Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18031
Title: | อิทธิพลของทุนของคณะกรรมการสหกรณ์และจริยธรรมของคณะกรรมการสหกรณ์ต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในประเทศไทย : วิธีวิจัยแบบผสมผสาน |
Other Titles: | The Influence of Cooperatives Boards’ Capital and Boards' Ethics on Cooperative Performance in Thailand: A Mixed Method Study |
Authors: | วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ ศิดดิก ลาลีวัน Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
Keywords: | ทุนของคณะกรรมการสหกรณ์;จริยธรรมของคณะกรรมการสหกรณ์;ความรับผิดชอบระดับองค์กรของสหกรณ์;ทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objectives of this study were (1) to study the mediating role of Cooperative Organizational Capital (COC) in the relationship between Cooperative Board Capital (CBC) and Cooperative Organizational Performance (COP) in the use of cooperative services in Thailand. (2) to study the mediating role of Cooperative Organizational Accountability (COA) in the relationship between Cooperative Board Ethics (CBE) and Cooperative Organizational Performance (COP) in the use of cooperative services in Thailand. (3) To investigate the distinctions between agricultural and non-agricultural cooperatives. (4) to investigate the issues and barriers encountered by the CBC, COC, CBE, COA in managing cooperatives in Thailand. This research project uses a convergent parallel design that combines quantitative and qualitative research. Questionnaires were utilized to obtain data for this study's quantitative investigation. The sample group is made of Thailand had 133 cooperatives, with 67 agricultural and 66 non-agricultural cooperatives. The following are the three sources for the sample group: 529 cooperative employees, 133 cooperative managers, and 133 cooperative auditors make up this group. The inclusion of three data sources was done to alleviate any worries about common method variance (CMV) that could come from utilizing a single source. For qualitative research the key informants were 14 cooperative managers from 3 agricultural cooperatives, 2 each and 4 non-agricultural cooperatives, 2 each. Descriptive statistics and t-test analysis were used to analyze the data and Mplus software was used to create a structural equation model. The study's t-test analysis found that the CBC factors were significant. Non-agricultural cooperatives had a larger human capital dimension than agricultural cooperatives, which averaged 0.05. COA factors. Non- agricultural cooperatives have a greater member responsibility dimension than agricultural cooperatives on average with a 0.05 threshold of statistical significance and COP factors non-agricultural cooperatives had a higher average than agricultural cooperatives at the 0.05 threshold, statistically significant. The structural equation model study found that the CBC variable had a statistically significant indirect link to cooperative performance through COC. Given a CBE variable and an indirect coefficient of effect of 0.260 (Z = 2.860, p = 0.004) (CBE). COC was statistically significant. 0.075 (Z = 1.753; p = 0.080) was the indirect coefficient of effect. According to the conclusions of the qualitative research, the CBC, COC, CBE, and COA are critical to the success of all cooperatives. It was also revealed that non-agricultural cooperatives' human capital cooperative board capital, as well as financial and structural capital cooperatives' cooperative organizational capital, were more equipped than agricultural cooperatives, which had a distinct influence on their performance. However, based on the findings of the study, it can be stated that the cooperative committee, as the organization's driving force, must be aware and competent. Understands the many regulations and practices ethical cooperative management in order to get good cooperative results. As a result, cooperatives must recognize the value of the Cooperative Board Capital, Cooperative Board Ethics, Cooperative Organizational Capital, and Cooperative Organizational Accountability. This will result in a successful cooperation effort. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อิทธิพลของทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ (CBC) ที่มีต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในประเทศไทยโดยผ่านตัวแปรทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ในประเทศไทย (COC) 2) วิเคราะห์อิทธิพลของจริยธรรมของกรรมการสหกรณ์ (CBE) ที่มีต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในประเทศไทย โดยผ่านตัวแปรความรับผิดชอบของสหกรณ์ในประเทศไทย (COA) 3) ศึกษาความแตกต่างระหว่างสหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตร 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคภายใต้ทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ จริยธรรมของคณะกรรมการสหกรณ์ ทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ และความรับผิดชอบระดับองค์กรของสหกรณ์ในการบริหารงานสหกรณ์ในประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ประเภทการวิจัยแบบพร้อมกัน (Convergent Parallel Design) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณของการศึกษานี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ สหกรณ์ในประเทศไทย จำนวน 133 แห่ง แบ่งเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 67 แห่ง และสหกรณ์นอกภาคการเกษตรจำนวน 66 แห่ง โดยที่กลุ่มตัวอย่างมาจาก 3 แหล่งข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มพนักงานสหกรณ์จำนวน 529 ตัวอย่าง กลุ่มผู้จัดการสหกรณ์จำนวน 133 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ตรวจกิจการสหกรณ์จำนวน 133 ตัวอย่าง จุดประสงค์ของการใช้ข้อมูล 3 แหล่ง คือเพื่อลดปัญหาความกังวลเกี่ยวกับความแปรปรวนของแหล่งที่มาร่วม Common Method Variance (CMV) ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แหล่งข้อมูลเดียวได้ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้จัดการสหกรณ์ จำนวน 14 คน จากสหกรณ์ภาคการเกษตร 3 แห่ง ๆ ละ 2 คน และสหกรณ์นอกภาคการเกษตร 4 แห่งๆ ละ 2 คน ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ t – test และโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Mplus ผลการการวิจัยเชิงปริมาณ จากการวิเคราะห์ t – test พบว่า ตัวแปรทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ มิติทุนมนุษย์ ตัวแปรความรับผิดชอบระดับองค์กรของสหกรณ์ มิติความรับผิดชอบต่อสมาชิก และตัวแปรผลการดำเนินงานของสหกรณ์ของสหกรณ์นอกภาคการเกษตรมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยสหกรณ์ภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ส่วนผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพบว่าตัวแปรทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ (CBC) มีความสัมพันธ์ทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยผ่านทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ (COC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.260 (Z = 2.860 p = 0.004) และตัวแปรจริยธรรมของคณะกรรมการสหกรณ์ (CBE) ความสัมพันธ์ทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยผ่านตัวแปรความรับผิดชอบระดับองค์กรของสหกรณ์ (COA) และทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ (COC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.075 (Z = 1.753 p = 0.080) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพผลการศึกษา พบว่า ทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ จริยธรรมของคณะกรรมการสหกรณ์ ทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ และความรับผิดชอบระดับองค์กรของสหกรณ์ มีความสำคัญและมีผลต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังพบว่าทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ด้านทุนมนุษย์ และทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ด้านทุนด้านการเงินและทุนด้านโครงสร้างของสหกรณ์นอกภาคการเกษตรอยู่ในระดับที่มีความพร้อมมากกว่าสหกรณ์ภาคการการเกษตรซึ่งมีผลต่อผลการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาโดยรวม สรุปได้ว่า คณะกรรมการสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเข้าใจในข้อกฎหมายต่างๆ และเป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการบริหารงานสหกรณ์เพื่อนำไปสู่ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ดี ดังนั้นสหกรณ์ต้องตระหนักให้ความสำคัญต่อทุนของคณะกรรมการสหกรณ์ จริยธรรมของคณะกรรมการสหกรณ์ ทุนระดับองค์กรของสหกรณ์ และความรับผิดชอบระดับองค์กรของสหกรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ดีต่อไปได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ปรด. (การจัดการ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18031 |
Appears in Collections: | 460 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6110530013.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License