Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18146
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | The research program of developing local economy using community-based research during Covid-19 Pandemic in three Southern border provinces and four lower districts of Songkhla Province of Thailand aimed to manage and support all sub-projects to be carried out with efficiently and effectively in 3 dimensions; job management. people management and knowledge management. The second objective was to synthesize knowledge from all sub-project with community-based research to be the knowledge that can explain the problem characteristics of different target groups in each sub-project, conditions of occurring problems, and methods/processes to solve the problers. The last objective was to extend the knowledge to public and resulting in the policy formulation of the relevant organizations. All sub-projects were conducted in 17 areas of the 3 southern border provinces and the 4 lower districts of Songkhla province. There were 316 target groups consisting of underprivileged families, poor people, unemployed people, local fishermen, and agriculture. Data were collected by interviewing using a semi-structured questionnaire and focus group from the mentoring team about management and supporting sub-projects under the 5M concept, consisting of 1) Manpower 2) Money 3) Materials and Equipment 4) Methods or processes and 5) Management. Frequency, percentage, mean, and standard deviation were used for quantitative analysis. Content analysis and descriptive analysis were used for qualitative analysis. The activities conducting were coordinated with the organizations both inside and outside the area to provide the knowledge on various issues that the target group were interested in. There were 11 organizations such as Pattani coastal aquaculture research and development center, Pattani rice seed center, department of agricultural technology and fishery, Prince of Songkla University, Pattani campus, and Sukirin district agricultural office, etc. The result of data synthesis from 7 sub-projects showed the changing of the target groups in various aspects. Firstly, changing in income, it was found that there were 3 projects showing the target group had clearly increased their incomne and there were two projects that had showri a slight increase their income, such as the project of a study of management and the utilization of fishery resources to strengthen the foundation economy: case study on shell culture around concrete pillars to slow down waves in Tunyongpao Village, Takamcham Subdistrict, Nongchick District, Pattani Province showed that the target group had the income in average per person per month before and after the project conducting was 2,804 Baht and 3,215 Baht, respectively. Secondly, the utilization of resources in the community, it was found that 3 projects clearly demonstrated the utilization of resources in the community, 2 projects clearly demonstrated the management of resources in the community, and 1 project demonstrated the indirect utilization of resources in the community, such as the project of expanding area to plant vegetables together on the community public space of Baan la Chu Ra Community, Mamong, Sukirin, Narathiwat, Thailand used 20 Rai of public space sharing with the people in community to plant vegetables and the community established one land-sharing agreement. Thirdly, gaining of knowledge and potential, it was found that the community showed the gaining of potential of working within a group, the community had gain the knowledge to create the production costs, and the communities becamne to be more potential of self-reliant, etc. Lastly, empowerment, it was found that the target group had more experience in finding the market, sharing the yields, more opportunities to access community enterprises or community savings cooperatives, etc. Furthermore, all sub-research projects had returned the research founding and the research knowledge to public. The government office of some areas would use the process from the current research project to be included in their work plan to expand the idea/concepts to neighboring areas in the next chance, such as the Kosit subdistrict administrative organization, Tak Bai, Narathiwat is going to bring the processes and concepts of career support from the research project to apply to other communities in the area. | - |
dc.contributor.author | มายือนิง อิสอ | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:46:02Z | - |
dc.date.available | 2023-05-12T06:46:02Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18146 | - |
dc.identifier.uri | https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/1032893 | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาเศรษฐกิจ ไทย (ภาคใต้) | en_US |
dc.subject | ไทย (ภาคใต้) ภาวะเศรษฐกิจ | en_US |
dc.title | ชุดโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอตอนล่าง ของจังหวัดสงขลา | en_US |
dc.title.alternative | A research program of local economy development by community-based research on Covid-199 pandemic situation of three Southern Border provinces and four lower districts of Songkhla province, Thailand | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Sciecnce and Technology (Mathematics and Computer Science) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ | - |
dc.description.abstract-th | ชุดโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอตอนล่าง ของจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อบริหารจัดการและสนับสนุนให้โครงการวิจัยย่อยทุกโครงการให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยดำเนินการใน 3 มิติ คือ การบริหารจัดการงาน การบริหารจัดการคน และการบริหารจัดการความรู้ 2) เพื่อสังเคราะห์ความรู้จากโครงการวิจัยย่อยทุกโครงการด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เป็นความรู้ที่สามารถอธิบายถึงลักษณะปัญหาของกลุ่มเป้าหมายที่แตกกต่างกันในแต่ละโครงการย่อย เงื่อนไขที่ทำให้เกิดปัญหา และวิธีการ/กระบวนการแก้ปัญหา 3) เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์ความรู้ดังกล่าวไปขยายผลให้เป็นความรู้สาธารณะให้เกิดผลทางนโยบายระดับต่าง ๆ โครงการวิจัยย่อยทั้งหมดได้ดำเนินการใน 17 พื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอตอนล่างจังหวัดสงขลา มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มครอบครัวด้อยโอกาส กลุ่มคนยากจน กลุ่มคนตกงาน กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน และกลุ่มเกษตรกรชาวนาจำนวน 316 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และถอดบทเรียนทีมพี่เลี้ยงชุดประสานประเด็นการบริหารจัดการ และหนุนเสริมโครงการย่อย ภายใต้แนวคิด 5 M ประกอบด้วย 1) คน (Manpower) 2) เงิน (Money) 3) วัสดุและอุปกรณ์ (Material) 4) วิธีการหรือกระบวนการ (Method) และ 5) การบริหารจัดการ (Management) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหานำเสนอข้อมูลโดยการบรรยายพรรณนา การดำเนินกิจกรรมมีการประสานกับหน่วยงานทั้งใน และนอกพื้นที่มาให้ความรู้ในเรื่องประเด็นต่าง ๆ ที่ชุมชนสนใจทั้งหมด 11 หน่วยงาน เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปัตตานี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดปัตตานี สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และสำนักงานเกษตรอำเภอสุคิริน เป็นต้น ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลจาก 7 โครงการย่อย เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายดังนี้ 1) ด้านรายได้ พบว่า มีจำนวน 3 โครงการที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวน 2 โครงการที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น โครงการศึกษาการบริหารจัดการและการนำทรัพยากรประมงมาใช้ประโยชน์เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาการเพาะเลี้ยงหอยบริเวณแนวเสาคอนกรีตชะลอคลื่น บ้านตันหยงเปาว์ จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนก่อนและหลังดำเนินโครงการ คือ 2,804 บาท และ 3,215 บาท ตามลำดับ 2) ด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน พบว่า มีจำนวน 3 โครงการที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวน 2 โครงการที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการทรัพยากรในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด และมีจำนวน 1 โครงการที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชนแบบทางอ้อม เช่น โครงการขยายพื้นที่ปลูกพืชผักร่วมกันบนพื้นที่สาธารณะชุมชนบ้านไอจือเราะ ตำบลโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีการใช้ที่ดินสาธารณะจำนวน 20 ไร่ และชุมชนได้กำหนดกติกาข้อตกลงการใช้ที่ดินร่วมกัน 1 ฉบับ 3) ด้านความรู้ และศักยภาพของชุมชน พบว่า ชุมชนมีศักยภาพในการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น ชุมชนมีความรู้ในการสร้างต้นทุนการผลิตมากขึ้น และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งตนเองมากขึ้น เป็นต้น และ 4) ด้านการเสริมพลัง พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีประสบการณ์การหาตลาดมากขึ้น มีการแบ่งปันผลผลิต และมีโอกาสเข้าถึงวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ของชุมชนมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละโครงการวิจัยย่อยได้ขยายผลความรู้และข้อค้นพบสู่สาธารณะ บางพื้นที่มีหน่วยงานของรัฐรับไปบรรจุในแผนการทำงานของหน่วยงานในการขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียงในโอกาสต่อไป เช่น อบต.โฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสจะนำแนวทางการส่งเสริมอาชีพในรูปแบบงานวิจัยไปใช้กับชุมชนอื่น ๆ ในตำบล | en_US |
Appears in Collections: | 746 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.