Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18098
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ | - |
dc.contributor.author | หทัยกาญจน์ ถาวรสุข | - |
dc.date.accessioned | 2023-04-25T04:35:57Z | - |
dc.date.available | 2023-04-25T04:35:57Z | - |
dc.date.issued | 2022 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18098 | - |
dc.description | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์, 2565) | en_US |
dc.description.abstract | This quasi-experimental research aimed to test the effect of an educative program using multimedia integrating relative support on Postpartum Hemorrhage Preventive Behaviors in Primiparous Mothers. The sample consisted of 60 primiparous mothers attending the antenatal department at a community hospital in Yala Province between June 2020 and August 2020. Sixty participants who met the inclusion criteria were equally divided into an experimental group (30 subjects), who received the educative program using multimedia integrating relatives’ support, and a control group (30 subjects), who received usual nursing care. The instruments for data collection consisted of 2 parts: 1. The interventional instruments were (1) a teaching plan of postpartum hemorrhage prevention, and (2) multimedia of postpartum hemorrhage prevention. 2. The instruments for data collection consisted of (1) personal information for primiparous mothers questionnaire, (2) personal information for relatives questionnaire, (3) prevention behavior of postpartum hemorrhage assessment form consisted of three parts: (3.1) self-care behavior for prevention anemia during pregnancy for prevention postpartum hemorrhage questionnaire, (3.2) self-care behavior for prevention postpartum hemorrhage before childbirth observation, (3.3) self-care behavior for prevention postpartum hemorrhage during 2 hours after childbirth observation, (4) relatives’ support behavior for prevention of postpartum hemorrhage questionnaire, and (5) mother’s satisfaction with relatives’ caring behaviors for preventing postpartum hemorrhage questionnaire. Instruments were examined for content validity by 3 experts yielding content validity indices of .93, 1, .87, .93, and 1, respectively. The reliability of self-care behavior for prevention anemia during pregnancy for prevention postpartum hemorrhage questionnaire, the relatives’ support behavior for prevention of postpartum hemorrhage questionnaire, and the mother’s satisfaction with relatives’ caring behaviors for preventing postpartum hemorrhage questionnaire using Cronbach’s alpha coefficient yielded values of .89, .83, and .85, respectively. The observations of self-care behavior for prevention postpartum hemorrhage before childbirth and self-care behavior for prevention postpartum hemorrhage during 2 hours after childbirth observation using Inter-rater reliability yielded a value equal to .87, respectively. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation for demographic data, and the hypotheses were tested using the independent t-test. The results revealed that the experimental group after receiving the educative program using multimedia integrating relatives’ support had a mean score of postpartum hemorrhage preventive behaviors (M = 30.23, SD = 2.40) significantly higher than the control group (M = 26.93, SD = 1.96) (p < .01) The results showed that the educative program using multimedia integrating relatives’ support can promote postpartum hemorrhage prevention behavior in primiparous mothers, and its use should be promoted among pregnant women and postpartum mothers to reduce the risk of postpartum hemorrhage. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด | en_US |
dc.subject | การสนับสนุนจากญาติ | en_US |
dc.subject | การให้ความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการสนับสนุนจากญาติต่อพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในมารดาครรภ์แรก | en_US |
dc.title.alternative | The Effects of Educative Program Using Multimedia Integrating Relatives’ Support on Postpartum Hemorrhage Preventive Behaviors in Primiparous Mothers | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy) | - |
dc.contributor.department | คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ | - |
dc.description.abstract-th | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการสนับสนุนจากญาติต่อพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในมารดาครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์และแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ถึงเดือนสิงหาคม 2563 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการสนับสนุนจากญาติ 30 ราย และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ (1) แผนการสอนเรื่องการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และ (2) สื่อมัลติมีเดียเรื่องการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาครรภ์แรก (2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ (3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ (3.1) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะซีดในระยะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด (3.2) แบบสังเกตพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดในระยะรอคลอด (3.3) แบบสังเกตพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด (4) แบบสอบถามพฤติกรรมการสนับสนุนของญาติในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาครรภ์แรกต่อพฤติกรรมการดูแลของญาติในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด เครื่องมือที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .93, 1, .87, .93, และ 1 ตามลำดับ หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะซีดในระยะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด แบบสอบถามพฤติกรรมการสนับสนุนของญาติในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และแบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาครรภ์แรกต่อพฤติกรรมการดูแลของญาติในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด โดยใช้ค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .89, .83, และ .85 ตามลำดับ และหาค่าความเที่ยงจากการสังเกตระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater reliability) ของแบบสังเกตพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดในระยะรอคลอด และแบบสังเกตพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือดังกล่าวเท่ากับ .87 เท่ากันทั้งสองชุด วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการสนับสนุนจากญาติมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด (M = 30.23, SD = 2.40) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 26.93, SD = 1.96) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการสนับสนุนจากญาติ สามารถช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในมารดาครรภ์แรกได้ จึงควรนำไปใช้กับหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด | en_US |
Appears in Collections: | 648 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6010420052.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License