กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18076
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์สำหรับคนกรีดยางพารา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an Ergonomic Risk Assessment Model for Rubber Tappers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: องุ่น สังขพงศ์
สุธีร์ อินทร์รักษา
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คำสำคัญ: การยศาสตร์;แบบประเมินความเสี่ยง
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Risk assessment for the Musculoskeletal disorder (MSDs) by observation is popular and widely used. However, appropriate tool that can assess for all working factors and working environments is limited. Therefore, this research focuses on applying ergonomic principles to rubber tapping with two main objectives: (1) to analyze the factors affecting the fatigue of rubber tappers and (2) to develop a tool to assess the risk of rubber tappers. The results of the analysis revealed that the factors affecting the fatigue of rubber tapping were cutting height, inclination of plantation area and stroke of rubber tapping. The Ergonomic Risk Assessment tool in Rubber Tappers (EART) was developed accurately isolate without the need for cumbersome tools. The reliability analysis of the EART revealed that the Inter-rater reliability and Intra-rater reliability fall in very good level. The EART assessment tool is fullprove and able to identify the rubber tapping person with back pain and without back pain (p-value < 0.001).
Abstract(Thai): การประเมินความเสี่ยงสำหรับอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal disorder: MSDs) โดยใช้การสังเกตเป็นที่นิยมและใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถประเมินได้ทุกการทำงานเนื่องจากปัจจัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานแตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้น การนำหลักการทางการยศาสตร์ มาประยุกต์ใช้กับการกรีดยางพาราโดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้าของคนกรีดยางพาราและ (2) เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์สำหรับคนกรีดยางพารา ผลการวิเคราะห์พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้าของคนกรีดยางพาราคือ ระดับความสูงในการกรีด ความเอียงของพื้นที่สวนยางพาราและการกระตุกข้อมือกรีดยางพารา สำหรับการพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงโดยวิธีทางการศาสตร์โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยใช้สมการตัวคูณ(Multiplier Equation) และพัฒนาเป็น แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์สำหรับคนกรีดยางพารา (Ergonomics Risk Assessment Tool in Rubber Tappers : EART) โดยเครื่องมือที่ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้มีความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน สำหรับการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบประเมิน EART พบว่า การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน (Inter rater reliability) และการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นภายในผู้ประเมิน (Intra rater reliability) พบว่าอยู่ในระดับดีมาก แบบประเมิน EART นี้ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายและสามารถระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่ออาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่าง (MSDs) จากการกรีดยางพาราและสามารถแยกคนกรีดยางพาราที่มีอาการปวดหลังและไม่มีอาการปวดหลังได้อย่างถูกต้อง ที่ความเชื่อมั่น 99% (p-value < 0.001)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (วิศวกรรมอุตสาหการและระบบ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18076
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:228 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6110130011.pdf9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons