กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18064
ชื่อเรื่อง: บทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในวรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Role of Father and Mother Characters in Prathomsuksa 1-3 Thai Literary Textbooks
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณนะ หนูหมื่น
พรนภา อิงสถิตธนวันต์
Faculty of Liberal Arts (Languages and Linguistics)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์
คำสำคัญ: การทำหน้าที่;บทบาทของตัวละครพ่อและแม่;วรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทย;การดำเนินชีวิตในวรรณกรรม
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this research was to examine the roles of father and mother characters in the Language for Life, Pasa Patee Series of the Prathomsuksa 1-3 Thai Literary Textbooks. The research’s scope was on the roles of the father and mother characters in 40 stories narrated in the textbooks provided by the Office of the Basic Education Commission (OBEC), the Ministry of Education. Documentary research was employed, and the data were represented in the form of descriptive analysis. According to the results, the textbooks present parental roles through the father and mother characters in three areas: 1) the family area in which the father and mother characters are role models for young people to be good Thai citizens, that is, to help society and act following democratic principles; 2) the society area in which the father and mother characters are role models for young people to choose a good occupation; 3) the father and mother characters as role models for young people to be good family members. The father character, in particular, is depicted as the family leader, whereas the mother character takes care of the family. Additionally, the father and mother characters act as educators of their family, and their roles are undoubtedly consistent with society’s desirable characteristics. Not only do the textbooks reveal the fascinating parental roles through the father and mother characters, but they also incorporate interesting presentation strategies of the content, which is in form of Thai poetry and idioms to arouse Prathomsuksa 1-3 students’ interest, and of some ideological subsets. Regarding the ideological subsets, the Philosophy of Sufficiency Economy is incorporated into the textbooks for students to apply to daily living, whereas the knowledge of love and unity is linked to the desirable characteristics discovered by the researcher. Moreover, the textbooks instill a set of ideas of respect and love for the monarchy, which is the heart of the Thai people, in the Prathomsuksa 1-3 students so that they love, respect, and adopt a democratic regime of government with the King as Head of State. The benefits of this research indeed reflect society’s expectations of the desirable characteristics of the father and mother characters as role models for young learners. As part of the government’s aim, the textbooks pass on significant ideologies and a guideline to encourage the Prathomsuksa 1-3 students to apply them in the authentic context of living appropriately in Thai society.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในวรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมีขอบเขตการวิจัยคือ มุ่งศึกษาในประเด็นลักษณะการทำหน้าที่ของบทบาทตัวละครพ่อและแม่ในวรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวนทั้งหมด 40 เรื่อง ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและหลังจากนั้นนำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าวรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ได้ให้การนำเสนอบทบาทของตัวละครพ่อและแม่ 3 ประเด็น ในระดับประเด็นทางครอบครัว ได้แก่ 1. บทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในฐานะต้นแบบแก่เยาวชนด้านการเป็นสมาชิกที่ดีในครอบครัว โดยพบลักษณะการเป็นผู้นำครอบครัวของบทบาทตัวละครพ่อ การเป็นผู้ดูแลสมาชิกครอบครัวของบทบาทตัวละครแม่ การเป็นผู้อบรมสั่งสอนของบทบาทตัวละครพ่อและแม่ ซึ่งบทบาทของตัวละครพ่อและแม่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับประเด็นทางสังคม 2. บทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในฐานะต้นแบบแก่เยาวชนด้านสัมมาอาชีพ และ 3. บทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในฐานะต้นแบบแก่เยาวชนด้านการเป็นพลเมืองไทยที่ดี โดยพบลักษณะบทบาทหน้าที่ของพลเมืองไทยที่ดีในการช่วยเหลือสังคม และบทบาทหน้าที่ของพลเมืองไทยที่ดีในการปฏิบัติตนตามหลักวิถีประชาธิปไตย อนึ่ง บทบาทของตัวละครพ่อและแม่ในวรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ยังพบแง่มุมที่น่าสนใจในประเด็นที่หลากหลาย การนำเสนอบทบาทของตัวละครพ่อและแม่ผ่านวรรณกรรมแบบเรียนภาษาไทย ได้มีการใช้กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบร้อยกรองและสำนวนไทยเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนซึ่งอยู่ในวัยประถมศึกษาปีที่ 1-3 และได้มีการนำเสนอชุดความคิดย่อยของอุดมการณ์บางประการในการนำเสนอหลักวิธีคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสอดแทรกชุดความคิดย่อยเรื่องการรู้รักสามัคคีให้เชื่อมโยงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ผู้วิจัยค้นพบ รวมถึงปลูกฝังชุดความคิดการเคารพและรักสถาบันกษัตริย์ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของปวงชนชาวไทยและเป็นสิ่งที่รัฐต้องการปลูกฝังผู้เรียนวัยประถมศึกษาปีที่ 1-3 ให้มีความรักและเคารพ ยึดถือหลักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประโยชน์การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนของสังคมที่คาดหวัง ในคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบทบาทตัวละครพ่อและแม่ในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนผู้เรียน โดยรัฐบาลต้องการส่งต่ออุดมการณ์อันสำคัญและเป็นแนวทางในการกล่อมเกลาแก่เยาวชนผู้เรียนที่อยู่ในวัยประถมศึกษาที่ 1-3 ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทจริงของการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
รายละเอียด: ศิลปศาสตรมหาบันฑิต (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18064
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:890 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6311120008.pdf4.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons