กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18005
ชื่อเรื่อง: Geochemical characteristics of hot springs in Southern Thailand
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ลักษณะทางธรณีเคมีของน้ำพุร้อนในภาคใต้ของประเทศไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Duerrast, Helmut
Poonnapa Klamthim
Faculty of Science (Physics)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์
คำสำคัญ: Geothermal;Geochemical;Hot spring
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: Hot water springs can be found in most regions of Thailand, from the north to the south, except in the northeast. There are around 120 hot springs altogether, with about 40 hot springs in Southern Thailand, and all are related to a non-volcanic geological setting. Most hot springs are mainly developed as tourist destinations, for local as well as for international visitors, often combined with spas or other health-related activities. However, for any further development, including geothermal energy, but not limited to, a better understanding of relationships between the geological environment and hot water characteristics is required. In this study, field investigations and laboratory measurements were carried out to identify the hydrogeochemical signatures of major hot springs in Southern Thailand, with locations in Krabi, Nakhon Si Thammarat, Phang Nga, Surat Thani, Chumphon, and Ranong Province. Standard and advanced geochemical analysis of water samples was done in laboratories in Thailand and in Germany; water samples were collected from natural hot springs, groundwater wells, and seawater sources along the eastern (Gulf of Thailand) and western coast (Andaman Sea) of Southern Thailand. Results show that hot springs discharge geothermal water with temperatures between 35.7 to 70.0 °C and mostly have an alkaline pH of around 6.6 to 8.1. Hot springs in Southern Thailand separated into two main systems which are hot spring in igneous area and in sedimentary area. The major cation and anion concentrations indicate that hot springs in the Southern Thailand can be separated and classified into four types: Na+-Cl-, Na+-Mg2+-HCO3-, Ca2+-HCO3-, and Ca2+-SO42- rich type. Carbonate components in the water originated from weathering and dissolution of carbonate and dolomite formations nearby hot springs. Moreover, elevated salinity concentrations (Na+, Cl-, Mg2+) in some of the hot springs can be correlated to seawater intrusion from the Andaman Sea in the west or the Gulf of Thailand in the east. Oxygen stable isotope data and CFC concentration display reveals that the pathway of geothermal water in Southern Thailand is mainly from old local precipitation water that accumulated in the system before the 1950s and then mixed with low proportion of recharged fresh meteoric water from the 2010s going downwards into the subsurface and heated up by heat sources and finally to be discharged at the subsurface as a hot spring.
Abstract(Thai): น้ำพุร้อนสามารถพบได้ในทุกที่ทั่วประเทศไทยมีทั้งหมดประมาณ 120 แห่งโดยในภาคใต้ประกอบด้วยน้ำพุร้อนเกือบ 40 แห่ง ระบบของพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยเป็นระบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบภูเขาไฟดังระบบส่วนใหญ่ทั่วไปในโลกแต่เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างหินร้อนที่อยู่ใต้ดิน น้ำพุร้อนส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับสุขภาพ อย่างไรก็ตามการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานความร้อนใต้พิภพและการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรณีวิทยากับลักษณะเฉพาะของน้ำพุร้อนมีความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ในการศึกษาครั้งนี้ การสำรวจภาคสนามและการทดลองในห้องปฎิบัติการถูกนำมาศึกษาในการระบุลักษณะทางธรณีเคมีของน้ำพุร้อนใน 6 จังหวัดภาคใต้ประกอบไปด้วย จังหวัดกระบี่, จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดพังงา, จังหวัดสุราษร์ธานี, จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง การวิเคราะห์ธรณีเคมีของตัวอย่างน้ำพุร้อนในห้องปฏิบัติการได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำที่ถูกเก็บมาจากน้ำ 3 แหล่งน้ำ ได้แก่ น้ำพุร้อน, น้ำบาดาล และน้ำทะเลทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ผลการวิเคราะห์พบว่าน้ำพุร้อนในภาคใต้มีอุณหภูมิของน้ำที่ผิวดินตั้งแต่ 35.7-70.0 องศาเซลเซียสและมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.6-8.1 จากปริมาณความเข้มข้นของไอออนประจุบวกและประจุลบในน้ำพุร้อนทำให้สามารถจำแนกกลุ่มของน้ำพุร้อนตามลักษณะเด่นของไอออนออกมาได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.Na+-Cl-, 2.Na+-Mg2+-HCO3-, 3.Ca2+-HCO3-, และ4.Ca2+-SO42- อีกทั้งคาร์บอเนตที่เป็นองค์ประกอบในน้ำพุร้อนมีที่มาจากสองแหล่งคือ การผุกร่อนและการละลายของหินปูนและหินโดโลไมต์ที่อยู่รอบๆบริเวณของน้ำพุร้อน ยิ่งไปกว่านั้น ความเข้มข้นของ Na+, Cl- และ Mg2+ ยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการเจือปนของน้ำทะเลในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันภายในแหล่งน้ำร้อนอีกด้วย จากผลการวิเคราะห์ผลไอโซโทปเสถียรและปริมาณความเข้มข้นของสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอนพบว่าน้ำร้อนใต้พิภพในภาคใต้ของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากน้ำใต้ดินที่มีอายุมากผสมกับน้ำจากบรรยากาศที่ถูกเติมลงไปในระบบน้ำบาดาลด้วยการเดินทางผ่านชั้นหินจากพื้นผิวลงไปสู่แหล่งเก็บน้ำ จากนั้นน้ำจะได้รับความร้อนจากพลังงานความร้อนใต้พิภพและพุขึ้นมากลายเป็นน้ำพุร้อน
รายละเอียด: Thesis (M.Sc., Geophysics)--Prince of Songkla University, 2022
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18005
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:332 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6010220043.pdfMSc thesis of Poonnapa Klamthim (6010220043)10.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons