กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18130
ชื่อเรื่อง: ศึกษาแนวทางการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ด้วยแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้างในจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Study of Modern Business Management Approaches Based on the Concept of Value Chain and Sustainable Development Goals (SDGs) of Construction Material Shop Entrepreneur in Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
สุทธิดา ยามา
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ร้านวัสดุก่อสร้าง;แนวทางการจัดการ;ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain);หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Research on Modern business management approach with value chain concept and sustainable development principles (SDGs) of construction materials shop entrepreneur in Songkhla province. The purposes of this study were: 1) To present a modern business management approach with the value chain concept and sustainable development principles. 2) To study the relationship between value chain concept and sustainable development principles that affect business outcomes. Qualitative Research data was achieved by interviewing six building material providers in Songkhla province and to study how providers apply the value chain concept and sustainable development principles to their businesses. The above data leads to the Quantitative Research which was studied to find out how the business management was determined from 200 building material providers in Songkhla province. Descriptive data analysis using percentage, frequency distribution, mean and standard deviation and inferential analysis by T-test, One-way ANOVA and Multiple Regression Analysis at 0.05 significance level. The study found that Entrepreneurs focus on the use of value chain concept and sustainable development principles (SDGs) to proritise the customer as, customers play an important part in generating sales and the most profit for the business. Analysis of business outcomes revealed that the use of value chain concept in the five main activities and sustainable development principles in four social dimensions delivered expected business results which based on the balanced scorecard strategy. According to the above information, this study can be used as a guideline for the modern business management of building materials providers to grow sustainably.
Abstract(Thai): งานวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ด้วยแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้างในจังหวัดสงขลา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อนำเสนอแนวทางทางการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ด้วยแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) (2) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีผลต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ จากผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้างในจังหวัดสงขลาจำนวน 6 คน เพื่อศึกษาหาเป้าหมายการใช้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ และนำไปสู่การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อหาแนวทางการจัดการธุรกิจ จากผู้ประกอบการร้านวัสดุก่อสร้างในจังหวัดสงขลาจำนวน 200 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยอัตราร้อยละ (Percentage) การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าT (T-test), การทดสอบค่า F (F-test) โดยเป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หรือระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการให้ประเด็นความสำคัญกับการใช้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในด้านลูกค้า เพราะลูกค้ามีส่วนสำคัญในการสร้างยอดขายและสร้างกำไรต่อธุรกิจมากที่สุด การวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางธุรกิจ พบว่า การใช้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่าในกิจกรรมหลักทั้ง 5 กิจกรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสังคม 4 มิติ ส่งผลลัพธ์ทางธุรกิจตามหลัก Balanced Scorecard จากข้อมูลข้างต้นจึงสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ของร้านวัสดุก่อสร้างให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18130
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6410521063.pdf1.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons