Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18038
Title: | การสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของระบบจัดส่งยาทางท่อลม สำหรับหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
Other Titles: | Computer Simulation Modeling of Pneumatic Tube Drug Delivery System for Songklanagarind Hospital’s Inpatient Wards |
Authors: | นิกร ศิริวงศ์ไพศาล อารีย์ ธีรภาพเสรี สิรินาถ จันทร์ขาว Faculty of Engineering (Industrial Engineering) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Keywords: | การจัดส่งยาด่วน;ระบบจัดส่งยาทางท่อลม;การจำลองสถานการณ์และการหาค่าที่ดีที่สุด;ระบบนำส่งยา แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Songklanagarind Hospital plans to improve the stat drugs delivery system through a pneumatic tube system for inpatient wards. This research aims to analyze the factors affecting the delivery time of stat drugs and determine the level of each factor that minimizes the delivery time of a pneumatic tube system with the application of simulation and optimization methods to support the hospital's decision-making. A computer simulation model of a pneumatic tube system was developed by ProModel 2016 and employed as an experimental tool to investigate which factors involve the delivery time. It was found that the number of loops and carriers. Then, additional experiments were carried out under 3 different numbers of loops which are 1 loop, 2 loops, and 3 loops, respectively. Each experiment sets numbers of carriers between 21 and 40 carriers to find the right amount of carriers that minimize the delivery time to ward and the waiting time of the carrier at the dispensing station. And it was discovered that 1 loop and 39 carriers can achieve both objectives. In addition, the cost of installation and renovation of the pneumatic tube system under each experiment was computed. It was uncovered that an experiment with 1 loop and 39 carriers has a payback period of 14 years and 1 month, the internal rate of return method of 3.56%, and the net present value method of -1,761,467 baht. Even though the economic return is not feasible, Songklanagarind Hospital is a non-profit organization that focuses on the quality of patient care. Thus the renovation of a pneumatic tube system will support the drug delivery becomes faster, the efficiency of patient care be better, and patient mortality rates be lesser. Therefore, a decision with 1 loop and 39 carriers is proposed to Songklanagarind Hospital to deliberate. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการจัดส่งยาด่วนด้วยระบบท่อลม ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาในการจัดส่งยาด่วน 30 นาทีและวิเคราะห์หาระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ระยะเวลาในการจัดส่งยาด่วนด้วยระบบท่อลมน้อยที่สุด โดยการประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์และการหาคำตอบที่ดีที่สุด เพื่อวางแผนการปรับปรุงระบบจัดส่งยาด่วนทางท่อลมสำหรับหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ระบบท่อลมจัดส่งยาถูกพัฒนาและใช้เป็นเครื่องมือในการทดลองเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการจัดส่งยา ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการจัดส่ง คือ จำนวนเส้นทางของระบบท่อลมและจำนวนกระสวย จากนั้นออกแบบการทดลองเพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดโดยจำลองสถานการณ์ทั้งหมด 3 แบบ คือ จำนวนเส้นทางของระบบท่อลม 1 Loop 2 Loop และ 3 Loop ทั้งสามรูปแบบการทดลองกำหนดจำนวนกระสวยในการทดลองมีค่าระหว่าง 21-40 ตัว จากผลการทดลอง พบว่า การจำลองสถานการณ์วิธีที่ 1 เส้นทางของระบบท่อลม 1 Loop จำนวนกระสวย 39 ตัว สามารถจัดส่งยาด่วนอยู่ในระยะเวลาที่ทางโรงพยาบาลกำหนดได้ครบทุกหอผู้ป่วยและระยะเวลารอคอยกระสวย ณ สถานีจ่ายยาของระบบท่อลมเกิดขึ้นน้อยที่สุด เมื่อคำนวณต้นทุนการติดตั้งและปรับปรุงระบบท่อลม พบว่า แบบที่ 1 เส้นทางของระบบท่อลม 1 Loop จำนวนกระสวย 39 ตัว มีระยะเวลาในการคืนทุนเร็วที่สุดซึ่งใช้ระยะเวลา 14 ปี 1 เดือนและมีอัตราผลตอบแทนภายในดีที่สุดอยู่ที่ 3.56 % และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ -1,761,467 บาท เนื่องจากทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรแต่จะมุ่งเน้นที่คุณภาพการรักษาผู้ป่วย การใช้ระบบท่อลมเข้ามาช่วยในการจัดส่งยาด่วนจึงทำให้การจัดส่งยาด่วนเร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น จึงเลือกแบบที่ 1 เพื่อเสนอเป็นสถานการณ์ทางเลือกให้กับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้พิจารณานำไปประยุกต์ใช้ |
Description: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18038 |
Appears in Collections: | 228 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6310120065.pdf | 7.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License