กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18032
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการจัดทำแผนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of Health Impact Assessment for Planning Community-Based Tourism in Saikhao Subdistrict, Khokpho District, Pattani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญ สุขมาก
ซัลซาบีล สะแม
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
คำสำคัญ: การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ;การท่องเที่ยวโดยชุมชน;ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this action research were to study the health impacts in terms of economic, social-cultural, environmental and health aspects caused by community-based tourism in Sai Khao Subdistrict, Khok Pho District, Pattani Province and to develop community-based tourism strategies in Sai Khao Subdistrict, Khok Pho District, Pattani Province. The five-step health impact assessment process, namely public screening, scoping the study by the public, assessing health impacts, reviewing the draft report, and pushing it into the decisionmaking process was implemented. Both quantitative and qualitative data were collected by focus group discussions, in-depth interviews, questionnaires, public hearings and workshops. The informants were 7 representatives of the government officials, 16 representatives of other organizations/groups, 6 community leaders, 2 representatives of academics and 360 general people living in the community. Qualitative data were analyzed by content analysis. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics, namely percentage, mean and standard deviation. Based on the findings, the impacts of community-based tourism in Sai Khao Subdistrict, Khok Pho District, Pattani Province consist of 4 aspects. In terms of the positive economic impacts, people in the community can gain extra income and have new careers from tourism services. The distribution of income is linked to other groups related to tourism. As a result, the quality of life of the people in the community has been improved. As for the negative impacts, the income has been distributed to only certain groups of people directly related to tourism in the community. Therefore, the management of tourism benefits is unfair and incomprehensive. As for the positive social-cultural impacts, tourism has contributed to the conservation and restoration of community traditions and culture with diversity of multicultural society. Knowledge has been transferred by the elderly in the community to raise awareness, and cherish the preservation, conservation and restoration of the traditional way of life of the community. In terms of the negative impacts, there is unrest situation in the three southern border provinces. As a result, tourists do not dare to stay overnight in the area because they feel unsafe for life and property. For this reason, tourism in the area is not popular among people from different areas. In terms of the positive environmental impacts, there are resources for tourism management in the community. The abundant natural resources are used as the production base in the agricultural sector. There are also social history and ancient sites. There is a diversity of multicultural society. Therefore, a lot of tourist attractions in the community can attract tourists. As for the negative impacts, not all tourist attractions are provided with tourism facilities and services such as road signs and transportation. Consequently, tourists travel to the tourist attractions with inconvenient and unsafe feelings, causing dissatisfaction to the tourists. For the positive health impacts, the overall people in the area are happy with tourism management at a high level (X= 3.96). They are happy with the participation in community tourism resource management in terms of conservation of natural resources, community traditions and culture and participation in tourism management. As for the negative impacts, the spread of the COVID-19 and the unrest situation in the three southern border provinces have affected the mental health problems of people in the community, causing stress, anxiety and distrust against each other. The study results of the community-based tourism strategies of Sai Khao Subdistrict revealed that there is the 5-year community-based tourism strategy (2023-2027), consisting of 6 strategies, namely 1) developing the basic factors, services and security to accommodate all groups of tourists; 2) developing the community-based tourism management system; 3) developing the economy, society and quality of life of people in the community, 4) enhancing the tourism experience by focusing on tourists; 5) promoting and conserving the cultural heritage of multicultural society and 6) promoting, conserving and restoring natural resources and the environment sustainably. There are 35 projects under these strategies.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจาก การท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนของพื้นที่ตำบล ทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยดำเนินการตามขั้นตอนการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพ 5 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรองโดยสาธารณะ การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ การทบทวนร่างรายงานและการผลักดันเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถาม การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ 7 คน ผู้แทนองค์กร/กลุ่มจัดตั้งอื่นๆ 16 คน ผู้นำชุมชน 6 คน ตัวแทนวิชาการวิชาชีพ 2 คน และประชาชนทั่วไปในชุมชน 360 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบว่า ผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนมี 4 ด้าน คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจทางบวก พบว่า คนในชุมชนมีรายได้เสริม มีอาชีพใหม่ จากการให้บริการท่องเที่ยว เกิดการกระจายรายได้ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การท่องเที่ยว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ผลกระทบทางลบ พบว่า การกระจายรายได้ มักกระจุกตัวเฉพาะกลุ่มคนบางคนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในชุมชนโดยตรง ส่งผลให้การบริหาร จัดการผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวไม่เป็นธรรมและไม่ทั่วถึง ผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรมทางบวก พบว่า การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการอนุรักษ์ และฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนที่มีความหลากหลายทางสังคมพหุวัฒนธรรม มีการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยผู้สูงอายุในชุมชนทำให้เกิดความตระหนัก สำนึกและหวงแหนใน การรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูและคงไว้วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน ผลกระทบทางลบ พบว่า สถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่กล้าเข้าพักค้างคืนในพื้นที่เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงทำให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ไม่ได้รับความนิยมจากคน ต่างถิ่นต่างพื้นที่เท่าที่ควร ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทางบวก พบว่า ชุมชนมีทุนทางด้านทรัพยากรที่สามารถ จัดการท่องเที่ยวได้ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นฐานการผลิตในภาคเกษตร มี ประวัติศาสตร์ทางสังคมและโบราณสถาน มีความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนมี แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบทางลบ พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวกและ การบริการด้านการท่องเที่ยวยังมีไม่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยว เช่น ป้ายบอกเส้นทาง การคมนาคม ขนส่ง เป็นต้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวไม่สะดวกและรู้สึกไม่ปลอดภัย ก่อให้เกิดความไม่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ผลกระทบทางด้านสุขภาพ พบว่า ภาพรวมของประชาชนในพื้นที่มีความสุขต่อ การจัดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก (X= 3.96) โดยความสุขของประชาชนในพื้นที่ คือ การได้เข้า มามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน ทั้งด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการ ท่องเที่ยว ผลกระทบทางลบ พบว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และสถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของคนในชุมชน ทำให้เกิด ความเครียด ความวิตกกังวลและความหวาดระแวงต่อกัน ผลการศึกษายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลทรายขาว พบว่า เป็น ยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1) พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก การบริการ และความปลอดภัย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง และ ครอบคลุมทุกกลุ่ม 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน 4) ยกระดับประสบการณ์ท่องเที่ยวโดยเน้นนักท่องเที่ยวเป็น ศูนย์กลาง 5) ส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม 6) ส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี โครงการและกิจกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ 35 โครงการ
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18032
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:148 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6010024005.pdf2.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons