Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18103
Title: | ชนิดและปริมาณขยะบริเวณชายหาดจากกิจกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต |
Other Titles: | Types and Amount of Beach Litter from Tourism Activties in Phuket |
Authors: | จันทินี บุญชัย กมนรัตน์ ทองนวล Faculty of Technology and Environment คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม |
Keywords: | การจัดการชายฝั่ง;ขยะชายหาด;ดัชนีความสะอาด;องค์ประกอบขยะชายหาด;การจัดการขยะ |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This study aims to collect qualitative and quantitative data related to beach litter from tourism activities in Phuket and suggest management methods that are appropriate to the context of the beaches in Phuket. The researcher conducted a random sampling of litter at Nai yang, Surin, Kamala, Patong, Karon Yai and Kata Yai beaches between March – May 2019. The study site was divided into two parts namely the beachfront (the water line to the vegetation area) and the back of the beach (the areas that are covered by vegetation and man–made structure). The analysis provided the total amount of litter and density per square meter, the Clean–Coast Index (CCI), physical characteristics, and perspetives of the beach operators. The results in this study recorded a total of 145 categories of litter which can be grouped into 9 types. From 5,455 items collected from the study areas, plastic was the most abundant item (81.37%) with cigarette butts being the highest in number, followed by nylon rope, plastic scrap, plastic packaging, and bags respectively. The beach with the highest Clean–Coast Index (CCI) or “very dirty” classification was the back of Kata Yai beach (92.59) with the average density of beach litter being 4.63 items per m2. This study supports the measures to reduce single use plastic consumption and smoking in the beach area especially in the recreation zone behind the beach. There shoud be sorting areas for various types of waste such as cigarette butts or recyclable items namely plastic water bottles, rubber shoes, aluminum cans, glass or ceramics. There should be a separation of trash collection in the community. Local authorities and responsible organizations should implement clear zoning for activities and organize staff or volunteer groups to clean the area on a daily basis. Signages and awareness events should be provided and publicized in the beach area to promote sustainable management of tourism and natural resources. |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะที่ตกค้างบริเวณชายหาดในจังหวัดภูเก็ต และเสนอแนะวิธีการ บริหารจัดการขยะบริเวณชายหาดที่เหมาะสมต่อบริบทของหาดในจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างขยะที่ตกค้างบริเวณชายหาด 6 แห่ง ได้แก่ หาดในยาง หาดสุรินทร์ หาดกมลา หาดป่าตอง หาดกะรนใหญ่และหาดกะตะใหญ่ ในเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ หน้าหาด (แนวน้ำขึ้น – ลงถึงพืชปกคลุมชายหาด) และหลังหาด (บริเวณมีพืชปกคลุมหรือแนวไม้ยืนต้น จนถึงสิ่งก่อสร้าง) โดยศึกษาปริมาณชนิด ประเภท ความหนาแน่นของขยะ (items/m2) ดัชนีความสะอาดของหาด (Clean – Coast Index: CCI) และการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบหน้าหาด รวมทั้งลักษณะทางกายของชายหาด จากการศึกษา พบขยะทั้งหมด 9 ประเภท 145 ชนิด จำนวน 5,455 ชิ้น ขยะที่พบมากที่สุด ได้แก่ ประเภทพลาสติก จำนวน 4,439 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 81.37 ซึ่งชนิดของขยะ ที่พบมากที่สุด คือ ก้นบุหรี่ เชือกไนล่อน เศษชิ้นส่วนพลาสติก และซองบรรจุภัณฑ์พลาสติก ตามลำดับ ซึ่งบริเวณที่มีความหนาแน่นของขยะ และค่าดัชนี CCI มากที่สุด หรือสกปรกที่สุด ได้แก่ หลังหาดกะตะใหญ่ พบขยะ 4.63 items/m2 ซึ่งมีค่า CCI อยู่ในเกณฑ์สกปรกมาก (92.59) ผลการศึกษานี้สนับสนุนมาตรการลดการใช้พลาสติก และการสูบบุหรี่ในบริเวณหาด การกำหนดพื้นที่ในการทิ้งขยะชนิดต่าง ๆ เช่น ก้นบุหรี่ หรือขยะ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้โดยตรง เช่น ขวดน้ำพลาสติก รองเท้า กระป๋องอลูมิเนียม แก้ว/เซรามิค เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณหลังหาดซึ่งมักพบขยะตกค้างมากกว่าบริเวณหน้าหาด นอกจากนี้ หน่วยงานท้องถิ่นและองค์กรที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายและโครงการสนับสนุนการแยกขยะบริเวณชายหาด การแยกการเก็บขนจากขยะชุมชน การจัดโซนการทำกิจกรรมบริเวณชายหาดอย่างชัดเจน มีเจ้าหน้าที่มาทำความสะอาดบริเวณชายหาดเป็นประจำทุกวัน มีป้ายรณรงค์และกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ทั่วพื้นที่ชายหาด เพื่อส่งเสริมการจัดการการท่องเที่ยว และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
Description: | วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18103 |
Appears in Collections: | 978 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6030221013.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License