Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18077
Title: การพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมการฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดภาคใต้ชายแดน
Other Titles: Development Motor Ability by Co-ordination Program of Elementary School Students in Southern Border Provinces
Authors: นัทธี บุญจันทร์
ธีระดนัยษ์ สาระภี
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
Keywords: Motor Ability;ทักษะการเคลื่อนไหว;Co-ordination;การฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research is an experimental research The objective is Development Motor Ability by Co-ordination Program of Elementary School Students in Southern Border Provinces to compare motor ability before and after training using Co ordination Program of Elementary School Students in Southern Border who have been trained with exercise. training programs and to compare motor ability of Elementary School Students between using Co-ordination Program of Elementary School Students with students doing movement activities in the normal physical education class. The samples used in the research is an elementary school student Age between 7-9 years studying in Grade 2, Semester 2, Academic Year 2021 Second semester, academic year 2021, Muang Pattani School, Muang District, Pattani Province. a total of 36 people with a simple random sampling, 36 people were divided into a control group of 18 people and an experimental group of 18 people. The research tools are Co-ordination Program. A standard statistical test of physical fitness ability used to analyze the data including mean, percentage, standard deviation and t-test dependent. The research found that. 1. Development Motor Ability by Co-ordination Program of Elementary School Students in Southern Border Provinces on the development of motor ability, principles for motor ability, core exercises for children and Development Motor Ability by Co-ordination The experts assessed activities that focus on the interaction of the Co-ordination eye-hand, eye-foot, with an accuracy of 0.89. 2. Comparative results of motor ability before and after training using by Co-ordination Program of Elementary School Students in Southern Border Provinces that has been trained with exercise programs It was found that male students who practiced using Co-ordination Program (experimental group) Average flexibility of motor ability (Sit and Reach), agility (Shuttle Run), strength (Standing Board Jump), Muscular endurance (30-Second Sit-ups), and speed (50-Meter Sprint) in all items, a statistically significant difference was found at the .05 level for female students, it was found that motor ability in all items were statistically significantly different at the .05 level 3. Comparison results motor ability of elementary school students between students who use development motor ability by Co-ordination Program with students doing movement activities in the normal physical education class it was found that the back motor ability to be trained for 8 weeks of male students Male students performing movement activities in normal physical education classes (control group) and male students who practiced using Co-ordination Program (experimental group) There is an average of each item flexibility (Sit and Reach), strength (Standing Board Jump), and Muscular endurance (30-Second Sit-ups) no statistically significant difference was found at the .05 level. Except agility (Shuttle Run), and speed (50-Meter Sprint) that found a statistically significant difference at the .05 level. For the female students in both groups, there was an average of the motor ability in each item strength (Standing Board Jump), and Muscular endurance (30-Second Sit-up) and agility (Shuttle Run) no statistically significant difference was found at the .05 level, except for speed (50-Meter Sprint)
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกการ ทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัด ภาคใต้ชายแดน เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการฝึกโดยใช้โปรแกรมการฝึก การทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ใน จังหวัดภาคใต้ชายแดนที่ได้รับการฝึกการฝึกการออกกำลังกายด้วยโปรแกรม และเพื่อเปรียบเทียบ ทักษะการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ระหว่างนักเรียนที่ใช้โปรแกรมการ ฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อกับนักเรียนที่ทำกิจกรรมการเคลื่อนที่เคลื่อนไหว ในคาบเรียนวิชาพลศึกษาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุระหว่าง 7-9 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ควบคุม จำนวน 18 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการฝึก การทำงานร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แบบทดสอบระดับความสามารถสมรรถภาพทาง กายมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาโปรแกรมการฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย การพัฒนาทักษะการ เคลื่อนไหว, หลักการสำหรับทักษะการเคลื่อนไหว, หลักสำคัญการออกกำลังกายสำหรับเด็ก และการ พัฒนาการประสานงานการเคลื่อนไหว โดยผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินกิจกรรมที่เน้นเป็นการทำงาน ร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ตากับมือ ตากับเท้า 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการฝึกโดยใช้โปรแกรมการฝึกการ ทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัด ภาคใต้ชายแดน ที่ได้รับการฝึกการออกกำลังกายด้วยโปรแกรม พบว่า นักเรียนชายที่ทำการฝึกโดยใช้ โปรแกรมการฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (กลุ่มทดลอง) มีค่าเฉลี่ยทักษะ การเคลื่อนไหวด้านความอ่อนตัว (นั่งงอตัว), ด้านความคล่องแคล่วว่องไว (วิ่งเก็บของ), ด้านความแรง ระเบิดของกล้ามเนื้อ (การกระโดดไกล), ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อ (ลุก-นั่ง 30 วินาที) พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านความเร็ว (วิ่ง 50 เมตร) พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับนักเรียนหญิง พบว่า ทักษะการเคลื่อนไหวในทุกรายการ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ระหว่างนักเรียนที่ใช้โปรแกรมการฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อกับนักเรียนที่ ทำกิจกรรมการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวในคาบเรียนวิชาพลศึกษาตามปกติพบว่า ทักษะการเคลื่อนไหว ภายหลังที่จะได้รับการฝึกออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยทักษะการเคลื่อนไหวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านความคล่องแคล่วว่องไว (การวิ่งเก็บของ) และด้านความเร็ว (การวิ่ง 50 เมตร) ส่วนด้านความอ่อนตัว (นั่งงอตัว), แรงระเบิดของกล้ามเนื้อ (การกระโดดไกล), และด้านความ อดทนของกล้ามเนื้อ (ลุก-นั่ง) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ นักเรียนหญิง พบว่า ทักษะการเคลื่อนไหวภายหลังที่จะได้รับการฝึกออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยทักษะการเคลื่อนไหวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกรายการ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18077
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6220120602.pdfThesis ธีระดนัยษ์ สาระภี2.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons