Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18102
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษบง ชัยเจริญวัฒนะ-
dc.contributor.authorกิตติ ใจสมุทร-
dc.date.accessioned2023-04-25T06:23:10Z-
dc.date.available2023-04-25T06:23:10Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18102-
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565en_US
dc.description.abstractThe objectives of this study were 1) to study the conditions and important factors that caused conflicts between patients and public health service providers of government hospitals in the three southern border provinces; 2) to analyze the nature of conflict resolution in both successes and failures between clients and public health service providers of government hospitals in the three southern border provinces; 3) to suggest appropriate guidelines for managing conflicts between patients and public health service providers of government hospitals in the three southern border provinces. This study used a qualitative research method and in-depth interviews were applied. Proper key informants were selected. They were: 1) the director or the deputy director of the hospital. 2) the Head of the Hospital Mediation Center or an assigned person; 3) the hospital's mediation negotiating officials. The results of the study revealed that the causes of conflicts were service behavior, medical treatment, communication skills, and the management of conflicts in medical and public health services of four government hospitals in the three southern border provinces. In this study, every hospital has its policy to manage conflicts constructively in a peaceful way. Furthermore, all hospital directors have similar visions and methods for conflicts solving. They give priority to prevention and surveillance to prevent conflicts. In case any conflict arises, they will have a negotiating team to settle the conflict and very flexible on conflict management by allowing the community to participate in the conflict management process. All hospitals have adopted the concept of a no-fault compensation system to compensate for the damage caused by the service recipients or patients who received health care services. Recommendations from this study indicated that every hospital should encourage to have a strong community network. The knowledge and skills of the mediation team should be developed. The needs of the service recipients should be studied when they come to the hospital.Hospital administrators and health officials must understand the nature of conflicts. The system for receiving complaints needs to be effectively developed. Additionally, hospitals should offer the training program for medical personnel to perform better communication skills when they deal with patients.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectความขัดแย้งen_US
dc.subjectการจัดการความขัดแย้งen_US
dc.subjectโรงพยาบาลของรัฐen_US
dc.subjectจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.titleการจัดการความขัดแย้งด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeConflict Management of Medical and Public Health Services of Government Hospitals in the Three Southern Border Provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Management Sciences (Public Administration)-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์-
dc.description.abstract-thการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งกรณีที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ได้รับมอบหมาย 2) ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ไกล่เกลี่ยของโรงพยาบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยของโรงพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุความขัดแย้งเกิดจาก พฤติกรรมบริการ การรักษาพยาบาล และทักษะการสื่อสาร สำหรับการจัดการความขัดแย้งด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 4 แห่ง โดยที่ทุกโรงพยาบาลมีนโยบายในการจัดการความขัดแย้ง เชิงสร้างสรรค์โดยสันติวิธี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยเน้นการป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และหากเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว ก็จะมีทีมเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อยุติความขัดแย้งลงได้โดยเร็ว และมีความยืดหยุ่นในการจัดการความขัดแย้ง โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้ง และทุกโรงพยาบาลได้นำแนวคิดระบบชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดมาใช้ เพื่อเยียวยาความเสียหายที่ผู้รับบริการหรือผู้ป่วยได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุข และข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรส่งเสริมให้ทุกโรงพยาบาลมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง ควรมีการพัฒนาความรู้และทักษะของทีมนักเจรจาไกล่เกลี่ย ควรมีการศึกษาความต้องการของผู้รับบริการเมื่อต้องมาโรงพยาบาล ผู้บริหารและบุคลากรในโรงพยาบาลต้องเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ และโรงพยาบาลควรจัดอบรมให้กับบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับทักษะการสื่อสารที่ดีกับผู้ป่วยen_US
Appears in Collections:465 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410521502.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons