKN inoculation and un-inoculation during 1-4 days after nematode inoculation. This study illustrated that RD6 was the most response against M. graminicola among evaluated six rice cultivars.
Abstract(Thai): ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศไทยทั้งในแง่การส่งออกและการบริโภคภายใน ครัวเรือน จังหวัดปทุมธานีเป็นแหล่งการปลูกข้าวที่สําคัญแห่งหนึ่งเนื่องจากร้อยละ 55 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวและสามารถผลิตข้าวได้ถึง 0.2 ล้านตันต่อปี การพบประชากรไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในแปลงข้าวเป็นจํานวนมากสามารถนําไปสู่ความเสียของหายผลผลิตข้าวได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ 1. ศึกษาการแพร่ระบาดและระบุชนิดของไส้เดือนฝอย ศัตรูพืชหลักในแปลงข้าวจังหวัดปทุมธานี และ 2. ศึกษาการตอบสนองเชิงป้องกับของข้าวต่อการ เข้าทําลายของไ เดือนฝอยรากปม ทําโดยเก็บตัวอย่างดินและรากข้าวจานวน 42 ตัวอย่างจากอําเภอ หนองเรือ ลูกกา ธัญบุรี คลองหลวง เมือง สามโคก และลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มาแยก ไส้เดือนฝอยแล้วนับจํานวนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จากนั้นทําการระบุชนิดไส้เดือนฝอยศัตรูพืช โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิคทางชีววิทยาด้วยการใช้ไพรเมอร์ที่มีความจําเพาะ เจาะจง (specific primers) ผลพบว่ามีการระบาดของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช 2 ชนิดเป็นหลักในทุก ภe choiella sp. (96.54 เปอร์เซ็นต์) และ Meloidogyne sp. (3.22 เปอร์เซ็นต์) การจำแนกไส้เดือนฝอย Hirschwowwiella sp. พบว่ามีความยาวลําตัวประมาณ 1,639 2329 ไมโครเมตร ความยาวของ stylet อยู่ในช่วง 24-27 ไมโครเมตร บริเวณส่วนหางพบดิ่งใสที่ เรียกว่า mucrose และจากการยืนยันด้วยเทคนิคทางชีววิทยา โดยการใช้ไพรเมอร์ D2A3B และ TDNA2/DNA1.58% พบว่าลําดับนิวคลีโอไทด์ของไส้เดือนฝอยมีความเหมือนกับไส้เดือนฝอย H. mucronata จากประเทศกัมพูชา มากกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogwe sp. พบว่าตัวอ่อนระยะที่ 2 มีความยาวลําตัวเท่ากับ 427-501 ไมโครเมตร stylet มีความยาวเท่ากับ 13.1- 15.7 ไมโครเมตร บริเวณหางเป็นรูปกรวย (conoid) ตัวโตเต็มวัยเพศผู้มีความยาว ตัวเท่ากับ 1,060-1,734 ไมโครเมตร stylet ยาว 18-22 ไมโครเมตร บริเวณหางมีลักษณะโค้งมน (bluntly rounded) ลักษณะรอยหยักส่วนกัน (perineal pattern) ของตัวโตเต็มวัยเพศเมียเป็นวงรี ผิวหนังเรียบ และไม่มี lateral lines ซึ่งเป็นลักษณะของ M. graminicola การใช้เทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์จํานวน 3 คู่ ได้แก่ TDNA2/rDNA1.58s, C,F/110s และ SCAR-MgFW/SCAR-Maker พบว่ามี ขนาดดีเอ็นเอเท่ากับ 490, 520 และ 650 คู่เบส ตามลําดับ ซึ่งลําดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 188-1781- 1.588 มีความเหมือนกับไส้เดือนฝอย M. graminicola มากกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ไส้เดือนฝอย ศัตรูพืชที่พบเป็นหลักในแปลงข้าวจังปทุมธานีคือ H. murroute int M. grandlove การศึกษาการตอบสนองของข้าวทั้ง 6 พันธุ์ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105, ปทุมธานี 1, สันป่าตอง 1, 16, 143 และ 57 ต่อการเข้าท้าลายของไส้เดือนฝอย M. graminicola ผลพบว่า ข้าวพันธุ์ กข6 เป็นข้าวที่มีการตอบสนองมากที่สุดเนื่องจากมีดัชนีการเกิดปมที่สุด แต่อย่างไรก็ ตามพบว่าจ่านวนปมไม่มีแตกต่างทางสถิติกับข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 และจํานวน1 เดือนฝอยในราก ไม่แตกต่างทางสถิติกับข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 อีกทั้งยังพบว่าข้าวพันธุ์ กข6 มีกิจกรรมของเอนไซม์ที่ เกี่ยวข้องกับความต้านทานของพืช ได้แก่ phenylalanine ammonia Iyase, peroxidase และ polyphenol oxidase เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 และ 3 วันหลังจากปลุก ไส้เดือนฝอยรากปม ในขณะข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอมากที่สุด (ขาวดอกมะลิ 105) ไม่พบความแตกต่าง ทางสถิติในช่วง 1 ถึง 4 วันที่มีการเข้าทําลายของไส้เดือนฝอย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าข้าว พันธุ์ 6 เป็นพันธุ์ข้าวที่มีตอบสนองต่อการเข้าท้าลายไส้เดือนฝอยรากปม M. grassicola มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวที่ถูกประเมินทั้งหมด
Description: วิทยานิพนธ์ ( วท.ม. (โรคพืชวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18175
Appears in Collections:535 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
448159.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons